Brand Ambassador ใครไม่มีเชย !
“Brand Ambassador” เป็นปรากฏการณ์ที่ทวีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีแบรนด์ แอมสเดอร์ บ้างก็ว่านักการตลาดคิดอะไรไม่ออก เอะอะก็ใช้ Presenter ใช้ Brand Ambassador กัน แต่ในบางกรณีกลยุทธ์ใช้ได้ผลจริง ไม่ใช่เพียงแค่ ตู้ม! เดียวหาย เพียงชั่วครูผู้คนก็ลืมเลือน
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
เรื่องเด็กๆ พลังเล็กมหาศาล
พรีทีน วัยทีน วัยซ่าส์ ...จะนิยามอย่างไรก็แล้วแต่ หากคำดังกล่าวนี้ กำลังเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่บรรดาเจ้าของแบรนด์สินค้าช่วงนี้กำลังมองเห็นผล และพลังจากผู้บริโภคกลุ่มนี้อย่างน่าติดตาม
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
ร้านกาแฟ...ที่นี่มีความหมาย
มีจุดที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งของการวาง POSITIONING ที่ทำการพรรคการเมือง นั่นคือ การเปิดร้านกาแฟภายในสถานที่ทำการพรรค ซึ่งทั้งสองพรรคอย่างประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย ล้วนมีนัยสำคัญ เพราะร้านกาแฟแห่งนี้ ไม่ใช่มีไว้ขายกาแฟอย่างเดียว หากยังแฝงด้วยการสร้างคอมมูนิตี้ ในการติดต่อสื่อสารของสมาชิกพรรคสไตล์ใหม่ และยังมีผลต่อภาพลักษณ์ใหม่ของพรรค ให้ดูทันสมัยมากขึ้น
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
รีแบรนด์ไทยรักไทย จุดเปลี่ยนบนวิกฤตผู้นำ
เมื่อแบรนด์พรรคไทยรักไทยต้องสะดุดกับวิกฤตปัญหาขาดผู้นำของพรรค เพราะปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และคอรัปชั่น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ทำให้ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งพรรคต้องประกาศลาออกในที่สุด
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
สร้างแฟนพันธุ์แท้ ฉบับลักส์
สบู่ลักส์ เดินเกมการตลาดใหม่ ออกพ็อกเกตบุ๊กชมพูสดใส “สนุกกับความสวย” คู่มือเคล็ดลับความงามของผู้หญิง “Ooh! That’s cute Inspired by Lux” เพื่อสร้างความจดจำให้กับแบรนด์แบบยั่งยืน และสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
ยุคคนมี “แบรนด์”
การทำตลาดในยุคใหม่นับจากนี้ เป็นยุคที่ “ทุกคนต้องสร้างแบรนด์ตัวเอง (Human Brand) อย่างชัดเจน” การสร้างแบรนด์ของตัวเองมาจาก อาชีพ อายุ เพศ จนถึงไลฟ์สไตล์ อุปกรณ์ต่างๆ ที่คนนั้นใช้งาน หรือแม้แต่สื่อที่เขาดู ไม่ว่าจะเป็นรายการทีวีต่างๆ และรายการข่าว รายการกีฬา และดาราที่เขาชื่นชอบ รวมไปถึงเว็บไซต์ที่ดูประจำ ก็นำมาสร้างแบรนด์ของตัวเองได้
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
สร้างแบรนด์ด้วยน้องหมา
Fido หนึ่งในผู้ให้บริการมือถือในแคนาดา ได้พยายามสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ โดยเน้นกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับการให้บริการเสริมต่างๆ ที่หลากหลายและแตกต่างออกไป ตอกย้ำคอนเซ็ปต์ของ Fido ที่ว่า “เราอยู่เคียงข้างคุณเสมอ” (Always by your side) รวมกับการใช้สุนัขเป็นสื่อดึงดูดความสนใจและง่ายต่อการจดจำแบรนด์ Fido
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
สร้างแบรนด์ยุคใหม่ต้องรู้ !
เดนท์สุ ได้ร่วมกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดฮอลใหญ่ "หอประชุมมหิตลาธิเบศร" จัดบรรยายโดย 2 กูรูสร้างและบริหารแบรนด์คือ David Aaker ในหัวข้อ “Brand Visions for New Business Era” และ Shigeo Okazaki ในหัวข้อ "Brand Management Dentsu Way with Cases and Analysis from China" ในราคาบัตรถึง 3 พันบาทโดยมีผู้ฟังเต็มหอประชุม
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
ศิริกุล เลากัยกุล สร้างแบรนด์พอเพียง
เมื่อ “เศรษฐกิจพอเพียง” กลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่องค์กรหลายแห่งหันมาสนใจไม่แพ้เรื่อง “แบรนด์”ทำให้ “ศิริกุล เลากัยกุล” กูรูและที่ปรึกษาเรื่องแบรนดิ้ง ต้องหันกลับมามอง และนำเอาทั้งสองส่วนมาผสมและตกผลึกออกมาเป็นกรณีศึกษาผ่านพ็อกเกตบุ๊ก เล่มที่ 2 ได้อย่างน่าสนใจ
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
“Cult Brand” พลังแบรนด์จากแฟนคลับ
“Cult Brand” เป็นศัพท์ทางการตลาดที่ถูกเขียนออกมาเป็นตำราหลายเล่มแล้ว เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Cult” ที่แปลว่ากลุ่มคนที่คลั่งไคล้ชื่นชมหรือบูชาในบุคคล ความคิด หรือสิ่งของหนึ่งๆ ในกลุ่มจะมีวัฒนธรรม วิธีการ ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มเองไม่เหมือนใคร และสมาชิกของกลุ่มทุกคนก็เข้าร่วมกลุ่มเพราะความนิยมชมชอบส่วนตัว ไม่ใช่เพราะหน้าที่
(Positioning Magazine เมษายน 2550)