“พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” The Master Mind
เปรมาธิปไตย …อำมาตยาธิปไตย…ระบอบเปรม...ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ... Super power …ยังมีคำจัดความใน “อำนาจ” ของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อีกมากมายที่อธิบายไปในทำนองเดียวกันว่า มีลักษณะ “ครอบงำ” “ชี้นำ” “รวมศูนย์ และ “บงการ” ลักษณะการเมืองไทยในตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเมืองช่วงหลัง “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่จบลงด้วยความสะบักสบอมของ “บ้านสี่เสาเทเวศร์”
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
"พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" เสาหลักการเมืองไทย
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ผู้ซึ่งเคยนำนายทหารเข้าเฝ้าในหลวงหลังเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่แตะต้องไม่ได้ และอย่าบังอาจท้าทาย ซึ่งรสชาตินี้ “ทักษิณ ชินวัตร” และ “จักรภพ เพ็ญแข” ต่างได้ลิ้มรสมาแล้วด้วยตัวเอง และแม้เวลาจะผ่านไป เปลี่ยนไปแล้วรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่า แต่อำนาจและบารมีของ “ป๋า” ก็ยังคงเหลือล้น
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ บารมี “ป๋า”
ด้วยความที่ คมช. และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ชุดปัจจุบัน มีบุคลากรหลายท่านที่ล้วนเคยทำงานให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มาก่อนในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้พลเอกเปรมยังคงมีบทบาท และเป็นตัวแปรที่สำคัญทางการเมืองสูงมาก จนถึงกับกระแสโจมตีการเมืองหลายส่วนส่วนพุ่งไปที่พลเอกเปรม โดยมีการชุมนุมโจมตีพลเอกเปรมอย่างเปิดเผยและหนักหน่วง
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
“ป๋าเปรม”ความพอเพียง ไม่เคยล้าสมัย
ปาฐกถาพิเศษของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งกล่าวขึ้นในงานสัมมนา “เศรษฐกิจพอเพียง สู่สังคมอยู่เย็น เป็นสุข” ของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมานั้น มีสาระสำคัญถึงแก่นแท้ของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใช้ อย่างพึงรับรู้ว่า แนวคิดพอเพียงนั้น ไม่เคยล้าสมัยเลย แม้จะผ่านมาหลายสิบปีแล้วก็ตาม
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2549)
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ “ป๋า” ตลอดกาลแห่งการเมืองไทย
ตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทย บุคคลสำคัญในช่วง พ.ศ. 2523 - 2531 ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยยาวนานถึง 8 ปีโดยไม่มีพรรคการเมืองอยู่ในมือ ไม่ได้ขึ้นมาด้วยการรัฐประหาร ไม่ได้ใช้ระบอบเผด็จการ และตลอดแปดปีนั้นไม่ว่าผลการเลือกตั้ง ส.ส. จะจบด้วยชัยชนะของพรรคใด สุดท้ายหัวหน้าพรรคจะไปเชิญบุคคลผู้นี้มาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่เสมอ
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)