มิสเตอร์โดนัทต้องสวมกิโมโน
การมาเยือนของคริสปี้ ครีม ได้ส่งผลให้ตลาดโดนัทเติบโตกว่า 20% ทำให้แบรนด์โดนัทต่างพากันปรับตัวสร้าง Positioning ที่ชัดเจนและแตกต่างจากคู่แข่ง เช่นเดียวกับมิสเตอร์โดนัท อาศัยฤกษ์รีเฟรชแบรนด์ในโอกาสครบรอบ 33 ปีในไทย เพื่อจับกลุ่มเป้าหมายอายุ 15-25 ปี ด้วยภาพลักษณ์สไตล์ญี่ปุ่น
( 10 พฤษภาคม 2554)
Sweet War in Valentine
เทศกาลวาเลนไทน์ครั้งแรกของ คริสปี้ ครีม ในประเทศไทย มีแคมเปญชื่อว่า Be my Valentine Doughnut ออกมาตอบสนองลูกค้าโดนัท และคนที่สนใจสินค้าหวาน ๆ ในวันแห่งความรัก ให้ซื้อหาไปฝากกัน แม้ว่าจะต้องเข้าคิวยาวก็ตาม
(Positioning Magazine 11 กุมภาพันธ์ 2554)
โฆษณาเคลื่อนที่
กล่องโดนัท ถือเป็นอีก Touch Point หนึ่งที่จะติดตัวผู้บริโภคตั้งแต่การซื้อจนกระทั่งหอบหิ้วกลับไปถึงบ้าน ที่สำคัญยังทำหน้าที่เป็นโฆษณาเคลื่อนที่ ทุกแบรนด์ระดมไอเดียสร้างสรรค์กล่องโดนัทให้สวยงาม โดนใจผู้บริโภค และยังต้องสะท้อนบุคลิกแบรนด์
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
Journey of the Donut ต่างยุค ต่างกลยุทธ์
เป็นระยะเวลากว่า 32 ปีแล้ว ที่โดนัท ขนมหวานจากต้นกำเนิดแถบตะวันตก ได้ทำความรู้จักและคุ้นเคยกับผู้บริโภคไทย ที่เฉพาะเพียงแค่ตลาดโดนัทอย่างเดียวมีมูลค่ามากถึง 2000 ล้านบาท ติดตามเส้นทางและวิวัฒนการของโดนัทในประเทศไทยตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
มิสเตอร์ โดนัท กินที่ร้านก็ได้นะ
“มิสเตอร์โดนัท” เจ้าตลาดที่ผ่านร้อนผ่านมาหลายสิบปี ตั้งรับกับกระแส Krispy Kreme ได้อย่างสวยงาม ด้วยยอดขายที่เติบโตขึ้น 20% คือบทพิสูจน์ที่ได้รับจากปรากฏการณ์ Krispy Kremeฟีเวอร์ แต่มิสเตอร์โดนัทกำลังมีโจทย์ใหญ่รออยู่ คือ สร้างให้ผู้บริโภคผูกพันกับแบรนด์
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
ใช้กลิ่นสู้
ท่ามกลางกระแสขนมปังกลิ่นแรง “…โรตี...” ทั้งหลาย Mister Donut ภายใต้เครือเซ็นทรัลก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย นำ “ครัวเปิด” “Micro Kitchen” ที่โชว์การทอดการทำมาให้เห็นหน้าร้านมาเร่งทำให้ครบทุกสาขาและโปรโมตออกไป เสริมตำแหน่งความเป็น “Donut for fun” ให้ชัดขึ้น
(Positioning Magazine สิงหาคม 2549)