"บรรหาร ศิลปอาชา" The Last Scene Power
ระหว่างที่ผ้าสีดำผืนใหญ่คลุมปิดป้ายชื่อพรรคชาติไทย พร้อมกับเสียงสั่นเครือ ตามมาด้วยเสียงร้องไห้ของ “บรรหาร ศิลปอาชา” และสมาชิกพรรคอีกหลายคน เมื่อบ่ายวันที่ 2 ธันวาคม 2551 ผู้เฒ่าแห่งเมืองสุพรรณบุรีในวัย 76 ปีคนนี้กำลังหัวใจสลาย หลังจากถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคชาติไทย ที่ก่อตั้งมานานถึง 34 ปี จนทำให้ “บรรหาร” กับลูกชาย และลูกสาว พร้อมคีย์แมนที่ขับเคลื่อนพรรครวม 19 คน ต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี แม้จะยังเหลืออิทธิพลอยู่บ้างในการจัดตั้งรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” แต่เสียงร่ำไห้ในวันนั้นคือสัญญาณว่าถึงเวลาแล้วที่ต้อง “นับถอยหลัง” สำหรับการเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่เคยเป็น “ตัวแปร” ทางการเมืองของ “บรรหาร ศิลปอาชา”
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2552)
บรรหาร ศิลปอาชา ปลาไหล Never Die
บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ถือเป็นนักการเมืองรุ่นใหญ่ลายครามที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในแวดวงการเมืองไทย เขาเล่นการเมืองมาครึ่งค่อนชีวิต ผ่านร้อนผ่านหนาวบนเส้นการเมืองมาอย่างโชกโชก จนได้รับฉายาว่าเป็น “มังกรการเมือง” หรือกระทั่งเป็น “หลงจู๊การเมือง”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
บรรหาร ศิลปอาชา ตัวแปรเสถียรภาพรัฐบาล
“บรรหาร ศิลปอาชา” นักการเมืองรุ่นลายครามวัย 75 ปี ที่ไม่อ่อนแรงไปตามวัยที่มากขึ้น แต่กลับยิ่งเพิ่มดีกรีเข้มข้น และพร้อมแสดงความมี “อิทธิพล” ทางการเมืองให้กับพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยยุทธศาสตร์การใช้สถานะความเป็นแบรนด์เบอร์ 3 ในตลาดให้เป็นประโยชน์ ที่สามารถร่วมกับพรรคใหญ่เบอร์ 1 ชิงส่วนแบ่งที่นั่ง ส.ส. ในสภาผู้แทนราษฎร จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
พรรคชาติไทยจาก “รถอีแต๋น” มาสู่ “รถญี่ปุ่น”
ถ้าแบรนด์ของพรรคไทยรักไทย และประชาธิปัตย์เปรียบเหมือนรถยนต์ขายดี เหมือนเช่นรถยี่ห้อโตโยต้า และฮอนด้า พรรคชาติไทยยุคใหม่ในวันนี้ ก็อาจเป็นเพียงรถยี่ห้อมาสด้า ซึ่งแม้ไม่ใช่รถหวือหวา ขายดี หากจะอาศัยจังหวะเวลาช่วงนี้ขยายตลาด เผื่อคนเบื่อรถโตโยต้า และฮอนด้า จะหันมานิยมขับเคลื่อนของชาติไทย
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
บรรหาร ศิลปอาชา ตัวแปร ทรงอิทธิพล
ในการแข่งขันไม่ว่าธุรกิจหรือการเมือง ส่วนใหญ่ผู้คนมักจะมุ่งความสนใจไปที่คู่ขับเคี่ยวอันดับหนึ่งและสอง และหลายครั้งที่อันดับสามจะกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลขึ้นมาได้ในฐานะที่เป็น “ตัวแปร” ในสภาพที่อาจเรียกว่า “กึ่งแข่งขัน กึ่งร่วมมือ” (Co-opetitive) ได้กับทั้งคู่สองอันดับแรก
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)