ซัมซุง โมโตโรล่า OPPO แชมป์โมบายโชว์
ปิดฉากไปแล้วกับงาน“Thailand International Mobile Show 2012” แม้คนจะไปน้อยกว่าเป้าหมาย แต่มูลค่าขายไม่ลด มี 3 แบรนด์ที่ขายดีสุดคือ“ซัมซุง-โมโตโรล่า-OPPO”
(Positioning Magazine 2 กรกฎาคม 2555)
คาถา “โมโตโรล่า” แบรนด์แก่ แต่ยัง Keep Fighting
“โมโตโรล่า” สำหรับคนที่อายุไม่ถึง 35 ปี อาจต้องใช้เวลานึกอยู่นาน หรือบางคนอาจไม่รู้จักเลยว่าเป็นแบรนด์โทรศัพท์มือถือที่เคยโด่งดัง นี่คือโจทย์ใหญ่สำหรับการพยายามกลับมาอีกครั้งของ “โมโตโรล่า”
(Positioning Magazine 10 มกราคม 2555)
โมโตโรล่ายังพยายามฟื้น
เขายังอยู่สำหรับ ”โมโตโรล่า” อดีตแบรนด์โทรศัพท์มือถือที่เคยเป็นยักษ์ใหญ่ ที่หลายคนเกือบลืมชื่อนี้ไปแล้ว โดยเฉพาะเมืองไทยที่โมโตโรล่าปิดสำนักงานในไทยไปแล้วตั้งแต่ต้นปี และแม้จะพยายามกลับมาด้วยสมาร์ทโฟน อย่างไมล์สโตน แต่ก็ยังเงียบอยู่
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
ความบังเอิญที่ใจตรงกัน
จะด้วยความบังเอิญหรืออาศัยฤกษ์เบิกฟ้าจากซินแสเดียวกัน ปลายเดือนเมษายน สองค่ายมือถือ ต่างสายพันธุ์ เปิดตัวมือถือรุ่นใหม่ใน ’วันเดียวกัน’ …ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 13,900 บาท เท่ากันแบบไม่ตั้งใจ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2550)
โมโตร็อคเกอร์
คุณสมบัติเพียบเพื่อความบันเทิงสำหรับ ”โมโตร็อคเกอร์อี 6” (MOTOROKR E6) พีดีเอโฟนที่เน้นการฟังเพลง ทั้งแบบจากวิทยุเอฟเอ็ม และเพลงดิจิตอลหลากหลายรูปแบบ นอกเหนือจากความเป็นโทรศัพท์มือถือไว้ติดต่อสื่อสาร พร้อมจุดขายตัวเครื่องบางเฉียบที่ 14.5 มิลลิเมตร
(Positioning Magazine เมษายน 2550)
ฮัลโหล 3 รุ่นโมโตฯ
โมโตโรล่านำเสนอ 3 รุ่นสำหรับกลุ่มลูกค้า 3 ระดับให้เลือกโทรได้ตามความชอบ แบ่งตามระดับราคา และฟังก์ชันการใช้งาน ตัวแรกต้องบอกว่าเห็นกันไปแล้วทั่วกรุงเทพฯ ที่โปรโมตผ่านสื่อนอกบ้าน โดยเฉพาะตามป้ายรถประจำทาง ที่เรียกว่า “มัปปี้” ที่ผู้บริหารค่ายโมโตฯ บอกว่า ซื้อพื้นที่กว่า 150 จุดทั่วเมือง “KRZR K1” ในระดับราคาเฉียดหมื่น เน้นฟังก์ชันความลงตัวระหว่างดีไซน์กับฟังก์ชันการใช้งานค้นหาข้อมูลในโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบายด้วยโปรแกรมยาฮู โก
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)
จงรักษ์ สกุลภักดี ดีเอ็นเอ เฉพาะโมโตโรล่า
“มุ่งมั่นแรงกล้า พร้อมท้าพิสูจน์ ลุยสู่เป้าหมาย” ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นจริงๆ กับผู้หญิงคนนี้ “จงรักษ์ สกุลภักดี แม้จะเป็นเวลาเพียงชั่วโมงเศษที่ ”จงรักษ์” มีเวลาให้ POSITIONING พูดคุย แต่ยืนยันได้ว่า ”แรงกล้า” จริงๆ เพียงพอที่จะเป็นคำตอบบ่งบอกได้ว่า นี่เองที่ทำให้เธอเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทข้ามชาติอย่างโมโตโรล่า
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2550)
ห้องเรียน “โมโตโรล่า”
เป็นอีกครั้งที่ “วิทการ จันทวิมล” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด โทรศัพท์มือถือ โมโตโรล่า ประเทศไทย ต้องละทิ้งจากหน้าที่การงานถึง 2 ปีเต็ม เพื่อกลับเข้าสู่ชั้นเรียนอีกครั้ง ไม่ใช่หลักสูตรปริญญาโท หรืออบรมผู้บริหารของสถาบันใด แต่เป็นหลักสูตรเฉพาะของ“โมโตโรล่า” ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ โมโตโรล่า เพื่อสร้างผู้นำเลือดใหม่ สำหรับก้าวใหม่ของผู้ผลิตมือถือแห่งนี้เท่านั้น
(Positioning Magazine มกราคม 2550)
โมโตบัส...บุก
กว่า 1 เดือนเต็มที่จะได้เห็น Motobus ตะลอนทัวร์โชว์เทคโนโลยีไปทั่วภาคอีสาน พร้อมรถตู้ให้บริการอัพเดต และซ่อมโทรศัพท์มือถือกับลูกค้ารากหญ้า เพื่อสร้างแฟนคลับต่างจังหวัดได้รู้จัก Motorola มากขึ้น ด้วยแคมเปญการตลาดใหม่ “โมโต ตอลอน ทัวร์” เริ่มสตาร์ท ณ ลานหน้าห้างสรรพสินค้า คาร์ฟูร์ ถนนลาดพร้าว
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2549)
สรยุทธ งามจันทร์ผลิ “ผมเลือกสร้างโอกาส...ไม่ใช่นั่งรอ”
“สิ่งที่ท้ายทายคือการได้ทำงานที่สนุก ตื่นเต้น และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ผมจึงเดินเข้ามาหาโอกาสนี้ในธุรกิจ Mobile Phone เพราะมีการแข่งขันสูง แต่ยังเติบโตไปได้อีกไกล จึงเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจและท้าทายกว่า”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2549)