แม็กนั่มคาเฟ่ เปิดร้านสร้างแบรนด์
การเปิดแม็กนั่ม คาเฟ่ ไม่ได้เน้นที่การขายภายในร้าน แต่ตั้งใจสร้างการรับรู้ถึงวิธีการรับประทานไอศกรีมแม็กนั่มแบบใหม่ ทำการตลาดผ่าน Product, Itself ที่กลายเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดให้ลูกค้า ผ่านประสบการณ์แล้วขยายการรับรู้ด้วยโซเชี่ยลมีเดีย โดย ที่ถูกถ่ายรูปและแชร์มากที่สุด คือ เมนู My Magnum
(Positioning Magazine 15 กุมภาพันธ์ 2556)
ทำไมต้องมี แม็กนั่ม คาเฟ่
การเปิดตัวแม็กนั่ม ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีสำหรับเส้นทางการรีลอนช์ “แม็กนั่ม” ในไทย ที่เริ่มขึ้นหลังจากอินโดนีเซียถึง 2 ปี รวมถึงการขยายผลไปสู่การเปิดร้าน “แม็กนั่ม คาเฟ่” ในแกรนด์อินโดนีเซีย ช้อปปิ้งมอลล์ ในเมืองจาการ์ตา อินโดนีเซีย เพื่อต้องสร้างประสบการณ์กับลูกค้าให้รับรู้แบรนด์ได้ตลอดเวลา
(Positioning Magazine 22 กันยายน 2555)
ถอดสูตรการตลาด “แม็กนั่ม”ปั้นอย่างไรให้เป็น “กระแส”
ถอดสูตรการตลาดไอศกรีม “แม็กนั่ม” เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาการ “ รีลอนช์” แบรนด์ไอศครีมที่เคยโด่งดังในอดีต ให้กลายเป็นปรากฏการณ์แม็กนั่มฟีเวอร์ ยุคนี้จะขายสินค้าสู่ตลาดแมสได้ กระแสต้องแรง เหมือนอย่างที่ยูนิลีเวอร์เลือกใช้ในการ “รีลอนช์” ไอศกรีมแม็กนั่มออกสู่ตลาดอีกครั้งในรอบ 20 ปี จนกลายเป็นกระแสแม็กนั่มฟีเวอร์
(Positioning Magazine 22 กันยายน 2555)
ดัชมิลล์ สมูทตี้ เต้นพริ้ว จนได้เรื่อง
กลายเป็นกระแสที่ผู้ชมโฆษณาต้องหัวเราะดังๆ กับโฆษณา “ดัชมิลล์สมูทตี้” ที่โชว์ความเป็นโยเกิร์ตชนิดดื่ม ผสมน้ำผลไม้ ผ่านนักมวย 2 คน ที่โดนความนุ่มนวลของสมูทตี้เข้าไปจนกลายเป็นขาแด๊นซ์ Cover เพลงเกาหลีอยู่บนสังเวียนมวยเป็นการจับเอาคู่ความแตกต่างของนักมวยกับนักเต้นมาอยู่ในภาพเดียวกัน
(Positioning Magazine 15 สิงหาคม 2555)
Self Serve Yogurt
Self Serve Yogurt หรือร้านโยเกิร์ตแบบบริการด้วยตัวเอง เริ่มเป็นที่นิยมในอเมริกามากขึ้น โดยจะเห็นได้จากแบรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ จากความใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น แม้กระทั่ง Red Mango ก็หันมาเปิดสาขา Self Serve
(Positioning Magazine 6 กรกฎาคม 2555)
โฟร์โมสต์ปรับโลโก้ แบบมี “story telling”
เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ของโฟร์โมสต์ดูสดใสโดนใจคนรุ่นใหม่ และแตกต่างจากคู่แข่ง จึงใช้งบประมาณ 400 ล้านบาท รีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 2 ปี ผู้บริหารโฟร์โมสต์บอกว่า การรีเฟรชแบรนด์ได้ผลที่สุดคือการปรับโลโก้กับแพ็กเกจจิ้ง
(Positioning Magazine 2 กรกฎาคม 2555)
ไม่ชอบอัดลม ดื่มนมกันเถอะ
“จากผลสำรวจตลาดไทย ผู้บริโภคไม่ได้มองหาเครื่องดื่มที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างนมเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการรสชาติที่อร่อยและสดชื่นของน้ำผลไม้ด้วย” เป็นอีกเหตุผลสำคัญว่าทำไมจึงต้องเป็นนมผสมน้ำผลไม้ “นิวทริบู๊สท์”
(Positioning Magazine 23 เมษายน 2555)
“แลคตาซอย 5 บาท” บอกจุดยืน “อิ่ม” และ “ถูก”
แลคตาซอยทำให้แบรนด์เป็นสินค้าที่ทุกคนจำและนึกถึงเสมอหากจะหาอะไรสักอย่างให้กินพออิ่มในราคา 5 บาท และที่ขาดไม่ได้คือเสียงเพลงกล่อมหู “แลคตาซอย 5 บาท” ที่ร้องกันได้ติดปากและจำได้ตั้งแต่เด็กเล็กถึงวัยชรา ด้วยกลยุทธ์ "ดื่มง่าย ขายคล่อง ร้องเต้นสนุกสนาน"
(Positioning Magazine 23 เมษายน 2555)
แมคโดนัลด์กิ๊กกับโฟร์โมสต์ ชวนลูกค้ากินนม
ใครว่ากินแมคโดนัลด์แล้ว ต้องคู่กับน้ำอัดลมเสมอไป เพราะเวลานี้ แมคโดนัลด์จับคู่กับโฟร์โมสต์วางขายนมในร้าน แมคโดนัลด์หวังว่า การเพิ่มเมนูเครื่องดื่ม จะช่วยเพิ่ม Transaction ลูกค้าเข้าร้านแมคโดนัลด์ถี่ขึ้น ซึ่งปัจจุบันลูกค้าใช้บริการในร้านเฉลี่ย 1.3 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อคน
(Positioning Magazine 22 มีนาคม 2555)
ซีพี-เมจิ ขอติวด้วยคน
หลังจากเห็นความสำเร็จของ แบรนด์ เปปทีน และมาม่า ที่ใช้กิจกรรมติวสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเวทีเข้าหากลุ่มเป้าหมาย ซีพี-เมจิ จึงหาช่องงว่างของตัวเองแล้วทำโครงการ “เมจิ เทนไซ ติวน้องสู่เส้นชัย เข้าม.1” จับกลุ่มเป้าหมายประมาณ ป.5-ป.6 ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายตรงของนมพาสเจอร์ไรซ์เช่นกัน
(Positioning Magazine 20 กุมภาพันธ์ 2555)