“TRUE MOVE ” ประกาศจองที่ 1 ตลาด 3G
“เราจะพยายามที่สุดในการเป็นผู้นำ 3G” นี่เป็นคำพูดอย่างปากเต็มคำจาก”ศุภชัย เจียรวนนท์” ซีอีโอของทรูมูฟ หลังจากเซ็นสัญญากับบริษัท กสท โทรคมนาคม ในการเป็นผู้สร้างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G ในเทคโนโลยี HSPA และเป็นผู้เทคโอเวอร์กิจการของโทรศัพท์มือถือฮัทช์ในประเทศไทย
(Positioning Magazine 1 กุมภาพันธ์ 2554)
ทรูมูฟซื้อฮัทช์ ต่ออายุสู่ 3G
“ทรูมูฟ” ต้องออกแรงอย่างหนักตลอด 8 ปีที่ผ่านมา เพื่อแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ 2 รายในธุรกิจโทรศัพท์มือถือ วันนี้ “ทรูมูฟ” พยายามอีกครั้ง รับปีกระต่ายทองในการเร่งปิดดีล ”เทกโอเวอร์ฮัทช์” ที่แม้จะยังไม่อาจทำให้ชนะอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ก็หวังยึดที่ยืนในตลาดมือถือนี้ให้นานและเข้าใกล้ 3Gมากที่สุด
(Positioning Magazine มกราคม 2554)
งาน “ขายและบริการ” ก็ต้องมี Brand Ambassador แล้วนะ
เมื่อสินค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น แม้แต่ Brand Ambassador ก็ถูกย่อยเซ็กเมนต์ลงมาเป็น Brand Ambassador สำหรับงานขายและบริการได้ด้วยเหมือนกัน ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับการดำเนินงานเพื่อให้บริการการขายและบริการสมาร์ทโฟนของทรูมูฟ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
ซูเปอร์อีเวนต์
ปรากฏการณ์เปิดตัวไอโฟน 4 เมื่อ 3 ค่ายมือถือเปิดขาย iPhone 4 ในวันเดียว ด้วยเงื่อนไขและกฎเหล็กจากแอปเปิลเหมือนกัน ทั้งวิธีการทำตลาด ถ้อยสื่อสารประชาสัมพันธ์ กระบวนการโฆษณาก่อนเปิดตัว ต้องเป็นไปตามมาตรฐานแอปเปิล ทั้ง 3 ค่าย ที่ต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อสร้างความต่างบนความเหมือน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
iPhone 4 เล่นกับความเหมือน เฉือนกันที่ความต่าง
ไอโฟน 4 เกมใหม่ที่ 3 บิ๊กมือถือ “เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ” ต้องเล่น ด้วยสินค้าที่เหมือนกัน กฎเหล็กของแอปเปิลเหมือนกัน เกมตลาด “ไอโฟน 4” จะอยู่ในมือใคร ความพร้อม Wi-Fi และ App ที่มากกว่าใคร ไอโฟนจะเป็นเดิมพันครั้งใหม่ของทรู ในการชิงลูกค้ามาจาก 2 ค่ายใหญ่ เอไอเอส และดีแทค ได้จริงหรือ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2553)
บิ๊กมูฟของ 3 บิ๊กมือถือ
ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ กำลังเปิดศึกอีกหนึ่งสนามคือ “สมาร์ทโฟน” จนStrategic move ล่าสุดของ 3 ค่ายน่าจับตา เริ่มจากทรูมูฟเพิ่งเซ็นสัญญาขายโมโตโรล่ารุ่นไฮเอนด์ทุกรุ่นที่ใช้แอนดรอยด์ ส่วน “ดีแทค” ที่เพิ่งขาย “แบล็คเบอร์รี่ หรือ บีบี” ได้เดือนเดียว ก็เซ็นสัญญากับแอปเปิล เพื่อขาย “ไอโฟน” ในที่สุด และ “เอไอเอส” ก็เต็มที่ยิ่งขึ้นกับ “แบล็คเบอร์รี่” และยังไม่ทิ้งการเจรจากับ “ไอโฟน”
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
QR Code มาแล้ว
จู่ๆ ก็เปิดตัวพร้อมกัน 2 งานในวันเดียวกัน สำหรับการนำ “QR โค้ด” หรือบาร์โค้ดแบบ 2 มิติมาใช้งานในไทย หลังจากที่ QR โค้ดได้สร้างกระแสความนิยม กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนญี่ปุ่นไปแล้ว โดยเฉพาะการใช้แอพพลิเคชั่นพ่วงโฆษณาบนมือถือ
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
3G...เกมกลยุทธ์ ทรูมูฟ
ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา “ทรูมูฟ” เป็นโอเปอเรเตอร์มือถือเพียงรายเดียว ที่ออกโรงกระทุ้งเรื่องเงื่อนไข และกฎเกณฑ์การประมูลใบอนุญาติ 3G จนดูเหมือนว่า ทรูจะไม่รีบร้อนนักกับบริการ 3G แต่ก็ตั้งทีมเฉพาะกิจ รับมือกับ 3G รองรับกับโมเดลธุรกิจคอนเวอร์เจนซ์
(Positioning Magazine ธันวาคม 2552)
กลยุทธ์เอาตัวรอด
“ไอโฟน 3 GS” กลายเป็นโปรดักต์ที่ “ทรูมูฟ” ไม่ขอเดินตามคัมภีร์การเปิดตัวของแอปเปิล เพราะบทเรียนไอโฟน 3G ทีเคยลือกันว่าตั้งเป้ายอดไว้หลักแสน แต่ได้จริง 5 หมื่นเครื่อง และเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ไหนจะเจอคู่แข่งมาแรงอย่างแบล็คเบอร์รี่ ไอโฟนก๊อบปี้ และเครื่องหิ้ว Apple Way ทั้งหมดอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับในไทย และเป็นเรื่องที่ทรูมูฟต้องแก้โจทย์ยากนี้ให้ได้
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
Behind the Scene ไอโฟน@ไทยแลนด์
แกะรอยงานเปิดตัวไอโฟน กับกลยุทธ์เข้าแถวซื้อเครื่อง จนกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สร้างกระแสทอล์กออฟเดอะทาวน์ รวมทั้งในเมืองไทย ที่แม้ว่าต้องออกแรงกัน และอาศัยกิมมิกการตลาดเป็นตัวช่วย ทั้งหมดนี้เป็นความบังเอิญ หรือกระบวนการสร้าง Global Brand ระดับโลก
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)