เอสเต ลอเดอร์ ลบภาพ “ป้าไฮโซ”
ภาพของพนักงานตัวแทนความงาน หรือ BA (Beauty Assistant) สวมเสื้อสีฟ้าอ่อน ดูผ่อนคลายและแตกต่างไปจากชุดสีกรมท่าที่ดูเคร่งขรึม ใกล้ๆ กันเป็นดิสเพลย์ที่ใช้นางแบบสาววัย 16 ตกแต่งเคาน์เตอร์ขายในห้างสรรพสินค้า สะท้อนถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดของ “เอสเต ลอเดอร์” ให้ดูเป็นมิตรและดูเป็นสาวรุ่นเล็กมากขึ้นกว่าเดิม
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
ว่าที่ขุนพล ลอรีอัล
ขับเคี่ยวกันมันส์หยด สำหรับการแข่งขัน “Loreal Brandstorm 2007” เวทีแห่งการค้นหานักการตลาดเลือดใหม่ของลอรีอัล ที่จัดขึ้นเป็นธรรมเนียมทั่วโลก ด้วยคอนเซ็ปต์ “Turn ideas into products” ปีนี้นับเป็นปีที่ 4 ของประเทศไทยที่เข้าร่วม (แต่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อปี 2536) โดยได้ตัวแทนจากทีม Avivo นักศึกษา จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปชิงแชมป์โลกที่ปารีส หลังฝ่าฟันชนะคู่แข่งอีก 7 ทีม ด้วยความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของความจริง
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
สวยรับตรุษจีน
เพื่อตอกย้ำ Brand Philosophy ของ “โอเรียนทอล พริ้นเซส” ที่ว่า “อารยธรรมความแห่งดินแดนตะวันออก” จึงออก “Colour of Asia” Limited Edition ของ Benefitial พร้อมเทเม็ดเงินสนับสนุนเต็มที่กว่า 40 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 เดือน เพื่อโกยยอดขาย 52 ล้านบาท ด้วยแพ็กเกจจิ้งสีแดงและลวดลายดอกไม้สีทอง บ่งบอกอย่างชัดเจนถึงความเป็นตะวันออก โดยเฉพาะกลิ่นอายของจีนที่ปรากฏอย่างเด่นชัด
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
อัมพรพิมพ์ วัชราภัย เจ้าแม่เครื่องสำอาง
อัมพรพิมพ์ วัชราภัย หรือ “คุณอี่” ของลูกน้อง เธอเป็นสตรีผู้กว้างขวางในแวดวงสังคม เป็นเจ้าของบริษัท เอลก้า (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องสำอางชื่อดังจากเครือเอสเต้ ลอเดอร์ ที่มีคลังความงามอยู่หลายสิบแบรนด์ จากสายสัมพันธ์อันดีกับบริษัทผู้นำด้านความงามระดับโลก เป็นแต้มต่อที่เธอมีเหนือคู่แข่งบริษัทนำเข้าอื่นๆ พอควร แม้จะต้องต่อกรกับเจ้าของสินค้าโดยตรงอย่างเครือลอรีอัล และค่ายชิเซโด้ แต่เธอก็ประหมัดได้อย่างคู่คี่ สูสียิ่งนัก ด้วยตัวเลขผลประกอบการประมาณปีละ 1,800 ล้านบาท
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
ฟื้นแบรนด์ “คิวท์เพรส”
จากความเชื่อว่า ธุรกิจขายตรงไม่จำเป็นต้องทำโฆษณา แต่กาลผ่านไปได้พิสูจน์ว่าภาพยนตร์โฆษณาสำคัญยิ่งต่อการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ขายตรง เครื่องสำอางขายตรงอย่าง คิวท์เพรส จึงต้องปรับตัวเเริ่มจากการรีเฟรชแบรนด์ที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปี 2548 โดยมีพระเอกดัง ปอ-ทฤษฎี สหวงษ์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ จากนั้นส่ง TVC อย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส โดยมีกลยุทธ์หลักคือการ หยิบเอา Hot Product อาทิ แป้งพัฟ มาสคาร่า ครีมกันแดด มาโปรโมต
(Positioning Magazine ตุลาคม 2549)
Star Wax
กระแสของ Metrosexual ในญี่ปุ่นมีส่วนผลักดันให้สงครามตลาดผลิตภัณฑ์ Wax แต่งผมของ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ระหว่าง Shiseido กับ Mandom นั้นยืดเยื้อมานาน โดยเฉพาะ Episode ล่าสุดที่น่าจับตาคือยุทธวิธีการโฆษณาอย่างไรให้โดนใจชายญี่ปุ่น
(Positioning Magazine มิถุนายน 2549)
ขาวด้วยหน้ากาก
แม้จะเป็นตลาดที่ยังมีสัดส่วนน้อยเพียง 4-5% ของตลาดบำรุงผิวหน้ามูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท แต่ ผลิตภัณฑ์ “มาสก์” บำรุงผิวหน้า ที่มีผู้เล่นในตลาดระดับแมสน้อยรายกำลังพยายามสร้างการรับรู้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะล่าสุด กับ OLAY White Radiance Mask น้องใหม่ในตระกูล Whitening ของ OLAY
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
MISSHA ดอกไม้แดงจากเกาหลี
MISSHA (มิสชา) เครื่องสำอางวัย 2 ขวบเศษจากเกาหลีนำเข้าและจัดจำหน่ายโดย บริษัท ไมตี้แอนด์แมกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของ In Yeop Kim ชาวเกาหลี หลังจากเขาศึกษาลู่ทางเครื่องสำอางในประเทศไทยมานานกว่า 1 ปีครึ่ง พบว่าตลาดเครื่องสำอางในเมืองไทยมีมูลค่าสูงถึง 50,000-60,000 ล้านบาท
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
SKIN FOOD อาหารผิวจากเกาหลี
ถือเป็น rising brand ของบริษัท Manufacturer I Pires ซึ่งเป็น 1 ใน 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเกาหลี (เช่นเดียวกับ Amor Pacific) SKIN FOOD ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของ Manufacturer I Pires ดูมีสีสันและสดใสมากขึ้นนับจากวิกฤตของเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2541 ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อสถานะการเงินของบริษัทฯ พอสมควร
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)
เครื่องสำอางเกาหลี...ทัพสินค้าที่ต้องจับตา
ทัพเครื่องสำอางเกาหลีบุกตะลุยตลาดเมืองไทยในปี 2547-2549 นี้อย่างน้อยๆ ไม่ต่ำกว่า 5 แบรนด์ คือ ETUDE, LANEIGE, MISSHA, SKIN FOOD และ THE FACE SHOP แต่ละแบรนด์ต่างมีแนวคิดและกลยุทธ์การตลาดที่บ้างคล้ายคลึงบ้างแตกต่าง แต่สิ่งหนึ่งที่พบเห็นอย่างน้อยๆ ใน 4 แบรนด์เครื่องสำอางเกาหลี (ยกเว้น ETUDE) คือ การเปิดสาขา stand alone shop ซึ่งเป็นเทรนด์นิยมในเกาหลี
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2549)