HP Sleekbook เพราะลูกค้าชอบอะไรที่อยู่ตรงกลาง
เป้าหมายของ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด หรือ HP อยู่ที่การมีสินค้าตอบสนองลูกค้าให้ครบทุกความต้องการ ทำให้ล่าสุดเอชพีต้องแบ่งเซ็กเมนต์ของคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เซ็กเมนต์ เมื่อเห็นว่าลูกค้ามีความต้องการที่อยู่ระหว่างกลางระหว่างสินค้าเดิมที่เอชพีมีอยู่ โดยให้ชื่อไลน์อัพของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ว่า Sleekbook
(Positioning Magazine 15 กุมภาพันธ์ 2556)
HP ออล-อิน-วัน IT ยุคนี้ต้อง “สวยเสร็จพร้อมใช้”
เอชพีรู้ดีว่าถ้าอยากจะเติบโตและชิงส่วนแบ่งจากตลาดคอมพิวเตอร์ที่มีอัตราเติบโตเพียง 4-5% ต่อปีนั้น อย่างน้อยบริษัทจะต้องมีการพัฒนาไลน์ของสินค้าอยู่ตลอดเวลา และที่ลืมไม่ได้ก็คือลูกค้าทุกวันนี้ไม่ได้เลือกสินค้าแค่ราคาและการใช้งาน แต่ดีไซน์ ไลฟ์สไตล์ และความทันสมัย
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
เอชพีต้องมีการ์ด
เอชพี จึงเดิมเกมการตลาดรูปแบบใหม่ โดยนำกลยุทธ์ยอดฮิตอย่าง CRM หรือ Customer Relation Management เดินเกมการตลาดเพื่อมัดใจลูกค้า "ระดับบน” ที่ซื้อโน้ตบุ๊กราคาสองหมื่นห้าขึ้นไป จะได้รับบัตรสมาชิก เพื่อรับสิทธิพิเศษรูปแบบต่างๆ ที่นำมาจากไลฟ์สไตล์ลูกค้ามาเป็นหัวใจสำคัญ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2552)
เจาะผู้หญิงไอทีต้องมีดีไซน์
เสียงหัวเราะฮาลั่นที่มาพร้อมอาการพยักหน้าหงึกๆ ของบรรดานักข่าวชาย หลังจากที่ได้ฟังประเสริฐ จรูญไพศาล ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์ บริษัท ฮิวเลตต์ – แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด ให้นิยามกลุ่มเป้าหมายใหม่ในการทำตลาดว่า “ผู้หญิงเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก” น่าจะเป็นเครื่องการันตีความท้าทายในการทำตลาดโน้ตบุ๊กรุ่นล่าสุดของเอชพีได้เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
ซื้อกาแฟ ได้พรินเตอร์
ใครๆ ก็ขายพรินเตอร์ตามร้านค้าได้ แต่ถ้ารุกตลาดด้วยการขยายช่องทางใหม่เข้าถึงลูกค้าตามร้านกาแฟ นาทีนี้มีแต่เอชพีเท่านั้นที่จับมือ “บ้านใร่กาแฟ” เป็นพันธมิตร
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
ยังไงก็ไม่ทิ้ง
แม้ว่าความเคลื่อนไหวล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Handheld ของเอชพี จะเป็นการเปิดตัวพ็อกเก็ตพีซีโฟนรุ่นล่าสุด iPaq 612 Business Navigator ซึ่งเป็นสินค้าที่เอชพีต้องส่งเข้าไปแย่งชิงส่วนแบ่งกับตลาดโทรศัพท์มือถือ แต่เอชพีก็ยังมีฐานกลุ่มลูกค้าคอร์ปอเรทที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของตัวเองอยู่อีกขาหนึ่งที่ทิ้งไม่ได้ นั่นก็คือตลาด Pen Base หรือพ็อกเก็ตพีซี และพีดีเอ ที่ไม่มีฟังก์ชันโทรศัพท์มือถือในตัวไว้อย่างเหนียวแน่น
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2551)
โน้ตบุ๊กออกลาย
โน้ตบุ๊กยุคนี้แข่งกันแค่สเปกและราคาอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องประชันโฉมด้วยสีสันและวาดลวดลายฉูดฉาดจี๊ดจ๊าดดึงดูดคนให้เหลียวหลังกลับมามอง เพราะเป็นหนึ่งใน "แฟชั่นไฮเทค” บ่งบอกตัวตนว่า "คุณคือใคร"
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
ลูกค้าเจน x และพิมพ์ผ่านเว็บ 2.0 ของ HP
แม้ปีที่แล้ว HP มีรายได้รวมทั่วโลกเพิ่มขึ้น 14% แต่สำหรับสรรพัชญ โสภณ กรรมการผู้จัดการของ HP ไทยยอมรับว่า “ไม่มีอะไรแย่กว่าปีที่ผ่านมาอีกแล้ว ในเมืองไทยเราเติบโต 20% ก็จริง แต่ก็ต่ำกว่าเป้าหมาย” ดังนั้นแนวทางธุรกิจปี 2551 ของ HP จึงต้องลุยสุดตัว ทั้งโซลูชั่นส์, เพอร์ซันแนล ซิสเต็มส์ ภาพการพิมพ์ และคอนซูเมอร์ หลังจากที่ HP บริษัทแม่เน้นพัฒนานวัตกรรมและควบรวมซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา
(Positioning Magazine มีนาคม 2551)
ทำงานพิมพ์ให้เป็นเรื่องสนุก
เมื่อ 48% ของจำนวนผู้สั่งพิมพ์งานผ่านคอมพิวเตอร์ เป็นการพิมพ์งานผ่านอินเทอร์เน็ต ตัวเลขนี้จึงกลายมาเป็นโจทย์ที่ทำให้กลุ่ม Imaging & Printing Group หรือไอพีจีของเอชพี สนุกสนานกับการทำตลาดในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดถึงกับมีแคมเปญภายใต้คอนเซ็ตป์ Print 2.0 เพื่อล้อไปกับความนิยมของเว็บ 2.0 ที่กระจายไปทั่วโลกใบนี้ไปแล้ว
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
จำกัดเฉพาะจำนวน แต่ดีไซน์ไม่จำกัด
นับเป็นครั้งแรกๆ ของเอชพีในการทำตลาดโน้ตบุ๊ก ด้วยการชูเรื่องของ “ดีไซน์” เพื่อตอกย้ำแนวคิด Fashtronica หรือการผสมดีไซน์ความเป็นแฟชั่นลงไปในการออกแบบสินค้าไอที
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)