แคมเปญ วอลโว่ ขอสดใสกว่าเดิม
“ภาพของรถเหลี่ยมๆ สูงวัย อย่าง ”วอลโว่” กำลังจะหมดไปในไม่ช้า” นั่นคือความหวังของวอลโว่หลังจากพยายามปรับภาพลักษณ์ให้ดูสดใสยิ่งขึ้น โดยเริ่มเฟสแรกกับแคมเปญ “Naughty" ต่อด้วยเฟส 2 กับทีวีซีที่กระชากใจคนรุ่นใหม่ที่มาโปรโมตรถรุ่นล่าสุด S60 ด้วยวอลโว่สีแดงสด
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
นั่งรถหรูดูหนังกันเถอะ
การนั่งในรถดูหนังสำหรับที่อังกฤษแล้วไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายนัก เพราะข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ และอากาศที่คนอังกฤษต้องพกร่มก่อนออกจากบ้านตลอดเวลา แต่เป็นไปแล้วกับการแคมเปญของวอลโว่ในที่ต้องการให้เกิด Talk of the town
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
มิชชั่น พอสสิเบิลของวอลโว่
ไม่ใช่มิชชั่น อิมพอสสิเบิลภาคใหม่ แต่เป็นหนึ่งในกิจกรรมเปิดตัววอลโว่ เอส 80 เมื่อ พอล สโตคส์ ประธานบริหาร บริษัท วอลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนโรยตัวลงมาจากเพดานห้องบางกอกคอนเวนชั่นฮอลล์ บนชั้น 22 ของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ หลังจากที่หน่วย SWAT ปฏิบัติภารกิจ ดูแลวอลโว่ เอส 80 ที่ถูกหย่อนลงจากเพดานก่อนหน้านั้นให้เข้าที่ ไม่กี่อึดใจ
(Positioning Magazine ตุลาคม 2550)
Volvo “The Hunt” เกมร้อนสร้างแบรนด์
มีหลายองค์กรเคยกังวลว่า การที่พนักงานเขียนบล็อกอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้อมูลลับขององค์กรรั่วไหลโดยไม่รู้ตัว แต่กรณีของเกม The Hunt ของวอลโว่ ที่มีผู้ร่วมเล่นเกมนำประสบการณ์ตลอดช่วง 1 เดือนไปเล่าต่อผ่านบล็อกของเขา กลับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ช่วยต่อยอดการตลาดให้กับวอลโว่แบบเกินความคาดหวัง ที่สำคัญการขยายแบรนด์ไปกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นพลังที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจ
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2550)
ล่าขุมทรัพย์ วอลโว่
โปรดักส์ใหม่ของวอลโว่ดูไม่น่าตื่นเต้นเท่ากับกลยุทธ์แคมเปญ “ตามล่าหาขุมทรัพย์” ซึ่งมีนัยไม่ใช่แค่การแจกรางวัล หากยังมองลึกไปถึงการใส่ความสนุกในแบรนด์ และขยับขยายแบรนด์จากความหรูหรามาสู่กลุ่มผู้บริโภคทุกระดับ เพราะวอลโว่มองเห็นว่าคนหนุ่มสาวหรือวัยกลางคนขึ้นไป ล้วนเป็นฐานลูกค้าในอนาคต ซึ่งวันหนึ่งที่คุณมีเงินเต็มกระเป๋า แบรนด์ยุโรปพันธุ์นี้อาจจะซึมซับสู่การตัดสินใจซื้อรถ
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
อารมณ์ ความรู้สึก ...วอลโว่ เปิดประทุน
วิธีสื่อสารทางการตลาดของวอลโว่ C70 รถเปิดประทุนตัวใหม่ เป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่ให้คำตอบทางการตลาดชัดเจนว่า การขายรถระดับไฮเอนด์ในวันนี้ ไม่ใช่แค่ขายสมรรถภาพเครื่องยนต์เพียงอย่างเดียว หากจำเป็นจะต้องมีสไตล์ อารมณ์ และความรู้สึก เข้าถึงโปรดักส์ดังกล่าวด้วย
(Positioning Magazine ตุลาคม 2549)