ความผิดพลาดที่รัฐบาลปิดกั้นสื่อ กรณีศึกษา “เมืองไทยรายสัปดาห์”
“สังคมไทยมักจะมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนถูกทำร้าย และเมื่อสื่อรายการทางทีวีถูกปิดกั้น ถูกถอดรายการคนทั่วไปจึงรู้สึกเห็นใจ คุณสนธิ (ลิ้มทองกุล) มากขึ้น สังเกตหลายๆ คนเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์หนีจากเครือข่าย AIS มากขึ้น เพราะรู้สึกมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ และไม่พอใจที่สื่อถูกทำร้าย
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
ปรากฏการณ์ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ในฐานะที่เป็น “ข่าว”
หลังจากที่เรียกว่า “ข่าว” ในโทรทัศน์ ตีพิมพ์ใน “ผู้จัดการรายวัน” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็มีนักจัดรายการของสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งและสถานีวิทยุอีกสองแห่ง ติดต่อให้ผมช่วยไปพูดอะไรเกี่ยวกับ “ข่าว” ในยุคนี้ในรายการของตน หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งก็ขอให้ผมไปร่วมการอภิปรายในหัวข้อทำนองเดียวกันอีก นี่คือตัวอย่างที่แสดงว่า อะไรที่เราเรียกๆ กันแบบผ่านๆ ว่า “ข่าว” ในสมัยนี้ ดูจะมีความซับซ้อนไม่ใช่เล่นเหมือนกัน ไม่ใช่เป็นอะไรที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
Talk Show กรณีศึกษา เอแบค โพลล์ สำรวจคนกรุงเทพฯ คัดค้าน ปลดรายการช่อง 9
กลายเป็นกรณีศึกษา ที่แวดวงวิชาการจากสถาบันการศึกษาให้ความสนใจ หลังเกิดกระแสวิพากษ์ “รายการเมืองไทยรายสัปดาห์” เมื่อครั้งถูกปลดออกจากผังช่อง 9 ทำให้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ของ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หยิบประเด็นรายการนี้มาศึกษาอย่างจริงจัง โดยสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมืองต่อประเด็นต่างๆ หลากหลายแง่มุมอย่างน่าสนใจ
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
จากม็อบมือถือสู่ม็อบ “บรอดแบนด์”
ถ้าเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มี “ม็อบมือถือ” เป็นตัวขับเคลื่อนแล้ว แต่ม็อบครั้งนี้ ไม่ได้มีแค่โทรศัพท์มือถือ แต่ยังมี “เว็บไซต์” เป็นตัวแปรสำคัญ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้บรรดาสื่อมวลชน ที่ติดตามเรื่องราวของ สนธิ ลิ้มทองกุล และ “เมืองไทยรายสัปดาห์” มองเห็น “ประเด็น” ไม่ต่างกันนัก
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ
ลำดับเหตุการณ์ ที่รัฐบาลใช้มาตรการ “เซ็นเซอร์” มาใช้ในการยุติรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ได้รับความนิยมจากคนดู
(Positioning Magazine ธันวาคม 2548)