ออเร้นจ์เปลี่ยนเป็น “ทรูมูฟ”
บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะบริษัทแม่ของทรูมูฟ ต้องการทำตลาดสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ทรูทั้งหมด จึงเลือกรีแบรนดิ้งโทรศัพท์มือถือใหม่จาก “ออเร้นจ์” เป็น “ทรูมูฟ” ก่อนที่จะหมดสัญญาเช่าไลเซ่นส์ใช้แบรนด์เดิมในสิ้นปี 2549 นี้ โดยทรูจ่ายค่าไลเซ่นส์สูงถึงปีละ 200 ล้านบาท และหากต้องการใช้แบรนด์ “ออเร้นจ์” ต่อไปต้องจ่ายเพิ่มเป็น 400 ล้านบาทต่อปี
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2549)
“ดีแทค-ทรูมูฟ” พลิกกลยุทธ์ สงบนิ่งสร้าง ”แบรนด์”
ในช่วงเวลาที่ธุรกิจเครือชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กำลังถูกสังคมกลุ่มพันธมิตรต้านทักษิณ ชินวัตร บอยคอตสินค้าอย่างหนัก ซึ่งหนึ่งในธุรกิจที่เห็นชัด และเป็นเป้าหมายแรกที่ถูกเลิกใช้บริการคือโทรศัพท์มือถือเอไอเอส สูตรการทำตลาดธรรมดา อาจมีหลายคนคิดว่าคู่แข่งของเอไอเอส น่าจะฉกฉวยจังหวะนี้ ดึงลูกค้ามาสู่เครือข่ายตัวเองมากขึ้น
(Positioning Magazine เมษายน 2549)
จากออเร้นจ์สู่ “ทรูมูฟ”
“ใครๆ ก็รู้ออเร้นจ์เปลี่ยนเป็นทรูมูฟแล้ว…yes! (เสียงเด็กหัวเราะ)” ประโยคสั้นๆ ส่วนหนึ่งหนังโฆษณาชุด “ห้องเรียน” ที่ True ยิงโฆษณาผ่านทีวีประมาณ 6 วัน ก่อนจัดงานเปิดตัวแบรนด์ True Move อย่างยิ่งใหญ่และมีสีสันในบ่ายวันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี
(Positioning Magazine มีนาคม 2549)
Kids power True Move VS DTAC
โฆษณาที่ใช้เด็กน้อยเป็นตัวเดินเรื่อง ดูจะมีให้เห็นกันจนชาชิน แต่สำหรับ 2 ค่ายผู้ให้บริการมือถืออันดับ 2 และ 3 ของเมืองไทยอย่าง DTAC และ True Move ดูจะเป็นเรื่องใหม่ และเป็นความบังเอิญเหลือเกิน ที่ทั้ง 2 บริษัทใช้ Kids Power ในการสื่อสารกับผู้บริโภคเช่นเดียวกัน
(Positioning Magazine มีนาคม 2549)