สัญญาณร้าย ส่งออกวูบ
“ค่าบาทแข็ง” กระหน่ำซัดภาคการส่งออกต้องตกที่นั่งลำบาก เมื่อเงินดอลลาร์ที่ได้มาเมื่อแลกกลับมาเป็นบาทแล้วลดลง แม้ปริมาณส่งออกจะเท่าเดิม ชะตากรรมของสินค้าส่งออกไทยบางประเภทถูกซ้ำเติม เมื่อเจอคู่แข่งแย่งชิงตลาดด้วยต้นทุนค่าแรงที่ถูกกว่าไทยถึง 3 เท่า อะไรคือจุดอ่อน และจุดแข็งของส่งออกไทยที่ต้องแก้ไข
(Positioning Magazine กันยายน 2550)
ค่าเงินบาท จุดตายเศรษฐกิจไทย
สถิติมีไว้ให้ทำลาย แต่บางสถิติสำหรับบางอย่างหากถูกทำลายบ่อย ๆ อาจเกิดหายนะขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เกิดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น “จุดตาย” ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยอาจต้องล่มสลายลง
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
“ธาริษา วัฒนเกส”หญิงเดี่ยวมือหนึ่งแบงค์ชาติ
ย้อนหลังไป 32 ปีที่แล้ว สาวน้อยวัยใส พกพาดีกรีปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ จากญี่ปุ่น อาจไม่อยู่ในสายตาของคนในแบงก์ชาติเท่าไรนัก เพราะแบงก์ชาติเป็นหน่วยงานระดับประเทศ ถือเป็นแหล่งรวมของสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินทั้งหญิงและชาย แต่ ณ ปัจจุบันโฟกัสสายตาทุกคู่ต่างมองไปที่เธอ “ธาริษา วัฒนเกส” ที่เปลี่ยนสถานะจากสาวน้อย เจ้าหน้าที่ทั่วไปของแบงก์ชาติ กลายมาเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นเบอร์ 1 นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจธนาคารที่มีมูลค่ารายได้ปีหนึ่งหลายแสนล้านบาท จากตลอดเวลากว่า 65 ปีที่ผ่านมา ผู้ว่าแบงก์ชาติ 20 คนเป็นชายทั้งหมด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
“คุมค่าบาท” ชี้ชะตาเศรษฐกิจไทย
ปี 2007 “อาการของเศรษฐกิจไทย”จะเป็นอย่างไร ชัดเจนว่าปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับ “รัฐบาล” เพียงประการเดียว เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร แต่หาก “ขาดความรอบคอบ” ในการประกาศใช้นโยบาย หรือออกมาตรการใดๆ ย่อมทำให้ “เศรษฐกิจไทย” พังได้เช่นกัน
(Positioning Magazine มกราคม 2550)
“ปรีดิยาธร เทวกุล”อำนาจ ”เสถียรภาพเศรษฐกิจ”
ชายร่างสูงโปร่ง มาดขรึม นิยมผูกหูกระต่ายมากกว่าเนกไท ตามแบบฉบับของนักเรียนไทยที่มีโอกาสไปศึกษาต่างประเทศ สัญญลักษณ์ภายนอกที่อาจทำให้ใครก็ตามที่ยังไม่เคยรู้จักกันมาก่อนแต่ต้องเข้าใกล้จะรู้สึกเกร็ง ด้วยเกรงว่าอาจถูกความขรึมนั้นบาดเข้าให้ แต่หากได้รู้จักกันบ้างแล้ว ส่วนใหญ่ความเกร็งนั้นจะหายไป จะเหลือก็เพียงความเกรง และความนับถือ ยิ่งไปกว่านั้นหากได้สนทนามุกฮา ก็อาจถูกยิงออกมาบ้างเป็นบางครั้ง
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)