Re-positioning ทางรอดแบรนด์ยุควิกฤต
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ อารมณ์จับจ่ายซบเซา ภาวะการแข่งขันในตลาดเต็มไปด้วยความรุนแรง ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ทางรอดของแบรนด์ยุคนี้หาทางออกอย่างไรในภาวะเช่นนี้ แจ็ก เทราท์ กูรูด้านการตลาดของโลก ผู้สร้างทฤษฎี Positioning หรือ การวางตำแหน่งทางการตลาด และการต่อสู้ Marketing Warfare ได้ชี้ถึงหนทางรอดของแบรนด์ในยุคนี้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในการบรรยาย
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
ได้เวลา Change
หลังจากเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี มอบหมายให้ ลูกเขย โชติพัฒน์ พีชานนท์ มือการเงิน มานั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริหาร ดูแลกลุ่มธุรกิจประกันและการเงินอาคเนย์ ที่ได้ลงมือผ่าตัดองค์กร และรีแบรนด์มาได้ 1 ปีเต็ม ก็ได้ฤกษ์ดี วันที่ 9 เดือน 9 ปี 2009 กดปุ่มเปิดตัวแบรนด์อาคเนย์โฉมใหม่ เพื่อเตรียมกลับมาเป็นประกันภัยระดับต้นๆ อีกครั้ง และยังหวังให้เป็นฐานธุรกิจการเงินของกลุ่มทีซีซีในอนาคตอีกด้วย
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
The Power of Celebrity
BlackBerry หรือ BB จากสมาร์ทโฟนที่ใช้เฉพาะกลุ่มนักธุรกิจ กลายมาเป็นอาณาจักร BB Lover ที่กว้างขึ้น เป็นสังคมกับวัฒนธรรม และพฤติกรรมใหม่อย่างเห็นได้ชัด เพราะ ”เอไอเอส” ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเบอร์ 1 ของไทยเริ่มออกแรงอย่างมีกลยุทธ์ ด้วย Key Driver ที่ ”เอไอเอส” เลือกใช้ คือ ”เซเลบริตี้มาร์เก็ตติ้ง” จน ณ นาทีนี้ ว่ากันว่ากว่า 50% ของเซเลบฯ และ 80% ของวงการดาราถือ BB จนทำให้ BB ต่อยอดเข้าไปในกลุ่ม Mass ได้ไม่ยาก
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
“พี่มาร์ค” ดึงวัยรุ่น
โลโก้พรรคประชาธิปัตย์ แบ็คดร็อป พร้อมหุ่นกระดาษ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรค ขนาดเท่าของจริง ยืนต้อนรับวัยรุ่นหน้างาน เด็กหลายคนกรี๊ดและเข้าไปแนบกายถ่ายรูปกับ”อภิสิทธิ์” กันไม่ขาดสาย แล้วเสียงกรี๊ดและสปอตไลต์ยังสาดส่องต่อราวกับต้อนรับศิลปิน เมื่อ”อภิสิทธิ์” ตัวเป็นๆ มาถึงฮอลเวทีกิจกรรม
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
10 แบรนด์ดัง สร้างแบรนด์ด้วย Social Media
ฉบับนี้จริงๆ ผมคิดจะเขียนเรื่องของ Social Media และการ Engage ให้คนติดอยู่กับแบรนด์ของเรามากขึ้น แต่พอเจอรายงานฉบับหนึ่งทางอินเทอร์เน็ตที่ชื่อว่า The World’s Most Valuable Brands, Who is the Most Engaged? หรือแปลเป็นไทยว่าชื่อว่า แบรนด์ดังระดับโลก แบรนด์ไหนน่าติดตามที่สุด (Engage คนได้มากที่สุด) ของ Charlene Li อดีตนักวิเคราะห์ชื่อดังจาก Forrester เจ้าของหนังสือ “Groundswell”
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
ครบรอบทั้งที...อย่าปล่อยให้แบรนด์แก่
10 ปี 15 ปี 25 ปี หรือ 100 ปี กลายเป็นตัวเลขที่มีความหมายสำหรับแบรนด์ดัง หรือองค์กรธุรกิจ ต่างนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ครบรอบ หรือ Anniversary Marketing เพื่อใช้ดึงดูดความสนใจ สร้างมูลค่าเพิ่ม ในการจัดงานได้อย่างน่าสนใจ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
เปิดตำนาน ...ปั้นดาว 13 ปี ดัชชี่บอยแอนด์เกิร์ล
แม้จะมีเวทีการประกวดเฟ้นหาดารา นักร้อง เกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งอคาเดมี แฟนเทเชีย หรือเอเอฟ ของทรู และเดอะสตาร์ ของแกรมมี่ แต่ “ดัชชี่บอย แอนด์เกิร์ล” ยังคงความเป็นเวทีประกวดเฟ้นหาวัยรุ่นระดับตำนานที่ยืนหยัดมาแล้วถึง 13 ปี ผลิตดาราวัยรุ่นเข้าสู่วงการบันเทิงมาแล้วไม่น้อยกว่า 150 ชีวิต ทั้งๆ ที่เป็นเวทีประกวดที่ไม่มีเคยมีสื่อ หรือรายการบันเทิงเป็นของตัวเอง
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
เครือข่ายลอยัลตี้ต้องสร้างเอง
เทรนด์นี้มาแรง คอนเฟิร์มอีกครั้งด้วย BMW เมืองจีนที่รุกสร้าง “แบรนด์ลอยัลตี้” ให้กับลูกค้าที่มีอยู่ 150,000 คน ผ่าน Social Network แม้ในโลกออนไลน์จะมีมากมายหลายสังคมให้เลือกเป็นสมาชิก ตั้งแต่ Facebook Hi5 ไปจนถึง Twitter แต่สำหรับ BMW เลือกสร้างเครือข่ายผ่าน MyBMWClub.cn ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ข้อคือ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
ปั้นแบรนด์พนมรุ้ง
“ข้าวพนมรุ้ง” เป็นอีกธุรกิจหนึ่งของคนในตระกูล “หวั่งหลี” ซึ่งรับผิดชอบโดยทายาทรุ่นใหม่ "วิพุธ หวั่งหลี" ซึ่งต้องผลักดันข้าวพนมรุ้งลงตลาดค้าปลีกหลังจากประสบความสำเร็จในตลาด Food Service มาแล้ว แต่ปัจจุบันตลาดนี้เริ่มประสบปัญหาจากภาวะการท่องเที่ยวในเมืองไทยที่โดนแรงอัดจากเศรษฐกิจและการเมืองอีกต่อหนึ่ง
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
“ฮีโร่” แบรนด์รอง
ไม่เพียงโลคอลแบรนด์ อย่าง “ไอ-โมบาย” ที่ยึดกลยุทธ์ “พรีเซ็นเตอร์” เท่านั้น ในกลุ่มมือถือแบรนด์ต่างชาติที่เป็นเบอร์รองต่างก็พึ่ง “พรีเซ็นเตอร์” มาเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นโมโตโรล่า โซนี่ อิริคสัน ซัมซุง แอลจี ที่ไม่เคยใช้พรีเซ็นเตอร์คนไทยมาก่อน ต่างเดินกลยุทธ์นี้ จนทำให้ผู้บริโภคจดจำว่าซื้อมือถือโมโตรุ่น “ฟิลม์ รัฐภูมิ” และซื้อโซนี่ อิริคสันรุ่น “มาริโอ้ เมาเร่อ” แอลจี รุ่น “โต๋” และ ซัมซุง รุ่น “เวียร์”
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)