ปรากฏการณ์ Cross Segment ของนม
เราเห็นนมพาสเจอไรซ์ใส่ช็อกโลแลต สตรอเบอร์รี่ เราเห็นนมยูเอชทีใส่งาดำ ฯลฯ ซึ่งเป็นการนำจุดเด่นของเซ็กเมนต์อื่นมาใส่ให้กับผลิตภัณฑ์ ของตัวเอง จะเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่าตลาดนมมีความเหลื่อมล้ำกันระหว่างนมวัวและนมถั่วเหลือง
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
โอกาสของนมถั่วเหลือง
ประสิทธิ์จากซี.พี.เมจิ บอกว่า นมถั่วเหลืองไม่ถูกควบคุมราคา จึงมี Gross Profit เยอะ แต่เพื่อให้คุณภาพใกล้เคียงกับนมวัวมากที่สุด ก็เติมนั่นเติมนี่เข้าไปโดยเฉพาะงาดำ มีต้นทุนถูกกว่านมวัวมาก แต่จำหน่ายในราคาที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับนมวัว
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
F&N ขอเป็นแค่… นมกล่องแรกและกล่องสุดท้ายของวัน
F&N Magnolia Good Morning & Good Night ในรูปแบบของนมยูเอชที วาง Positioning ว่าเป็นนมที่มี Specific Benefit สำหรับดื่มกลางคืนก่อนนอนและตอนเช้า เพื่อช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับยากในตอนกลางคืนและการงัวเงียไม่สดชื่นในตอนเช้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นหญิงชายวัยทำงาน
(Positioning Magazine 21 ธันวาคม 2553)
(ตลาด) นม...แตกแล้วโตจริงหรือ
Just Milk ดูจะไม่พอที่จะสร้างการเติบโตให้ตลาดนม บรรดาผู้ผลิตนมจึงพากันเพิ่มทั้งออปชั่นและฟังก์ชันให้นมในไลน์การผลิตที่ตัวเองแข็งแกร่ง CP Meji กับพาสเจอไรซ์หลากสีสัน และ Foremost กับฟังก์ชันที่เหมาะกับช่วงวัย ขณะที่ผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง F&N ก็ไม่วายที่ขอร่วมวงตลาดแบบยอมเหนื่อยด้วยนมเพื่อประโยชน์เฉพาะทาง
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
นมถั่วเหลือง ชา นมเปรี้ยว ขวัญใจใหม่ของ Blue Collar
เซ็กเมนต์ผู้ใช้แรงงาน หรือ Blue Collar นอกจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและเข้มแข็งของเครื่องดื่มชูกำลัง จนตลาดนี้แข่งขันกันอย่างคึกคักแล้ว อีกเทรนด์หนึ่งที่น่าสนใจ คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ที่กลุ่ม Blue Collar กำลังเลือกดื่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่มาแรงอย่างนมถั่วเหลือง ชา และนมเปรี้ยว
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
กระทิงแดง…ขอแรงด้วยน้ำเต้าหู้
”กระทิงแดง” เพิ่มพอร์ตธุรกิจด้วยเครื่องดื่มสุขภาพ ภายใต้แบรนด์ D in 1 ลงตลาด แม้ทุนหนา แต่ก็มาทีหลังโอวัลติน เนเจอร์ ซีเลคท์ ซอยย์” จึงต้องทุ่มเต็มที่ ขณะที่คู่แข่งทางอ้อมอย่างนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มก็มีอยู่เพียบในตลาด
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
ไขปริศนา Brand Message ทำไมต้อง 14 วัน
เพราะความบังเอิญ หรือเป็นเพราะ Consumer Insight ของแต่ละแบรนด์ที่ได้จัดทำข้อมูล แต่ได้คำตอบเดียวกัน จึงมีแบรนด์สินค้าชั้นนำหลากหลายประเภท หันมาท้าพิสูจน์กับผู้บริโภค พร้อมกำหนดระยะเวลาเห็นผลเพียงแค่ 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์เท่านั้น จนกลายเป็นปริศนาชวนฉงนให้ค้นหาคำตอบว่าทำไมต้อง 14 วัน
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
น้ำเต้าหู้ กับโอวัลติน ไปด้วยกันได้
เนจอร์ซีเล็คท์ ซอยย์ โอวัลติน ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของโอวัลตินในการจับตลาดกลุ่มครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นความกล้าที่จะแตกไลน์สินค้าไปยังตลาดนมถั่วเหลืองที่ไม่คุ้นเคย และมีการแข่งขันอย่างหนักระหว่างผู้เล่นสำคัญ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
Functional Milk ทิศทางรุ่งของ F&N
อยู่ในเมืองไทยมาเพียง 3 ปี F&N ก็โตวันโตคืน โดยเฉพาะ “ตราหมีโกลด์” ซึ่งซื้อมาจากเนสท์เล่ และได้รับการประคบประหงมขณะที่แบรนด์อื่นๆ ของ F&N ก็เติบโตดีแม้ไม่ได้เป็นผู้นำในตลาดอย่างตราหมีโกลด์ก็ตาม
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
Branding แล้วต้องเล่น Bonding
ไอศกรีมแบรนด์ ”13 เธอทีน” ของเนสท์เล่เมื่อปลายปี 2009 ได้เจาะลึกกลุ่มเป้าหมายจนรู้จักตัวตนตามสูตรการตลาดแบบเป๊ะ ๆ จนสร้างแบรนด์ (Branding) สำเร็จ แต่แค่สร้างแบรนด์อย่างเดียวในยุคนี้ไม่พอ แต่ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายผูกพัน (Bonding) ด้วยกลยุทธ์ทุกรูปแบบ กลายเป็นไอศกรีมที่ยังรอด ไม่เหมือนตัวอื่นๆ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)