ศึกชิงเบอร์เกอร์
นับเป็นการ Diversify ธุรกิจมาสู่เบอร์เกอร์เป็นครั้งแรกอย่างเต็มตัวของเคเอฟซี ด้วยการเปิดตัว “เบอร์เกอร์ไก่อบไอน้ำ” ยังประกาศกร้าวขอขึ้นเป็นผู้นำตลาดเบอร์เกอร์ ภายใน 1 ปี คว่ำแมคโดนัลด์ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเบอร์เกอร์มาช้านาน
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
แมคโดนัลด์ ประกาศศักด์ศรี “เพื่อนตัวจริงของคอยูโร”
แมคโดนัลด์ ถือเป็นแบรนด์ที่ผูกผันกับกีฬามานาน และทุ่มเม็ดเงินมหาศาลกับการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ (Official Sponsor) ของกีฬาระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยเฉพาะ 3 รายการใหญ่ที่คนทั้งโลกจับตามอง คือ ฟุตบอลโลก โอลิมปิก และยูโร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ทำให้เกิด McDonaldization (คำนิยามโดย George Ritzer นักสังคมวิทยาชื่อดังชาวอเมริกัน) แผ่อิทธิพลไปทั่วโลก
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
บัตรนี้มีความหมาย
หมดยุคของโรนัลด์ คลับ เพราะ “แมคโดนัลด์ คลับ” คือ CRM ใหม่ของแมคโดนัลด์ เปรี้ยวกว่า จากเดิมที่ให้แลกเฉพาะของพรีเมียม เปลี่ยนไปให้ส่วนลด 10% หลังพบว่า “ส่วนลด” เป็นโปรโมชั่นที่ถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
24 ชั่วโมง ยิ่งดึกยิ่งขายดี
“เลยเที่ยงคืนแล้วยังนอนไม่หลับ ไม่รู้เบื่อหรือเซ็ง อยากหาที่นั่งหย่อนใจชิลๆ อ่านหนังสือสอบดึกดื่นจนขอบตาดำเป็นหมีแพนด้า ปาเข้าไปตี 2 ยังเขียนรายงานการประชุมไม่เสร็จเสียที เที่ยวเสร็จก็ตีหนึ่งละจะหาอะไรกินดี
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
แมคโดนัลด์ 24 ชั่วโมง
ตัวเลข 24 กำลังมาเป็นส่วนหนึ่งของ “แมคโดนัลด์” เพราะนี่คือบริการแบบ All Day All Night ตลอด 24 ชั่วโมง ใน 7 วัน ที่แมคโดนัลด์ เปิดให้บริการใน 20 สาขา จาก 98 สาขา เป็นรูปแบบเดียวกับที่ทำในสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และฮ่องกง
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
แมค คาเฟ่ ดีไซน์ อัพเกรดแบรนด์
ต้องนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ “Totally Changed” สำหรับการพลิกโฉมร้านแมคโดนัลด์ สาขาอัมรินทร์ หรือโซโก้ ด้วยการเพิ่ม “แมคคาเฟ่” เปิดบริการในพื้นที่เดียวกัน และเป็นความท้าทายใหม่ของธุรกิจฟาสต์ฟู้ดที่กำลังพลิกโฉมหน้าไปสู่ร้านกาแฟที่มีไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเป็นเดิมพัน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
แมค ดิลิเวอรี่ การตลาดกับความกลัว เบื่อ เซ็ง
“แฟนหนี แก๊สหมด ติดละคร กลัวแดด ฝนตก น้ำมันแพง ฯลฯ...สั่ง McDelivery” ส่วนหนึ่งสปอตวิทยุที่เป็นสัญญาณบอกว่าอาวุธชิ้นนี้แมคโดนัลด์ภายใต้ร่มวิชา พูลวรลักษณ์ พร้อมแล้วที่จะส่งมากระตุ้นตลาด QSR (Quick Service Restaurant) ที่มีมูลค่าประมาณ 14,500 ล้านบาท และมีอัตราเติบโต 10-15% ต่อปี แต่แมคโดนัลด์ใน 5 เดือนแรกที่ผ่านมา กลับมียอดตกต่ำครั้งแรกในรอบ 5 ปี เหตุเพราะเมนูไม่โดนใจ
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
แมคท้ารบสตาร์บัคส์
3 ปีที่ผ่านมา แมคโดนัลด์ในเมืองไทย ไม่มีการลงทุนใดๆ ตัวเลขสาขาไม่ขยับ แต่เมื่อ “วิชา พูลวรลักษณ์” เข้ามาครอบครอง Master Franchise ในไทย สัญญาณรุกก็ชัดเจน ด้วยโปรเจกต์ใหม่ที่เข้าแถวยาวเหยียดกว่า 20 รายการภายในปีนี้
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
แมคโดนัลด์ในมือ “วิชา”
การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท แมคไทย จำกัด แฟรนไชส์ของแมคโดนัลด์ กว่า 70 % นับเป็นการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของ “วิชา พูลวรลักษณ์” เพราะถือเป็นครั้งแรกของการดำเนินธุรกิจที่เป็น Global Brand แต่หากมองอีกมุมหนึ่งแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด จากการสยายปีเมเจอร์ ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ อันอยู่บนพื้นฐาน Lifestyle Business เพราะเป็นโมเดลธุรกิจของเขาอยู่แล้ว
(Positioning Magazine มกราคม 2550)
ยกระดับแบรนด์
ที่น่าสนใจไม่น้อยคือ การที่ “สยามพารากอน” ได้กลายเป็นแหล่งยกระดับแบรนด์ให้มีความเป็นพรีเมียมมากขึ้น ตั้งแต่ชั้น GF ซึ่งเป็นส่วน Gourmet Paradise ที่เด่นๆ ก็มีร้าน Mc Donald’s ซึ่งตกแต่งเรียบ หรู เก้าอี้นั่งเบาะ, โซนที่นั่งถูก 3 ส่วนชัดเจน, กระจกใสเรียบไม่ติดป้ายโปรโมชั่นมากเหมือนสาขาอื่น ขณะที่เมนูอาหารชุดจะมีราคาสูงกว่าปกติ พร้อมเพิ่มส่วน M-Station มีทั้งดีเจประจำร้านและนำเครื่องไอพอด 2 เครื่องมาบริการลูกค้าอีกด้วย
(Positioning Magazine มกราคม 2549)