ปรากฏการณ์ แดจังกึม... กระหึ่มจอตู้
ครองเรตติ้ง 13... ยอดพ็อกเกตบุ๊กทะลุหลักแสนเล่ม ภายในเวลาไม่กี่เดือน...เพื่อนสนิท ครอบครัวชวนกินข้าวที่ร้านอาหารเกาหลี...ยอดจองทัวร์เที่ยวเกาหลีเต็มล่วงหน้าหลายสัปดาห์ ไม่ใช่ “ความบังเอิญ ” แต่มันเป็น effect ของปรากฏการณ์ “แดจังกึม” ซีรี่ส์ละครจากดินแดนกิมจิ ที่สาวกไทยติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง !!!
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
เกาหลี ฟีเวอร์ ซีรี่ส์ละครฮิตติดจอตู้
นาทีนี้ ช่องทีวีไทยใครไม่ทำถือว่าเชยตกกระแส สำหรับซีรี่ส์เกาหลี ซึ่งกำลังบุกหนักควักเรตติ้งคนดูชาวไทยอย่างถึงลูกถึงคน หลังจากบ่มเพาะ ชิมลางตามบางสถานีบางช่องมาหลายปี ทั้งช่อง 5 ดั้งเดิม จนถึงไอทีวี แต่วันนี้แทบทุกช่องแห่กันนำมาลงผังเป็นแม่เหล็กเรียกคนดูกันถ้วนหน้า
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
เอเชี่ยนซีรี่ส์ มาร์เก็ตติ้ง
นับจากวันที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำละครซีรี่ส์จากไต้หวันเรื่อง รักใสใส หัวใจ 4 ดวง มาฉายเมื่อ 3 ปีที่แล้ว รวมทั้งการสร้างช่วงเวลาใหม่ของละครหลังข่าว ด้วยเอเชี่ยนซีรี่ส์ของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เอเชี่ยนซีรี่ส์ก็กลายเป็นกระแสนิยมที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนดูไทยจำนวนมาก
(Positioning Magazine มกราคม 2549)
“เรียลลิตี้โชว์”โรงพยาบาล
น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ที่ธุรกิจโรงพยาบาล และผู้ผลิตรายการแฟชั่นทีวีจะขึ้นเวทีแถลงข่าวร่วมกัน หากไม่เป็นเพราะการแข่งขันของธุรกิจโรงพยาบาลที่นับวันจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ทำให้โรงพยาบาลเวชธานีต้องเปิดเกมรุกทางการตลาดครั้งใหม่ เลือกจับมือกับบริษัทเวิลด์ แฟชั่นทีวี เจ้าของช่องรายการทีวีแฟชั่น “ชิค ชาแนล” ผู้ผลิตรายการแฟชั่นในช่องยูบีซี 20 ร่วมกันทำรายการเรียลลิตี้โชว์ ใช้ชื่อว่า Make me beautiful
(Positioning Magazine มกราคม 2549)
ความผิดพลาดที่รัฐบาลปิดกั้นสื่อ กรณีศึกษา “เมืองไทยรายสัปดาห์”
“สังคมไทยมักจะมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนถูกทำร้าย และเมื่อสื่อรายการทางทีวีถูกปิดกั้น ถูกถอดรายการคนทั่วไปจึงรู้สึกเห็นใจ คุณสนธิ (ลิ้มทองกุล) มากขึ้น สังเกตหลายๆ คนเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์หนีจากเครือข่าย AIS มากขึ้น เพราะรู้สึกมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ และไม่พอใจที่สื่อถูกทำร้าย
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
ปรากฏการณ์ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ในฐานะที่เป็น “ข่าว”
หลังจากที่เรียกว่า “ข่าว” ในโทรทัศน์ ตีพิมพ์ใน “ผู้จัดการรายวัน” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็มีนักจัดรายการของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งและสถานีวิทยุอีกสองแห่ง ติดต่อให้ผมช่วยไปพูดอะไรเกี่ยวกับ “ข่าว” ในยุคนี้ในรายการของตน หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งก็ขอให้ผมไปร่วมการอภิปรายในหัวข้อทำนองเดียวกันอีก นี่คือตัวอย่างที่แสดงว่า อะไรที่เราเรียกๆ กันแบบผ่านๆ ว่า “ข่าว” ในสมัยนี้ ดูจะมีความซับซ้อนไม่ใช่เล่นเหมือนกัน ไม่ใช่เป็นอะไรที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
เมืองไทยรายสัปดาห์ “ชาเขียว” ฟีเวอร์
ปรากฏการณ์ฟีเวอร์ “ เมืองไทยรายสัปดาห์ ” ที่นับวันยิ่งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หากมองในมิติโปรดักส์ที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว Key of success กุญแจแห่งความสำเร็จ สามารถอธิบายภาพในมิติทางการตลาด ที่นักวิชาการเปรียบเทียบว่า คล้ายกับกระแสชาเขียว ซึ่งเป็นเครื่องดื่มสุขภาพที่ฮอตที่สุดในเวลานี้แต่ยังอยู่บนการตลาดความเสี่ยง (risky marketing)
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
Talk Show กรณีศึกษา เอแบค โพลล์ สำรวจคนกรุงเทพฯ คัดค้าน ปลดรายการช่อง 9
กลายเป็นกรณีศึกษา ที่แวดวงวิชาการจากสถาบันการศึกษาให้ความสนใจ หลังเกิดกระแสวิพากษ์ “รายการเมืองไทยรายสัปดาห์” เมื่อครั้งถูกปลดออกจากผังช่อง 9 ทำให้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ของ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หยิบประเด็นรายการนี้มาศึกษาอย่างจริงจัง โดยสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมืองต่อประเด็นต่างๆ หลากหลายแง่มุมอย่างน่าสนใจ
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
ปรากฏการณ์สีเหลือง
ถึงวันนี้ เสื้อสีเหลืองดังกล่าว กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ซึ่งมีมวลมิตรขยับใกล้เกือบหนึ่งล้านคนแล้ว ที่ซื้อหาไว้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะช่วงสัญจรครั้งที่ 9 และครั้งที่ 10 ที่ผ่านมา มีผู้เข้าคิวรอซื้อหาเสื้อสีเหลือง มากถึง 1 แสนตัวภายในสัปดาห์เดียว
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
จากม็อบมือถือสู่ม็อบ “บรอดแบนด์”
ถ้าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มี “ม็อบมือถือ” เป็นตัวขับเคลื่อนแล้ว แต่ม็อบครั้งนี้ ไม่ได้มีแค่โทรศัพท์มือถือ แต่ยังมี “เว็บไซต์” เป็นตัวแปรสำคัญ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้บรรดาสื่อมวลชน ที่ติดตามเรื่องราวของ สนธิ ลิ้มทองกุล และ “เมืองไทยรายสัปดาห์” มองเห็น “ประเด็น” ไม่ต่างกันนัก
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)