กระบวนการพิทักษ์สถาบันกษัตริย์
กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกลุ่มเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านปัญหาการโกงกิน การซื้อเสียงของนักการเมือง และคอรัปชั่น ของรัฐบาลภายใต้ระบอบทักษิณ ตลอดจนพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
เปิดโปงกระบวนการหมิ่นสถาบันฯ
แม้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้วในสังคมไทย แต่คงไม่มียุคใดสมัยใดที่ “สถาบันพระมหากษัตริย์” จะถูกหยิบยกกล่าวอ้างขึ้นมาเสริมสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับฝ่ายตน ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ทั้งในที่ลับและที่แจ้งอย่างมากมายเท่าสมัยนี้
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
การเมืองวิกฤต ประเทศไทยยิ่งโคม่า
ความขัดแย้งที่ถึงเวลาต้องเลือกข้าง เลือกเสื้อที่จะใส่ระหว่าง “เหลือง” กับ “แดง” เลือกสถานที่ที่จะไปรวมตัวกันระหว่าง “สนามหลวง สนามกีฬาราชมังคลาสถาน” หรือ “ทำเนียบรัฐบาล สะพานมัฆวาน” เลือกอุปกรณ์ “มือตบ หรือ ตีนตบ” เป็นอาการเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2549 เป็น 3 ปีแห่งความรุนแรง และนับวันจะยิ่งสาหัสมากยิ่งขึ้น จนเสียงซีอีโอของไทยต่างบอกว่านี่คืออีกหนึ่งวิกฤตที่จะทำให้ประเทศไทยโคม่า
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
การเมืองสองกระแส
ชัยอนันต์ สมุทวณิช คอลัมนิสต์ เจ้าของคอลัมน์ “ชีวิตที่เลือกได้” ประจำหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เคยเป็นอดีตผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย เขาเป็นอีกผู้หนึ่งที่ฉายแนวคิด สะท้อนความหมายและที่มาของ “การเมืองใหม่” และปัญหาของ “การเมืองเก่า” และปรากฏการณ์ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเอาไว้ได้น่าสนใจ
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง “การเมืองใหม่ยังไม่มีสูตรตายตัว หากมีสูตรตายตัวก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย”
รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สมาชิกและประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ของ ส.ส.ร. ผู้มีบทบาทในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในฐานะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และยังเป็นเจ้าของรายการรู้ทันประเทศไทยทางเอเอสทีวี ซึ่งทำให้ภาพของเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตท่านนี้ มีส่วนในการผลักดันแนวคิดของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่การปฏิรูปการเมืองใหม่ในแบบของอาจารย์เจิมศักดิ์ มีอีกมุมมองที่น่าสนใจ
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
พิภพ ธงไชย “การเมืองใหม่ถือว่าวันนี้เราประสบความสำเร็จแล้ว”
แม้ว่าวันนี้ชัยชนะที่แท้จริงของประชาชนในการได้มาซึ่งประชาธิปไตยแบบเต็มร้อยยังไม่สัมฤทธิผล แต่แนวคิดเรื่อง “การเมืองใหม่” ที่จุดประกายโดย สนธิ ลิ้มทองกุล เริ่มได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจากทุกส่วนภาคของประเทศ โดยเฉพาะคนที่เบื่อการเมืองระบอบทุนนิยม ที่เน้นผู้มีอิทธิพลของพื้นที่มากกว่าเสียงที่แท้จริงของประชาชน แม้จะมีอีกหลายส่วนที่วิพากษ์เพราะยังไม่เข้าใจแก่นแท้ของเรื่อง และถูกจัดภาพให้บิดเบือนโดยผู้มีอิทธิพลที่คิดว่าตนเองกำลังจะสูญเสียอำนาจ
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
สนธิ ลิ้มทองกุล “เรามาเริ่มต้นเขียนประวัติศาสตร์การเมืองใหม่ด้วยกัน”
สนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะของสื่อมวลชน และ1 ใน 5 แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ไม่เพียงสร้าง “ปรากฏการณ์มัฆวานรังสรรค์” รวมพลังมวลชน สร้างจิตสำนึกใหม่ทางการเมือง คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อฟอกผิดทักษิณ ชินวัตร และขับไล่รัฐบาลนอมินี แต่ภารกิจที่ท้าทายมากกว่านั้น คือ การผลักดันแนวคิด “การเมืองใหม่” ออกไปสู่สังคม
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
พันธมิตรฯ คิดนอกกรอบ การเมืองใหม่ “70:30 เป็นแค่ตุ๊กตา”
การเมืองใหม่คืออะไร ทำไมต้องเป็น “การเมืองใหม่” แนวคิดนี้เกิดขึ้นมาอย่างไร ที่มาของสูตร 70:30 มาได้อย่างไร เป็นการคืนชีพระบอบอำมาตยาธิปไตย และเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยจริงหรือ โอกาสจะเกิดการเมืองใหม่มีจริงมีแค่ไหน ประเทศไทยจะเดินไปทางไหนหลังจากมีการเมืองใหม่
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
ทำไมประเทศไทยต้องมีการเมืองใหม่
ไม่ว่าจะนิยามความหมายว่าอย่างไร แต่วันนี้ “การเมืองใหม่” ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย กำลังถูกนำมาถกเถียงกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมีประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองไทยเป็นเดิมพัน
(Positioning Magazine กันยายน 2551)
ปรากฏการณ์ม็อบพันธมิตร-เอเอสทีวี เรียลลิตี้โชว์พันธุ์แท้
ถอดรหัสปรากฏการณ์ ม็อบพันธมิตรฯ – ASTV สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งเดียวที่ถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง เปรียบได้กับรายการเรียลลิตี้โชว์ ที่มีผู้ชมติดตามหน้าจอตลอดทั้งวัน ทั้งคืน มีคนมาร่วมฟังร่วมเชียร์บรรดาเหล่าแกนนำที่เปรียบเป็น “ดารา” ถึงขอบเวที พวกเขามีวิธีบริหารจัดการอย่างไรจึงมัดใจคนดู กลายเป็นสถานทีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมที่ร้อนแรงมากที่สุดในเวลานี้
(Positioning Magazine สิงหาคม 2551)