พรรคชาติไทยจาก “รถอีแต๋น” มาสู่ “รถญี่ปุ่น”
ถ้าแบรนด์ของพรรคไทยรักไทย และประชาธิปัตย์เปรียบเหมือนรถยนต์ขายดี เหมือนเช่นรถยี่ห้อโตโยต้า และฮอนด้า พรรคชาติไทยยุคใหม่ในวันนี้ ก็อาจเป็นเพียงรถยี่ห้อมาสด้า ซึ่งแม้ไม่ใช่รถหวือหวา ขายดี หากจะอาศัยจังหวะเวลาช่วงนี้ขยายตลาด เผื่อคนเบื่อรถโตโยต้า และฮอนด้า จะหันมานิยมขับเคลื่อนของชาติไทย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
PTV “แยกกันเดิน รวมกันตี ?”
ในทางการตลาด บางครั้งบางแคมเปญก็ไม่อาจจะยิงออกไปในชื่อเจ้าของแบรนด์เองได้ อาจต้องตั้งหน่วยงานพิเศษ หรือยืมชื่อ "คนนอก" มารณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์แทน เพื่อมุ่งสร้าง “Word Of Mouth” หรือกระแส "ปากต่อปาก" ที่มีน้ำหนักมากกว่า
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
จากไฮ-ทักษิณ ถึง แมนเชสเตอร์ซิตี้
แม้จะสูญเสียอำนาจทางการเมือง ต้องกลายเป็นอดีตนายกพลัดถิ่น แต่ชื่อของ ทักษิณ ชินวัตร และไทยรักไทย กลับไม่ได้เงียบหายไปด้วย ด้วยกลยุทธ์การช่วงชิงพื้นที่ข่าว เพื่อสร้างความจำ ในตัวแบรนด์ทักษิณและไทยรักไทยด้วยเครื่องมือต่างๆ ทั้งเว็บไซต์ ทีวีดาวเทียม อีเวนต์ และการปล่อยข่าว
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
รีแบรนด์ไทยรักไทย จุดเปลี่ยนบนวิกฤตผู้นำ
เมื่อแบรนด์พรรคไทยรักไทยต้องสะดุดกับวิกฤตปัญหาขาดผู้นำของพรรค เพราะปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน และคอรัปชั่น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ทำให้ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้งพรรคต้องประกาศลาออกในที่สุด
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
ปั้นพรรคโตแบบ Takeover
นับจากวันก่อตั้งพรรคเพียง 7 ปี พรรคก่อตั้งใหม่อย่างไทยรักไทยชนะเลือกตั้งแบบที่จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในไทย หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จนอกจากการ "ดูด" นักเลือกตั้งมาเข้าพรรคจำนวนมากแล้ว ยังมีการ "ควบ" หรือ Takeover หรืออาจเรียกเป็น Merger & Acquisition ในภาษาอังกฤษธุรกิจตามแบบของ "ซีอีโอ" ทักษิณ ชินวัตร
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
“ตุลาชิน” ฐานกำลังไทยรักไทย
ในหลายๆ ขุมกำลังที่ทักษิณรวบรวมมาจัดตั้งไทยรักไทยในต้นทศวรรษ 2540 นับว่ากลุ่ม “คนเดือนตุลา” เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญลำดับแรกๆ ทั้งในบทบาทการลงท้องที่วิจัยค้นหาความต้องการของคนในระดับ “รากหญ้า” และความเป็นเครือข่ายที่โยงได้ถึงทั้งแวดวงวิชาการ เอ็นจีโอ ธุรกิจ และการเมืองในทุกรูปแบบ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
ไทยรักไทย มาร์เก็ตติ้ง...สูตรสำเร็จสินค้าการเมือง
ได้ชื่อว่า “แจ้งเกิด”ในแวดวงการเมือง เพราะใช้เครื่องมือ “การตลาดทางการเมือง” เป็นคัมภีร์สร้างแบรนด์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้งของอดีตผู้นำ ทักษิณ ชินวัตร รณรงค์หาเสียง กระทั่งเป็นรัฐบาล 2 สมัย รวมเวลา 5 ปี
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
“พรรคการเมืองก็ใช้การตลาดกันทั้งนั้น” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
“กลยุทธ์การตลาดในการเมือง” อาจเป็นข้อความ “แสลง” สำหรับนักการเมืองบางคนโดยเฉพาะสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งมายาวนาน มีความแข็งแกร่งของชื่อเสียงความเป็นพรรคการเมืองเต็มรูปแบบ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
เว็บนักการเมือง ขับเคลื่อนแบรนด์พรรค
พรรคประชาธิปัตย์ในช่วงนี้ที่ คมช. ห้ามทุกพรรคดำเนินกิจกรรมทางการเมือง จึงใช้สื่อเว็บซึ่งเป็นสื่อที่เสรีที่สุดสื่อหนึ่ง มาทำหน้าที่ Remind แบรนด์พรรคไม่ให้หายจากประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่และคนเมืองที่ใช้อินเทอร์เน็ต
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
ตัวอย่างเหตุการณ์ตอกย้ำอุดมการณ์ประชาธิปัตย์
ธันวาคม 2533 –ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
ในปี 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างความสนใจต่อพรรคอีกครั้ง หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์อยู่ในยุคที่ไม่มีบทบาทางการเมืองมากนัก โดยเป็นเพียง 1 ในพรรคร่วมรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เท่านั้น แต่ภายหลังเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ไม่นาน
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)