ตีแตกกลยุทธ์ “เคแบงก์ SME” กวาด Mass บุกลอยัลตี้โปรแกรม
“เอสเอ็มอีตีแตก” ที่ตีโจทย์แตกจนสามารถหุ้มรายการทีวีได้อย่างแนบเนียน ออนแอร์ผ่านไป 8 เดือน กำลังกลายเป็น Success Story Case ที่งบประมาณ 100 ล้านบาทที่ทุ่มลงไปบรรลุเป้าหมายทั้งการได้แบรนด์ และได้ผลสำเร็จทางธุรกิจ ในการรุกตลาดกลุ่ม Mass ของธุรกิจกลุ่มเอสเอ็มอี
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
ATM D.I.Y.
หน้าจอนี้บ่งบอกความเป็นตัวฉัน ถ้าอยากบอกว่าเป็นคนหวานก็เลือกรูปดอกไม้ อยากแรงดูเป็นวัยรุ่นก็ต้องกราฟฟิตี้ และอีกหลายแบบให้เลือก แต่ไม่ใช่ผ่านจอคอมพิวเตอร์ มือถือ สมาร์ทโฟนแค่นั้น ที่ ”ตู้เอทีเอ็ม” ก็โชว์ตัวได้ จากบริการ K-My ATM
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
ลูกค้าพม่ามาแว้ว
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของคนพม่าไม่ต่างไปจากลูกค้าทั่วไป ใช้ซิมพรีเพดใช้งาน และมักจะซื้อซิมที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น คนพม่าเขาพูดและฟังภาษาไทยรู้เรื่อง แต่มีข้อจำกัดในเรื่องอ่านภาษาไทยไม่ออก ดังนั้นสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกได้คือ ภาษาพม่า บอกรายละเอียดโปรโมชั่นต่างๆ
(Positioning Magazine กันยายน 2553)
หัวใจ “เคแบงก์” ต้องเต้นเร็วขึ้น
กับการรุกครั้งใหม่ของบัตรเครดิตเคแบงก์ในรอบ 36 ปี มาพร้อมกับสิ่งที่เขาบอกว่าต้องทำการบ้านอย่างหนักนานประมาณ 8 เดือน เพื่อบรรลุเป้าหมายเป็นที่ 1 ในตลาดบัตรเครดิตในปีหน้าให้ได้ จากปัจจุบันหล่นไปอยู่อันดับ 3
(Positioning Magazine กันยายน 2553)
แปลงโฉมแบงก์ให้เป็นสถานีโทรทัศน์
“เป็นเจ้าของช่องทีวี ผลิตรายการและออนแอร์ในสาขา” คือภารกิจใหม่ของแบงก์ในยุคนี้ที่การใช้งบการตลาดต้องคุ้มค่ามากที่สุด ด้วยสื่อใหม่ที่เรียกว่า “สมาร์ทมีเดีย” คือไม่เพียงความรู้สึกต่อแบรนด์ดีขึ้นเท่านั้น แต่ทำยอดขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้เพิ่มขึ้น
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2553)
10 อันดับบริษัทยอดนิยม : อันดับ 8 ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกสิกรไทย หรือ เคแบงก์ ถูกโหวตให้เป็นองค์กรน่าทำงานเป็นอันดับ 8 ขององค์กรระดับบิ๊ก 10 อันดับ เพราะความโดดเด่นของพลังงานสีเขียว ที่ทำให้เคแบงก์ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจแบงก์เป็นอันดับ 3 แซงหน้าแบงก์ใหญ่อย่างแบงก์กรุงเทพ และไทยพาณิชย์ ในการเป็นองค์กรที่คนรุ่นใหม่ชื่นชอบมากที่สุด
(Positioning Magazine 12 เมษายน 2553)
พลิกคัมภีร์ K-SME-LG จุดพลุแบรนด์ ด้วย Branded Content
ยิ่งกว่าโฆษณา มากกว่า Tie-in ต้องเป็น Branded Content เครื่องมือการตลาดของแบรนด์เงินหนา เดิมพันสูง กับ 2 กรณีศึกษา เคแบงก์ ปั้นแบรนด์ผ่านรายการ “เอสเอ็มอีตีแตก” ขึ้นแท่นเจ้าตลาดSME ส่วนแอลจี จุดพลุแบรนด์ด้วยเรียลลิตี้ปั้นศิลปิน “ล้านฝันสนั่นโลก” หวังให้ดังระดับ Talk of the town
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
ทฤษฎี “ม้า” ของบัณฑูร
ช่วงเวลาอาหารกลางวัน ที่ห้องก้ามกัทลี ชั้น 40 ของตึกธนาคารกสิกรไทย ราษฎร์บูรณะ มักเต็มไปด้วยผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่าย รวมกว่า 200 คน ด้วยบรรยากาศของพี่ๆ น้องๆ ที่เรียกขานกันในห้องอาหารแห่งนี้ ยิ่งประชับให้ความสัมพันธ์ของผู้บริหารเคแบงก์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2553)
The Proactive Team
เครือข่าย Facebook อยู่กว่า 4,000 คน ของแบงก์กสิกรไทย ถือได้ว่ามีจำนวนมากกว่าหลายแบงก์ในไทย หากเป็นคนก็ถือว่า "ฮอต” มีเพื่อนมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นเพื่อนที่ได้รับการเชิญชวนและต้องตอบรับด้วยความเต็มใจทั้งนั้น เรตติ้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้ "โซเชียล มีเดีย” ของเคแบงก์กำลังเร่งเครื่อง จนต้องค้นหาว่าทีมนี้มีส่วนผสมและไอเดียอย่างไร
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
ศึก “เดบิตการ์ด” “แมส” หาย “เซ็กเมนต์” แรง
“ธุรกิจบัตรเดบิต” กลับมามีชีวิตอีกครั้ง หลังจากแบงก์ต่างกระโจนเข้าไปสู่น่านน้ำสีแดงของธุรกิจบัตรเครดิตหลายปีที่ผ่านมา รอบนี้ผู้เล่นทั้งแบงก์ใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็กต่างงัดกลยุทธ์การตลาดออกมาชนกันอย่างเต็มที่ชนิดที่ว่าศึกครั้งนี้ไม่มีใครยอมใคร ด้วยกลยุทธ์เจาะตลาดตามเซ็กเมนต์และไลฟ์สไตล์ที่แยกย่อยไม่ใช่หว่าน Mass เหมือนเดิม นี่คืออาวุธสำคัญที่แบงก์ตระหนักแล้วว่าหากได้ใจลูกค้า พวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นลูกค้าแบงก์ไปตลอดชีวิต
(Positioning Magazine มกราคม 2553)