“เนสกาแฟไอซ์” ชงเถ้าแก่รถเข็นขยายตลาด
เนสท์เล่ มีแผนกเนสท์เล่ โพรเฟชชันนัล ซึ่งดูแลตลาดกาแฟสำเร็จรูปสำหรับดื่มนอกบ้าน และคิดสูตรกาแฟเย็นสำเร็จรูปหรือเนสกาแฟไอซ์ออกขายในซองขนาดใหญ่ สำหรับร้านค้า โดยเฉพาะกลุ่ม Quick Service Restaurant (QSR) ชงเสิร์ฟลูกค้ามาแล้วเป็น 10 ปี โดยเป็นสูตรที่คิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งมีผู้บริโภคชอบดื่มกาแฟเย็นกันมาก
(Positioning Magazine 20 กุมภาพันธ์ 2555)
สิงห์-ช้าง-เนสท์เล่ เปิดศึกชิงน้ำดื่มในบ้าน
น้ำดื่มในบ้านกำลังเป็นตลาดใหม่ ดื่ม “สิงห์ ช้าง และเนสท์เล่” หงายไพ่เปิดศึกชิงตลาดน้ำดื่มเป็น “บลูโอเชี่ยน” ที่ 3 บิ๊กทรี หวังพิชิตศึกแบบเบ็ดเสร็จในตลาดน้ำดื่มมูลค่า 18,000 ล้านบาท แม้ตลาดใหม่นี้จะต้องทุ่มสรรพกำลังที่ต้องอัดฉีกกันเต็มพิกัด ทั้งเงินทุน เทคโนโลยี เพื่อหวังซื้อใจลูกค้าระยะยาว
(Positioning Magazine กันยายน 2553)
Branding แล้วต้องเล่น Bonding
ไอศกรีมแบรนด์ ”13 เธอทีน” ของเนสท์เล่เมื่อปลายปี 2009 ได้เจาะลึกกลุ่มเป้าหมายจนรู้จักตัวตนตามสูตรการตลาดแบบเป๊ะ ๆ จนสร้างแบรนด์ (Branding) สำเร็จ แต่แค่สร้างแบรนด์อย่างเดียวในยุคนี้ไม่พอ แต่ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายผูกพัน (Bonding) ด้วยกลยุทธ์ทุกรูปแบบ กลายเป็นไอศกรีมที่ยังรอด ไม่เหมือนตัวอื่นๆ
(Positioning Magazine สิงหาคม 2553)
10 อันดับบริษัทยอดนิยม : อันดับ 10 อันดับ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
เพียงแค่ชื่อเสียงของ “เนสท์เล่” ผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ที่มีธุรกิจอยู่ตามที่ต่างๆ ทั่วโลกมากถึง 84 ประเทศ กับโรงงานอีก 468 แห่ง ก็สามารถจูงใจให้คนรุ่นใหม่มองเนสท์เล่ เป็นองค์กรในฝันที่อยากร่วมงานด้วย ยังไม่นับรวมสวัสดิการต่างๆ ที่มีให้อย่างครบครัน พร้อมกับการทุ่มงบประมาณกับการเทรนนิ่งพนักงานอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี เพื่อปั้นให้พนักงานเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง
(Positioning Magazine เมษายน 2553)
เนสกาแฟ สไตล์...คนเมือง
แม้จะเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งของตลาดกาแฟสำเร็จรูป ที่มีมูลค่า 26,100 ล้านบาท แต่เนสกาแฟยังมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องทำให้สำเร็จ โดยเฉพาะกับเซ็กเมนต์กาแฟพร้อมดื่ม ซึ่งเป็นเพียงเซ็กเมนต์เดียวในตลาดกาแฟสำเร็จรูปที่เนสกาแฟยังคงพ่ายแพ้ต่อเบอร์ดี้ คู่แข่งคนสำคัญที่ครอบครองเซ็กเมนต์นี้อย่างเหนียวแน่น ด้วยส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 65% ของมูลค่าตลาด 8,300 ล้านบาท
(Positioning Magazine มีนาคม 2553)
เนสกาแฟปะทะ มอคโคน่า สงครามครั้งใหม่ของแบรนด์ยักษ์
ขับเคี่ยวกันมาตลอดสำหรับเนสกาแฟและมอคโคน่า แม้เนสกาแฟจะครองตลาดกาแฟ 3 in 1 สูงสุด แต่การลงเล่นในสนามใหม่ครั้งนี้ เป็นเหมือนล้มกระดานสู้ใหม่ กับมอคโคน่ามาแบบมุ่งมั่นกับตลาดนี้เต็มที่
(Positioning Magazine มกราคม 2553)
ลูกค้าใหม่วัยทวีน
เป็นเพราะ “ไอศกรีม” ระดับแมสในไทย ยังไม่มีเซ็กเมนต์ “Tween” มาก่อน เป็นช่องว่างการตลาดที่ทำให้เนสท์เล่ตัดสินใจเปิดเกมรบสานต่อกลยุทธ์ Segmentation มุ่งจับกลุ่มวัยรุ่นตอนต้นอายุ 13-17 ปี โดยสร้างแบรนด์ Nestle 13
(Positioning Magazine กันยายน 2552)
ตัวแม่ลุยเอง
หลังจากปล่อยให้แบรนด์เล็กแบรนด์น้อยเริงใจทำตลาดกาแฟเพื่อการดูแลรูปร่างอยู่เป็นนาน เนสกาแฟแบรนด์ Instant Coffee ตัวแม่ ได้ฤกษ์ลุยตลาดเองภายใต้ร่มชื่อ เนสกาแฟ โพรเทค โพรสลิม (Nescafe Protect ProSlim) หลังซุ่มเงียบทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 2 ปี
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
ศึกร้อนๆ ไอศกรีม วอลล์ ปะทะ เนสท์เล่ ใครจะหนาว?
สินค้าเย็นๆ อย่างไอศกรีม แต่อุณหภูมิการแข่งขันระหว่างวอลล์ และเนสท์เล่ กลับร้อนแรงยิ่งนัก เมื่อวอลล์ ชิงช่องทางขายในกรุงเทพฯ ไว้แบบเบ็ดเสร็จ แบรนด์รองอย่าง “เนสท์เล่” จึงต้องใส่เกียร์วิ่งสู้ฟัด ไล่กวดผู้นำ ด้วยการยึดครองช่องทางขายแบบดั้งเดิม เจาะตลาดภูธร ควบคู่ไปกับการปรับภาพลักษณ์ซับแบรนด์ใหม่ให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
(Positioning Magazine ธันวาคม 2551)
เนสท์เล่ พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
วิกฤตไม่ใช่แค่สร้างความเสียหายมหาศาลให้กับผู้เพลี่ยงพล้ำทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ แต่ยังสามารถสร้างโอกาสให้กับผู้ที่รู้จักฉกฉวยเอาไว้ในมือได้ “เนสท์เล่” ก็พยายามคว้าโอกาสนี้ไว้จาก “วิกฤตเมลามีน” ท่ามกลางความคลุมเครือสับสนของผู้บริโภคที่ต่างไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์นมผงเด็กว่าปลอดภัยจากสารปนเปื้อนเมลามีนหรือไม่
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)