กสิกรไทยเปลี่ยนชื่อ ((อีกแล้ว)) !!
เพิ่งจะมีโอกาสสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ จากโฆษณากสิกรไทย รอบนี้เป็นการเปลี่ยนชื่อภาษาจีน จากเดิมชื่อ 泰华农民银行 (ไท้หัวหนงหมินอิ๋นหัง) ซึ่งแปลตรงตัวมาจากชื่อภาษาไทยและชื่อภาษาอังกฤษดั้งเดิมว่า ธนาคารกสิกรไทย หรือ Thai Farmer Bank เป็น 开泰银行 (ไคไท้อิ๋นหัง)
(Positioning Magazine 24 สิงหาคม 2555)
กรี๊ด “คาวาอิ คัลเจอร์” เคแบงก์ส่งคิตตี้เซย์ฮัลโหล
แมวเหมียวแสนน่ารัก “เฮลโล คิตตี้” ตัวการ์ตูนของผู้หญิงทั่วโลก เป็น “คาแร็กเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง” ล่าสุดที่เคแบงก์นำมาชิงลูกค้าบัตรเดบิต เพราะยุคนี้การสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายต้องมี Emotional ด้วย และตัวการ์ตูนน่ารักคือจุดที่ง่ายที่สุดในการดึงความสนใจกลุ่มเป้าหมาย
(Positioning Magazine 6 กรกฎาคม 2555)
คิกออฟ “รีแบรนด์” หรูไม่พอแต่คอนเซ็ปต์ต้องใช่
ไม่ใช่แค่งานเลี้ยงดินเนอร์หรู แต่คือการทำให้บรรยากาศทุกอณูในงาน “Make a Wish” แคมเปญรีแบรนด์ของ KGroup Private Banking สำหรับลูกค้าระดับที่มีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินมากกว่า 50 ล้านบาท ประทับใจ ใช้บริการและพร้อมบอกต่อ
(Positioning Magazine 17 ตุลาคม 2554)
แบงก์ยุค Memo&Alert จำไว้นะอย่าเรียก “เฮีย”
ก้าวเข้ามา แล้วรูดบัตร เมื่อถึงคิวพนักงานที่เคาน์เตอร์ก็สามารถทักทายด้วยการเรียกชื่อคุณ ถ้าเป็นวันเกิด ก็มีของขวัญพิเศษมอบให้ และถ้าใครไม่ชอบให้เรียก ”เฮีย” ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก ระบบนี้เป็นการเชื่อมโยงกับ ”สมาร์ทคิว”
(Positioning Magazine 17 ตุลาคม 2554)
เคแบงก์ : แบรนดิ้ง "ฝาก" เสริมพลังดอกเบี้ย
ตัวเลขดอกเบี้ยเป็นเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจฝากหรือไม่ฝาก แต่ถ้าทุกอย่างเหมือนกัน หรือไม่ต่างกันมาก อย่างระยะเวลาฝากห่างกันไม่กี่เดือน ตัวเลขทิ้งกันมากนัก แบงก์ที่สะดวก ภาพพจน์ดี ลูกค้ารู้สึกใกล้ชิดกว่า ก็ถูกเลือกมากกว่า นี่คือทางที่ธนาคารกสิกรไทย หรือเคแบงก์ทุ่มเต็มที่เพื่อสร้างแบรนด์ให้ลูกค้ารู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง และมีน้ำใจกับกลุ่มเป้าหมาย
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
K SME จะผูกใจลูกค้าให้ยาวต้องมี Emotional
หลังจากที่กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) ธนาคารกสิกรไทย มั่นใจเต็มที่แล้วว่าผลิตภัณฑ์และบริการในส่วนของเอสเอ็มอี เป็นส่วนที่ลูกค้าเข้าใจ Product Feature กันแล้วอย่างดี จากที่บริษัทเน้นโฆษณาไปในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่มีเงื่อนไขการให้กู้ด้วยบริการที่รวดเร็ว ให้กู้ยาว และให้ทุนเยอะ จนเป็นที่จดจำของลูกค้าถึงคุณสมบัติเหล่านี้ ก็ถึงเวลาของภาคต่อที่ต้องเพิ่มความเข้มข้นให้ลูกค้าจดจำและมีส่วนร่วมกับ K SME มากขึ้นไปอีก
(Positioning Magazine 10 กรกฎาคม 2554)
K sme ส่ง Cookie Boy ตีแตก
K sme กสิกรไทยนอกจากบุกเจาะลูกค้า SME จนเป็น Brand ที่รู้จักกันดีผ่านรายการ sme ตีแตกแล้ว โฆษณาชุดใหม่ก็ยังสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์อย่างต่อเนื่อง
(Positioning Magazine 25 พฤษภาคม 2554)
เคแบงก์ ตีแตก เอสเอ็มอี ปั้นแบรนด์จากห้องเรียนสู่แมสมีเดีย
มีทั้งรอยยิ้มและน้ำตาของเอสเอ็มอีหลังคำตัดสินของ 3 กรรมการ “แตกหรือไม่แตก” ให้ความรู้ทางธุรกิจ ผสมคอมเมนต์แบบดุเด็ดเผ็ดมัน กลายเป็นสีสันประจำรายการ “เอสเอ็มอีตีแตก” ที่ธนาคารกสิกรไทยควงคู่เวิร์คพอยท์ ผลิตออกมาเป็นรายการประจำ สร้าง Talk of the town ตีโจทย์ ถูกใจคนดู โดนใจเอสเอ็มอีได้แบรนด์ K-SME ไปเต็มๆ
(Positioning Magazine 14 มีนาคม 2554)
เคแบงก์สร้างลูกค้าอนาคต ด้วย Social Game
“คุณต้องหาสถานที่ตั้งร้าน” คำสั่งแรกที่ Avartar ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกสิกรไทยในเกม SME Start-up City บอกกับผู้เล่นเมื่อเริ่มต้นเปิดร้านที่หน้าตาคล้ายเกม Restaurant City บนเฟซบุ๊ก โดยสอดแทรกความรู้เรื่องการทำธุรกิจ SME สำหรับผู้เริ่มต้นไปพร้อมกับความบันเทิงจากการเล่นเกม
(Positioning Magazine ธันวาคม 2553)
คลิก Like คุยกับเคแบงก์
“ต้องสร้างแบรนด์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือการขายของได้ด้วย” อาจเป็นโจทย์ของธุรกิจบริการทั่วไป แต่สำหรับ KBanklive ความยากนี้กลายเป็นแรงผลักจน Fan Pageฮิตติดอยู่ในอันดับต้นๆ ที่คนคลิก Like
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)