สะกดลูกค้าต่างแดนด้วยดีไซน์เบียร์ทาวเวอร์
เมื่อ “เบียร์ทาวเวอร์” ขนาด 5 ลิตร (Beer Tower) กำลังกลายเป็นหนทางใหม่ในการสร้างแบรนด์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยไม่ผิดกฏิกาของภาครัฐที่ห้ามโฆษณา และเชื่อว่านี่คือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาดในการบุกต่างแดน เช่นกรณีของเบียร์สิงห์ ที่จัดประกวดออกแบบเบียร์ทาวเวอร์
(Positioning Magazine มิถุนายน 2551)
เมื่ออัสนี-วสันต์ สวมหัวใจ"สิงห์"
เวลาแห่งการเฉลิมฉลองของสิงห์ได้เริ่มขึ้นแล้วกับเส้นทางธุรกิจที่ก่อร่างมาครบ 75 ปี กับแคมเปญเบิกฤกษ์ “คนหัวใจสิงห์ อัสนี-วสันต์ เวิลด์ทัวร์” ที่งานนี้สิงห์ทุ่มทุนกว่า 80 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายในการสู่การเป็น Global Brand อย่างจริงจัง
(Positioning Magazine เมษายน 2551)
สรวิช ภิรมย์ภักดี สิงห์ อินเตอร์
การพบปะร้านอาหารไทยที่ซานฟรานฯและซานโฮเซ วันละกว่า 20 ร้าน ของทีมงานฝ่ายบริหารของบุญรอด บริวเวอรี่จากเมืองไทย ทำให้ สรวิช ภิรมย์ภักดี ได้รับข้อมูลมากมาย โดยเฉพาะสั่งเท่าไรก็ไม่พอขายขาดตลาดประจำ ทำให้บุญรอดตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตที่เม็กซิโกซะเลยก็สิ้นเรื่อง
(Positioning Magazine มกราคม 2551)
ไขกุญแจปักธง “สิงห์ไลท์”
แคมเปญ Sigha Light The Northe Pole Challenge จาก ค่ายบุญรอดเทรดดิ้ง ถูกยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา ในแง่ที่ว่า แคมเปญที่โดดเด่นที่สุดในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จของแคมเปญยังได้สะท้อนถึงการโฆษณา (Advertising) ที่อยู่ในส่วนผสมของสูตรสำเร็จในการเปิดตลาด “สิงห์ไลท์” ไม่น้อย
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2549)
ซ่า...โซดาสิงห์
แม้จะครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 97% ในตลาดโซดามูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท เป็นผู้นำที่ทิ้งห่างคู่แข่ง ชนิดที่ไม่ต้องถามหาเบอร์สอง แต่การส่งแคมเปญ Singha Soda Battle of the Year 2006 ครั้งที่ 2 นอกจากจะตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาดแล้ว ยังเป็นการสกัดกั้นน้องใหม่ คริสตัล โซดา จากค่ายเสริมสุขที่เดินเกมแบบเงียบๆ พร้อมมุ่งขยายฐานนักดื่มโซดาในรูปแบบ Mixer กับเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น น้ำผลไม้ เป็นต้น
(Positioning Magazine มิถุนายน 2549)
โอ้ละหนอ...ชาเขียว กระแสที่ไม่มีวันหวนกลับ?
ทำเอาเจ็บใจ และเจ็บตัวไปตามๆ กัน กับกระแสชาเขียวฟีเวอร์ ที่โหมซัดซาดอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อตลาดเครื่องดื่มเซ็กเมนต์อื่นๆ ต้องสะดุดและเสียขบวนไปตามๆ กัน...แต่แล้วเพียงไม่นานก็ต้องประสบกับภาวะถดถอยอย่างน่าใจหาย นับแต่ผู้นำตลาดอย่างโออิชิ เผชิญภาวะวิกฤตหลายครั้งหลายครา
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2549)
ปิติ ภิรมย์ภักดี พรีเซ็นเตอร์ตัวจริงของบุญรอดฯ
ติดอันดับ 20 จากการจัดอันดับ Top 50 Young Executive ของ POSITIONING เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ได้รับการโหวตมาเป็นอันดับที่ 14 อาจเป็นเพราะ ต๊อด หรือ ปิติ ภิรมย์ภักดี ผู้ชายหลายบทบาท ปรากฏตัวผ่านสื่อเป็นประจำ นอกจากเป็นผู้จัดการฝ่ายโฆษณาของบุญรอด เทรดดิ้ง เป็นนักแข่งรถ และเคยเป็นพรีเซ็นเตอร์ corporate ad ของสิงห์แล้ว บทบาทที่ทำให้คนส่วนใหญ่รู้จักเขามากยิ่งขึ้นก็คือ การเป็นพิธีกรรายการเจาะใจ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
Sexy Leo Girls ปฏิบัติการค้นหา พรีเซ็นเตอร์ตัวตายตัวแทนลูกเกด
สาวเซ็กซี่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นของคู่กันมานานหลายทศวรรษ ไม่ต้องบอกก็พึงรู้ว่าผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายหลักของเครื่องดื่มประเภทนี้คือผู้ชาย เหล้าเบียร์ระดับอีโคโนมี่ดูจะใช้ sexy girl เป็นจุดขาย ที่เด่นชัดสุดในรูปแบบของปฏิทินปีใหม่ อดีตสาวเซ็กซ์บอมบ์ที่ไม่มีใครสนใจที่มาที่ไปอวดเรือนกายกันให้เห็นอยู่เนืองๆ
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2548)
ใบเบิกทาง
เมืองไทยกลายเป็นตลาดที่แคบไปเสียแล้วสำหรับเบียร์สิงห์ เมื่อตลาดเบียร์เมืองไทยเริ่มอิ่มตัวไม่โตเร้าใจเหมือนก่อน สิงห์ก็เช่นเดียวกับแบรนด์คู่แข่งที่มองตลาดต่างประเทศเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ จากเม็ดเงินที่ลงทุนเป็น Official Sponsor ให้กับการประกวด Miss Universe 2005 ประมาณ 100 ล้านบาท แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว งบประมาณที่สิงห์วางไว้กลับบานปลายไปถึง 150 ล้านบาท แต่ผู้บริหารระดับสูงของสิงห์ก็บอกว่า “พอรับได้...งานนี้ได้กล่องไม่ได้เงิน”
(Positioning Magazine มิถุนายน 2548)
ปิติ ภิรมย์ภักดี “สิงห์รุ่นใหม่”
ผมยึดในหลักที่ว่า “อย่าคิดที่จะทำ แต่ต้องทำ” ถ้าผมคิดได้ คนอื่นก็คิดได้เหมือนกัน แล้วที่สำคัญกว่านั้นถ้าเราไม่ทำ แน่นอนว่าคนอื่นก็จะแย่งเราทำก่อน และเราก็จะไม่ใช่ผู้นำอีกต่อไป ผมคิดว่า “ความคิด” ก็ไม่ต่างอะไรกับความฝัน ถ้าเราไม่เริ่มทำ เราก็จะอยู่กับความฝันที่ไม่มีตัวตน
(Positioning Magazine ธันวาคม 2547)