“ธนินท์ เจียรวนนท์” อิทธิพล “ทฤษฎี 2 สูง”
เคยอยู่เบื้องหลัง สนับสนุนทุกพรรคการเมือง แต่มาถึงรัฐบาลชุด “สมัคร สุนทรเวช” “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานกลุ่มซีพี ผู้มีทรัพย์สินร่ำรวยติดอันดับเศรษฐีโลก ต้องออกมาขับเคลื่อน แนวคิด “ทฤษฎี 2 สูง” คือ การบริหารประเทศโดยปล่อยให้สินค้าราคาสูง และเงินเดือนสูงตาม กลายเป็นแนวคิดโดดเด่นที่ถูกจับตามอง ที่สำคัญบางส่วนในข้อเสนอของ “ธนินท์” สามารถเบรกนโยบายบ้างข้อ และขณะเดียวกันบางส่วนก็กลายมาเป็นพิมพ์เขียวของนโยบายรัฐบาลชุด “สมัคร สุนทรเวช”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
“มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” รัฐมนตรี Numeric Marketing Strategy
“มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลอย่างแนบเนียน เพราะความสามารถชิงพื้นที่สื่อได้มากที่สุดตลอด 4 เดือนของรัฐบาลนอมินี “สมัคร สุนทรเวช” เมื่อเทียบกับรัฐมนตรีกระทรวงอื่นๆ หากเปรียบเทียบกับเทคนิคทางการตลาดแล้ว ”มิ่งขวัญ” ได้มาพร้อมกับกลยุทธ์ว่าด้วย Numeric Marketing Strategy โดยเฉพาะกรณีล่าสุดการปั่นราคา ”ข้าว” ที่มาจากการศึกษาความต้องการพื้นฐานของผู้บริโภคอย่างดี โดยเฉพาะประชาชนส่วนใหญ่ ที่ยังต้องต่อสู้ดิ้นรน หาเช้ากินค่ำ หรือที่นักการตลาดเรียกเซ็กเมนต์นี้ว่ากลุ่ม Mass
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
เปิดโปงขบวนการ Republic of Thailand
ขบวนการนี้ ไม่ใช่เรื่องเพิ่งเกิดขึ้น แต่เรื่องราวนี้ได้ถูกเปิดเผยมาพักใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะๆ
บทความของ “ชัยอนันต์ สมุทวณิช” คอลัมน์ชีวิตที่เลือกได้ ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้สะท้อนถึงขบวนการ Republic of Thailand ไว้อย่างน่าสนใจ
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
พันธมิตรมาแล้ว !
ภาพมวลชนคับคั่งเต็มถนนราชดำเนิน ยาวจากสนามหลวงถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในการชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์เมื่อวันอาทิตย์ 25 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา เป็นเหมือนการประกาศที่ว่า "พันธมิตรกลับมาแล้ว !" ที่ชัดเจนและยิ่งใหญ่กว่าที่หลายฝ่ายคาดกันไว้
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
"พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" เสาหลักการเมืองไทย
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ผู้ซึ่งเคยนำนายทหารเข้าเฝ้าในหลวงหลังเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่แตะต้องไม่ได้ และอย่าบังอาจท้าทาย ซึ่งรสชาตินี้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “จักรภพ เพ็ญแข” ต่างได้ลิ้มรสมาแล้วด้วยตัวเอง และแม้เวลาจะผ่านไป เปลี่ยนไปแล้วรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่า แต่อำนาจและบารมีของ “ป๋า” ก็ยังคงเหลือล้น
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
บรรหาร ศิลปอาชา ปลาไหล Never Die
บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ถือเป็นนักการเมืองรุ่นใหญ่ลายครามที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในแวดวงการเมืองไทย เขาเล่นการเมืองมาครึ่งค่อนชีวิต ผ่านร้อนผ่านหนาวบนเส้นการเมืองมาอย่างโชกโชก จนได้รับฉายาว่าเป็น “มังกรการเมือง” หรือกระทั่งเป็น “หลงจู๊การเมือง”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
จุดเปลี่ยนประเทศไทย Republic or Kingdom of Thailand
คำประกาศของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ต่อการชุมนุมของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ว่านี่คือสงครามครั้งสุดท้ายแล้ว นับเป็นการประกาศอย่างมีนัยสำคัญ
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
“ทักษิณ ชินวัตร” Brand Power
แม้จะไม่มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แม้แต่ตำแหน่งเดียว แถมยังเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีถูกรัฐประหาร จนต้องระเห็จออกนอกประเทศพักใหญ่ และมีคดีความที่ต้องตามแก้อีกมากมาย แต่ใครก็รู้ว่า “ทักษิณ ชินวัตร” คือ The man behind the science ผู้ทรงอิทธิพลตัวจริงของรัฐบาลชุดนี้ ยังคงเป็นแบรนด์อันทรงพลัง ที่มีผลต่อจุดเปลี่ยนทางการเมือง ชนิดที่ต้องจับตา
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
“พลโทประยุทธ์ จันทร์โอชา” แม่ทัพฯ “หัวใจสีม่วง”
เครื่องหมายเชิดชูเกียรติเกียรติทำด้วยโลหะประดับหน้าอก เป็นรูปหัวใจสีม่วงประดับพระนามาภิไธยย่อ สก. หมายถึง ผู้บริสุทธิ์ ซื่อสัตย์สุจริต และจริงใจ เพราะผู้ที่ใกล้ตาย หัวใจจะกลายจากสีแดงเป็นสีม่วง ในห้วงเวลาที่คนใกล้ตาย ย่อมไม่พูดปด หรือปิดบังสิ่งใด ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ ทรงพระราชทานหัวใจสีม่วงนี้แก่กำลังพล ด้วยมุ่งหวังให้ทหารเสือทุกนายมีความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ลีลาสมดุล บนจังหวะ “ปฏิวัติ” ของทหารเสือราชินี
“ผมก็เป็นอย่างนี้ ใจอ่อนโมโหร้าย เป็นปุถุชนธรรมดาที่ย่อมจะลงไปที่ต่ำได้ ผมไม่ได้วิเศษวิโสอะไร และ คงไม่มี ผบ.ทบ.คนใดเลิศเลอขนาดนั้น ผมกล้าบอกว่าหากคุณเป็นเพื่อนผม คบผมได้ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมะธรรมโม เป็นคนที่ไม่แปดเปื้อนอบายมุข เป็นคนที่เที่ยวกลางคืนก็คบผมได้ ผมก็มีผสมกัน ไม่ดีสุด ไม่เลวสุด”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)