เรียลลิตี้ข่าว 24 ชั่วโมง
การเดินทางมาร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวช่องรายการสถานีข่าว 24 ชม.“TNN” ของทรูวิชั่นส์ด้วยตนเอง โดยถือฤกษ์เอาวันที่ วันที่ 9 เดือน 9 ปี 2008 ของ ธนินท์ เจียรวนนท์ โดยมี ศุภชัย และณรงค์ เจียรวนนท์ ลูกชายสองคนยืนขนาบข้าง ถือเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งว่าทรูให้ความสำคัญกับสถานีข่าวแห่งใหม่ของตนมากแค่ไหน
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
โหวตง่าย โหวตกระจาย
ถึงแม้งานนี้ ทรู วิชั่นส์ จะยังไม่ได้ตัว “พิธีกร” คนใหม่ในรายการอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ปีที่ 5 แต่ทรู ก็ไม่ทำให้เสียเที่ยว ทรูใช้โอกาสเปิดตัว 16 นักล่าฝันชุดใหม่ใน AF5 เปิดตัว “2 ซิม” ใหม่ ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อเอาใจแฟนคลับ ผู้คลั่งไคล้ ให้โหวตได้กันแบบกระจาย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
ก้าวที่ใหม่และใหญ่กว่าของ ทรูวิชั่นส์
“ทรูวิชั่นส์” ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีรายใหญ่ของไทย กำลังคว้าโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมทีวีอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขกฎหมายให้เคเบิลทีวีมีโฆษณาได้ 6 นาที เป็นการปลดล็อคให้ “ทรูวิชั่นส์” ขยับแผนธุรกิจอย่างแรง หลังจากปูทางขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่ม Mass มากขึ้นมานานกว่า 2 ปี
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
กีฬาแนวรบหน้าของทรูวิชั่นส์
หลังจากเปลี่ยนชื่อและจัดผังรายการกีฬาใหม่เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันนี้ “กีฬา” ได้กลายเป็นคอนเทนท์ระดับแม่เหล็ก “ทรูวิชั่นส์” มีไว้ให้บริการแก่คอกีฬา ถึง 9 ช่อง
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
Local Content หัวใจดวงใหม่ของทรูวิชั่นส์
“ทรูวิชั่นส์” เป็นธุรกิจที่ขาย “Content” เป็นหลัก ปฏิเสธไม่ได้ว่าบริษัทจะเติบโตได้ต้องมี Content ที่เข้มข้นและโดนใจผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ในปี 2551 ของทรูวิชั่นส์ ได้รับการเปิดเผยโดย อรรถพล ณ บางช้าง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายรายการของบริษัท ทรูวิชั่นส์ บ่งบอกถึง Strategic Move ที่ชัดเจนของทรูวิชั่นส์ กับเป้าหมายขยายฐานการตลาดไปสู่ต่างจังหวัดหรือในระดับแมส หรือตลาดกลุ่มใหญ่ให้มากขึ้น จากเดิมทรูวิชั่นส์เจาะตลาดนิช หรือจับกลุ่มคนดูเฉพาะกลุ่ม
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
ทรูวิชั่นส์ : Content ปั้นแบรนด์
อนาคตที่สดใสของทรูวิชั่นส์ เพิ่งจะฉายแววชัดขึ้น หลังรวมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทรูคอร์ป ภายใต้สโลแกนบริษัทแม่ Better Together ทรูวิชั่นส์เป็นองค์กรหนึ่งของไทยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งการฟันฝ่ากับวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องหันมารวมตัวกันเพื่อความอยู่รอด และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่ทรูวิชั่นส์ผ่านสถานการณ์เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ก่อนจะกลายมาเป็นบริษัทในเครือทรูคอร์ปอเรชั่นอย่างเต็มตัวเมื่อกลางปี 2006
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
Reality Convergence
ทรู คอร์ปอเรชั่น ตัดสินใจซื้อทรูวิชั่นส์ด้วย 2 เหตุผลหลัก เหตุผลแรกเพื่อทำให้บทบาทคอนเวอร์เจนซ์ในเครือทรูสมบูรณ์ขึ้นจากการมีคอนเทนท์ของทรูวิชั่นส์มาเป็นธงนำในการต่อยอดการให้บริการในรูปแบบคอนเวอร์เจนซ์ กับอีกเหตุผลที่ทรูต้องการขยายตลาด Pay TV ไปสู่ผู้บริโภคกลุ่มแมสเพิ่มขึ้น
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
CSR ทรูวิชั่นส์ คอนเวอร์เจนซ์ความรู้สู่สังคม
จากกิจกรรมของยูบีซีสู่การควบรวมและรีแบรนด์ภายใต้ชื่อทรูวิชั่นส์ ล้วนแล้วแต่เน้นไปทางเด็กและเยาวชนเป็นอันดับหนึ่ง ทำให้มีโครงการด้านการศึกษา สังคม และกีฬาอย่างหลากหลาย เช่น Future Journalist Award ที่ให้โอกาสเด็กไทยไปฝึกงานกับ BBC World ประเทศอังกฤษ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
True IPTV ทีวีเลือกได้
โลกของโทรทัศน์กำลังพลิกโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง แทนที่ผู้ชมจะเป็นฝ่ายรับชมรายการ จากสถานีโทรทัศน์ หรือเคเบิ้ลทีวีเพียงฝ่ายเดียว “ทรู ไอพีทีวี” ได้ทำให้ผู้ชมกลายเป็นฝ่าย “เลือกได้” ชม และจัดทำผังรายการได้ตามใจชอบ ทุกวันและทุกเวลา แบบไร้ขีดจำกัด ที่สำคัญเป็นบริการที่ตอบโจทย์ Convergence ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
แพ็คเกจ... ต้องถูกใจ ใช่เลย
นอกจากจะมีรายการระดับโลกมาให้ชม มีเทคโนโลยีตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ยังต้องมี “แพ็คเกจรายการ” ที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย เหล่านี้ล้วนแล้วเป็นองค์ประกอบที่ทรูวิชั่นส์ให้ความสำคัญและยึดหลักมาตลอด ในการนำเสนอ “คอนเทนท์” รูปแบบใหม่ๆ อันเป็น “ตัวเชื่อม” สินค้าและบริการของกลุ่มบริษัททรูให้ “รวมกันเป็นหนึ่ง” (Convergence)
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)