ฮัลโหลจากบ้าน
พนักงาน Call Center ของโอปะเรเตอร์มือถือ ดีแทค กำลังมีทางเลือกใหม่ จากทำงานที่บ้าน เพื่อให้บริการรับสาย โดยที่ลูกค้าไม่รู้ว่าพนักงานให้บริการอยู่ในออฟฟิศหรือไม่ ที่สำคัญกว่านั้น ความสุขที่พนักงานได้รับจากการไม่ต้องเดินทางยามค่ำคืน ย่อมส่งผลให้บริการให้ดีขึ้น
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
ซื้อ 3 กิจการเพื่อ 3 จี
“มีเครือข่าย 3 จี แล้ว ส่งภาพเสียงได้เร็วกว่าเดิม แต่ถ้าไม่มีคอนเทนต์ก็ไม่มีความหมาย” ซิคเว่ เบรคเก้ ซีอีโอดีแทค จึงสั่งลุย ควักงบ 100 ล้านบาท เทกโอเวอร์บริษัทผลิตคอนเทนต์ 3 แห่งในเวลาไม่กี่เดือน
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
ซิคเว่ หาสูตรใหม่ปั้นองค์กรแบบดีแทค
“พนักงานดีแทคจะต้องไม่คิดว่าตัวเองเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จแล้ว ต้องไม่คิดว่าบริษัทตัวเองยิ่งใหญ่ หรือดีแล้ว เราต้องคิดว่ายังมีเรื่องให้เรียนรู้อีกมาก ความคิดแบบนี้ทำให้เราไม่หยิ่ง ยโส แต่ทำให้เรารู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน และเปิดกว้างมากขึ้น”
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
3 บิ๊กสื่อสารไทย กับเครือข่ายที่ต้องสร้างเอง
เครือข่ายสังคมแบบไม่มีที่สิ้นสุด Social Networking ทำให้ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีฐานลูกค้าจำนวนมากนำโมเดลมาปรับใช้ สร้างเครือข่ายของตัวเองในโลกออนไลน์เพื่อต่อยอดธุรกิจ เห็นได้ชัดเจนจากกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ที่มีกลยุทธ์ธุรกิจด้วย Convergence ทุกบริการตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี รวมกว่า 20 ล้านสมาชิกเข้าด้วยกัน หรือค่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ เอไอเอสที่มีฐานลูกค้ากว่า 23 ล้านคน และดีแทคอีกเกือบ 18 ล้านคน ต่างเริ่มมี Social Networking ที่สร้างขึ้นเองเพื่อเป็น “มีเดีย” เชื่อมโยงให้สินค้าเข้าถึงโลกส่วนตัวของลูกค้า
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
ดีแทค ต้องมีมากว่า "ฮัลโหล"
เมื่อเบอร์ 2 อย่างดีแทครู้สึกตัวว่าที่ยืนในธุรกิจสื่อสารไร้สายไม่ใช่ที่มั่นอันแข็งแรงเสมอไป โอกาสหล่นไปอยู่เบอร์ 3 มีได้ตลอดเวลา แม้ว่า ดีแทคจะทำสำเร็จในแง่ของการสร้างแบรนด์ พลิกสถานการณ์ของมวยรองให้กลับขึ้นมาได้สำเร็จ จนเบอร์ 1 ต้องหันมามองชนิดตาไม่กะพริบ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2551)
สร้างแบรนด์ยุคน้ำมันแพง ขอแค่รู้สึกดีและมีส่วนร่วม
เฮือกสุดท้ายของการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าที่มีงบจำกัดลงทุกทีตามภาวะเศรษฐกิจ ผศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ มีวิธีสร้างแบรนด์ในแนวแบบพอเพียง พอประมาณ มาแนะนำ เธอเชื่อว่าเป็นเทรนด์ของกลยุทธ์ที่จะมาแรงในปีนี้ ด้วยองค์ประกอบของธุรกิจที่ยังอยู่ในช่วงไม่มั่นใจและยังต้องระวังตัว บวกกับความก้าวหน้าด้านไอทีที่เข้ามามีบทบาทในการสร้างแบรนด์มากขึ้น
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
7 ปีแล้ว ต้องขอ Feel Good
7 ปี กับความรู้สึกเดิมๆ และโลโก้เก่า นับเป็นเวลานานเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลง เหมือนอย่างปฏิบัติการล่าสุดของดีแทค ที่ขอ Re-feeling ลูกค้าให้ฟีลกู๊ดดดดด (Feel Goood) กับการใช้บริการดีแทค ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับ “เทเลนอร์” ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในดีแทค ที่เพิ่งประกาศรีแบรนด์ และใช้โลโก้กังหันลม หรือพัดลม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2006
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
พลิกแบรนด์ “ธนา เธียรอัจฉริยะ”
ระยะเวลา 11 ปีในบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ของ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ต้นตำรับการการตลาดแบบ “มวยรอง” เขาไม่เพียงอยู่ร่วมในเหตุการณ์สำคัญขององค์กรแห่งนี้ ที่ผ่านทั้งจุดสูงสุดในแง่ผลกำไร และช่วงตกต่ำสุด ขาดทุนอย่างหนักจนต้องปรับโครงสร้างหนี้ เปลี่ยนถ่ายผู้ถือหุ้น ต่างชาติเข้าเทกโอเวอร์ จากวิกฤตกลายเป็นโอกาส “ธนา” แสดงฝีมือจนได้ก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของผู้บริหารคนไทยในดีแทค เป็นเบอร์ 2 รองจากซีอีโอ “ซิคเว่ เบรคเก้”
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
ดีแทค วิ่งสู้ฟัด
8 โมงเช้า 11 กันยายน 2007 ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมส่วนใหญ่ อุณหภูมิประมาณ 26.2 องศาเซลเซียส อากาศกำลังสบายๆ แดดไม่จ้าจนเกินไปสำหรับบิ๊กดีแทคเกือบ 100 คน ที่มารวมตัวกันที่สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือสนามจุ๊บ เพื่อแอ็กชั่นถ่ายรูปเตรียมไว้แจกให้กับผู้สื่อข่าวในงานแถลงข่าวในช่วง 11 โมงวันเดียวกัน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
ไวรัส พันธุ์ “แฮปปี้”
ไม่ใช่ไวรัสพันธุ์ไหน แต่เป็นไวรัสพันธุ์แฮปปี้ ที่ “ธนา เธียรฮัจฉริยะ” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ ตั้งใจทำขึ้นมา เพื่อต้องการเจาะกลุ่มลูกค้า “วัยรุ่น” อย่างจริงจัง และยังเป็นช่องว่างของบริการแฮปปี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโทรศัพท์มือถือพรีเพดของดีแทค ในกลุ่มคนทั่วไป (Mass)
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2550)