TAM กลับมาอย่างอินเตอร์
งาน TAM (Thailand Animation and Multimedia) กลับมาอีกครั้ง หลังจากเว้นไป 1 ปี ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 นับจากครั้งแรกที่มีขึ้นในปี 2547 นอกจากพาเอาความเป็นไทยด้วย Mascot ตุ๊กตาหมูแต่งชุดไทยโทนเหลืองรับปีมหามงคล 80 พรรษา สโลแกนของงาน "Global Opportunity for Digital Entertainment" บอกถึงเป้าหมายของความต้องการโกอินเตอร์ของแอนิเมชั่นไทย
(Positioning Magazine ธันวาคม 2550)
BELL’s Beavers
Frank และ Gordon สองบีเวอร์ (Beavers) ตัวการ์ตูน Animation ที่สร้างความสำเร็จให้กับแบรนด์ Bell (Bell Canada Enterprises) บริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดทางด้านโทรคมนาคมในแคนาดา ให้บริการตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐานบ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต และอื่นๆ มาแล้วกว่า 125 ปี
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
หมีสีชมพู มาแว้ว !
รู้จักไหม... โมโมจัง ถ้ายังนึกไม่ออก จะอธิบายให้เห็นภาพว่า โมโม เป็นหมีสีชมพู เป็นสัตว์เลี้ยงตระกูลโพสเพ็ท (PostPet) ที่มีคาแร็กเตอร์สดใสน่ารัก หมีตัวนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่อปี 1997 ที่ประเทศญี่ปุ่น จากซอฟต์แวร์เมลที่ทำหน้าที่ส่งเมลเสมือนบุรุษไปรษณีย์ และพัฒนามาเป็นเว็บเมล โดยมีหมีโมโม (Momo) และโคโมโม (Comomo) เป็นตัวเอก
(Positioning Magazine ธันวาคม 2549)
วิราช บุนนาค ครูต้นแบบ Animator
ปลายเดือนมีนาคมนี้ได้ฤกษ์เปิด B-digital school โรงเรียนแห่งแรก ณ ต้นซอยรางน้ำ 3 ด้วยอาคารพาณิชย์สูง 5 รวมพื้นที่กว่า 200 ตารางเมตร เพื่อเปิดสอนคอมพิวเตอร์กราฟิกและแอนิเมชั่นครบวงจรแห่งแรกในไทย ต่างจากบริเวณใกล้เคียงที่เป็นแหล่งช้อปปิ้ง โรงเรียนกวดวิชา สถาบันสอนภาษาและคอมพิวเตอร์พื้นฐาน
(Positioning Magazine มีนาคม 2549)
เส้นทาง Thai Design in Animation & File
ในยุคที่แอนิเมชั่น (Animation) กำลังเฟื่องฟู ด้วยเหตุที่มีการประยุกต์เทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมหนังและโฆษณาได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ช่วยลดต้นทุนการสร้างหนังฟอร์มยักษ์ระดับฮอลลีวู้ด หรือเติมอรรถรสให้หนังโฆษณามีสีสันเกินจริงได้ จากการใช้ซอฟต์แวร์แพ็กเกจร่วมกับคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่อง
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
สุภณวิชญ์ สมสมาน Animator นอกตำรา
แค่เขียนประวัติการทำงานของ ”จั๊ก” หรือ “สุภณวิชญ์ สมสมาน” ก็แทบจะหมดพื้นที่ที่เขียนเรื่องราวของเขาแล้ว เพราะประสบการณ์เยอะมาก ซึ่งแน่นอนด้วยตำแหน่งหน้าที่ Supervisor-Sequence/Lighting/Composite บริษัท Rhythm & Hues Studios จำกัด สหรัฐอเมริกา ย่อมไม่ใช่ประสบการณ์ธรรมดา
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
เตรียมพร้อมสู่ถนน Animator
สำหรับคนในแวดวงการศึกษาจากเวทีสัมมนาเรื่อง “Digital Content for Educational Purpose” ต่างมองเห็นชัดเจนว่าคนทำงานในแวดวงคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphicหรือ CG) มีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง และหลายสถาบันทั้งรัฐและเอกชนต่างมีหลักสูตร เพื่อผลิตนิสิต นักศึกษาออกมาป้อนตลาด แต่ตลาดในเมืองไทยเองกลับไม่เติบโตเท่าไหร่นัก
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
Holovision สื่อ 3 มิติ ธุรกิจใหม่หลานสุริยะ
3D Holovision ถือเป็นนวัตกรรมสื่อโฆษณาจากสหรัฐอเมริกา ที่วุฒิภูมิ จุฬางกูร หนุ่มวัย 26 ปี หลานชายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ คาดว่าจะสร้างสีสันให้กับสื่อ below the line เมืองไทยได้อย่างน่าตื่นเต้น
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
วีระ แซ่อึ้ง มือบริหาร 3D Animation
“เป็นไปไม่ได้...ทำไม่ได้ หรือไม่ได้ทำ…สำหรับผมไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้” บางส่วนของประโยคกินใจในหนังโฆษณา “เรดเลเบิ้ล”หนึ่งในเหล้าของตระกูลจอห์นนี่ วอล์คเกอร์ ที่สื่อให้เห็นฉากสร้างสรรค์ต่างๆ ผลงานคอมพิวเตอร์กราฟิกของ “เอก - วีระ แซ่อึ้ง” หนุ่มนักสร้างฝันเจ้าของบริษัท Digital Magic Effect House
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ Animator ยุคใหม่
คงไม่แปลกหากจะยกให้ ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ เป็น “นักแอนิเมชั่น” ต้นแบบคนหนึ่ง ผู้สร้างชื่อมาจากภาพยนตร์เรื่อง “ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น” ที่เป็นการ์ตูน 3 มิติเรื่องแรกเมืองไทย จากการทุ่มทุนสร้างของ บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น ที่ประสบลผลสำเร็จสูงสุดในตลาดการ์ตูน Animation ในช่วงปีที่ผ่านมา
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)