6 อรหันต์น้ำมันยุค “ทักษิณ”
โครงสร้างการบริหารนโยบายด้านพลังงาน ที่มีอำนาจทับซ้อนกับผลประโยชน์ โดยมีบุคคลในแวดวงกิจการน้ำมันเป็นตัวเดินเรื่อง ชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ในปี 2544 จนมาถึงช่วงที่สถานการณ์ราคาน้ำมันเริ่มพุ่งทะยานตั้งแต่ปี 2547 ในแวดวงน้ำมันถึงกับมีการเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “6 อรหันต์ทองคำด้านพลังงาน” เพราะไม่เพียงบทบาทสูงเกี่ยวกับการกำหนดราคาพลังงานแล้ว คนเหล่านี้ยังได้ผลตอบแทนเรื่องหุ้น เบี้ยประชุม และโบนัส จำนวนมาก
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2551)
ความเชื่อมั่นของ “แก๊ส โซฮอล์” สไตล์ ปตท.
พลังงานทดแทนน้ำมัน เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงกันมากในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีมานี้ โดยเฉพาะ “แก๊สโซฮอล์” ที่มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการเอง ทยอยออกมาให้ความรู้กับประชาชนคนใช้รถอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ อาทิ กระทรวงพลังงานซึ่งมุ่งสื่อสารถึงทัศนคติด้านลบที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแก๊สโซฮอล์ และบางจากซึ่งใช้นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิมาการันตี
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2550)
10 องค์กรยอดนิยม : อันดับ 1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยที่ลุ่มๆ ดอนๆ หลายปีหลัง กลุ่มธุรกิจหนึ่งเดียวที่โดดเด่นขึ้นมาทั้งกำไร การขยายธุรกิจ และระคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นจะเป็นพลังงาน ซึ่งผู้นำในไทยก็ไม่พ้น ปตท. และ ปตท.สผ. ที่นอกจากจะได้เต็มๆ จากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันแล้ว ยังกระจายความเสี่ยงไปยังธุรกิจปิโตรเคมี และข้ามไปถือหุ้นโรงกลั่นเป็นการการันตีความมั่นคงระยะยาว
(Positioning Magazine มิถุนายน 2550)
ภารกิจเพื่อชาติ
“ธงไทย ไปไกลบ้าน” ผลงานส่วนหนึ่งจากการพิชชิ่งแข่งกับเอเยนซี่โฆษณาชั้นนำของเมืองไทย 4 แห่ง ในที่สุด TBWA คว้างานใหญ่จาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ไปครอง ประกิต กอบกิจวัฒนา Creative Director บริษัท ทีบีดับบลิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด ให้รายละเอียดที่น่าสนใจกับ POSITIONING
(Positioning Magazine มีนาคม 2550)