“พรานไพร” ผักสดติดแบรนด์ ความหวังใหม่ของพรานทะเล
เมื่อวัตถุดิบทั้งกุ้ง ปลา และปลาหมึก ซึ่งใช้ในการทำอาหารทะเลแช่แข็ง ราคาพุ่งสูงขึ้นทุกปีเฉลี่ย 30-50% พรานทะเลจึงต้องแสวงหาโอกาสจากตลาดอื่นเพิ่มเติม โดยเฉพาะตลาดที่มีวัตถุดิบจำนวนมหาศาลอย่าง “ผักสด” ที่ต้องขนทิ้งกันวันละหลายคันรถ
(Positioning Magazine 13 กันยายน 2554)
ไม่สะดวก แต่ขายดีกว่าเดิม
พรานทะเลคิดการใหญ่ ออก "ข้าวต้มลดโลกร้อน" เพื่อลดต้นทุนแบบรอบด้าน โดยเฉพาะการเผชิญกับปัญหาราคาซีฟู้ดที่พุ่งสูงขึ้น และหวังสร้างแบรนด์คนดีในใจผู้บริโภค แม้ไม่อาจตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกได้เหมือนเคย แต่ยอดขายที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าได้เดินมาถูกทางแล้ว
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2554)
เกี้ยวซ่า ฝันใหม่ของโออิชิ
นับจากชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะมี “โออิชิ เกี้ยวซ่า” ที่โดนใจตลาดแมส ขณะที่อะมิโนโอเค เซกิ และล่าสุด คอฟฟิโอ ที่โออิชิ กรุ๊ปยังต้องออกแรงผลักดันอีกไม่น้อย
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
RTE อาวุธขยายอาณาจักรซีพี
“CP” จะเป็นแบรนด์อาหารที่เทียบเท่ากับเครื่องดื่ม “COKE” ที่คนไทยและคนทั่วโลกรู้จัก และขณะนี้ “CP” กำลังวิ่งมาได้ครึ่งทางก่อนถึงจุดหมายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ถูกเพิ่มมูลค่าแล้ว อย่างอาหารพร้อมทาน” RTE” (Ready to Eat) เป็นธงนำ
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
พรานทะเล เกมของผู้ล่า ท้าดวลด้วยเมนูสุขภาพ
จากสัดส่วนตัวเลข อาหาร Frozen Food ที่มีคนรู้จักอยู่แค่ 5% เพิ่มเป็น 90% ในปัจจุบัน เปรียบดังเหมืองร้างกลายเป็นเหมืองทอง สร้างความหวังให้กับ “พรานทะเล” ที่โลดแล่นอยู่ตลาดอาหารแช่แข็งมาแล้ว 5 ปีเต็มด้วยความอดทน
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
ไขรหัส “การตลาด” สูตร CP “เราไม่ได้ขายอาหาร แต่ขาย Moment ในการกิน”
มืออาชีพนักการตลาดด้านอาหารประสบการณ์กว่า 15 ปี บวกกับเชฟจากโรงแรมระดับ 5 ดาว นักชิมวีไอพี พร้อมทีมวิจัยและพัฒนา กับการทำ Consumer Insight ชนิดลึกถึงรูป รส กลิ่น ดีไซน์ถาดอาหาร ไปจนถึงตกแต่งแพ็กเกจที่ต้องดึงดูดสายตา กับงบที่พร้อมอัดโฆษณาเต็มที่ ทำให้ RTE แต่ละเมนูภายใต้แบรนด์ CP ณ วันนี้เริ่มถูกออเดอร์ทุกวันจากลูกค้า
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
แนวรบด้านอาหาร 7-Eleven ติดอาวุธด้วย RTE
แม้ เซเว่นอีเลฟเว่น จะไม่ใช่ผู้บุกเบิก “อาหารแช่แข็ง” รวมถึง “อาหารแช่เย็น” ประเภท Ready-to-Eat แต่การมีเครือข่ายอันกว้างขวางครอบคลุมทั่วประเทศในเขตเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า 7-Eleven เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นดีที่ทำให้วันนี้ “อาหารแช่แข็ง” โดยรวมเติบโต ขณะเดียวกันก็กลายเป็นหนึ่งในสินค้าหลักของร้าน และเป็นเสมือน “พระเอก” ที่ทำให้ Positioning ใหม่ของ 7-Eleven ที่ว่า “Convenience Foods Store” เป็นจริง
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
เม็ดเงินโฆษณาของ RTE สื่อหลักต้องมี สื่อ Transit ตัวช่วยสำคัญ
ภาพรวมของ Ready to Eat ประเภท Frozen Food นั้น มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีนี้ คือนับตั้งแต่ปี 2006-2008 เพิ่มจาก 135,040,000 บาท เป็น 184,866,000 บาท ต่อด้วย 280,807,000 บาท หรือเติบโตขึ้น 37% และ 52% ตามลำดับ
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
ศัพท์ต้องรู้เกี่ยวกับ “อาหาร” ยุคใหม่
Ready-to-Eat มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า RTE บ้างใช้คำว่า Ready Meal ขณะที่ยุคเริ่มแรกเรียกขานกันว่า Meal, Ready to Eat หรือ MRE เป็นอาหารปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว บรรจุในซองพร้อมรับประทาน สำหรับทหารอเมริกันเวลาออกรบจับศึก แต่ครั้งนั้นรสชาติไม่ได้เรื่อง จนกระทั่งมีคนตั้งชื่อใหม่ในเชิงลบหลายชื่อ เช่น Meal Rejected by Everyone เป็นต้น
(Positioning Magazine มกราคม 2552)
เอส แอนด์ พี จาก Quick Meal สู่ Common Meal
แม้จะไม่รุกเร็วเท่ากับคู่แข่งอีก 2 ราย แต่ เอส แอนด์ พี วางเป้าหมายไว้ว่าในอนาคตอีก 5 ปีข้างหน้า อาหารพร้อมรับประทานจะกลายเป็น Common Meal ที่ทุกบ้านต้องมีติดตู้เย็นไว้ และเลือกกินโดยไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจในความสด สะอาด ปลอดภัยของอาหาร เป็นโจทย์อันท้าทายให้กับแบรนด์ ควิกมีล (Quick Meal) ในวันนี้ เป็นสิ่งยืนยันว่า เอส แอนด์ พี พร้อมทุ่มเต็มตัวในตลาดอาหารพร้อมรับประทานอย่างแน่นอน
(Positioning Magazine มกราคม 2552)