Tesco – Big C เปิดศึกแย่งชื่อ Extra
เป็นการแก้เกมอย่างรวดเร็วแบบตาตาต่อตา ฟันต่อฟัน สำหรับเทสโก้ โลตัส หลังจากที่ บิ๊กซี ประกาศเปลี่ยนชื่อคาร์ฟูร์ เป็น BigC eXtra ซึ่งเทสโก้เลือกแตกหักด้วยการใช้ชื่อ เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์ตร้า ปะทะกับบิ๊กซีโดยตรง
(Positioning Magazine 11 พฤษภาคม 2554)
เรื่องเล่า "ตลาดต่างจังหวัด" เทสโก้ โลตัส
ไฮเปอร์มาร์เก็ตอย่างเทสโก้ โลตัส คือหนึ่งในปัจจัยชี้วัดความเจริญของเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ที่ไปเปิดสาขา วีณา อรัญญเกษม อดีตรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหารพื้นที่เช่าและสื่อโฆษณา เทสโก้ โลตัส ผลงานอันโดดเด่นในระยะเวลา 8 ปี ทำให้พื้นที่เช่าของเทสโก้ โลตัส เพิ่มขึ้น 8 เท่า ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้น 5 เท่า
( 10 พฤษภาคม 2554)
โปรฯ โลตัสรอบนี้จัดหนัก เพื่อลูกค้าคาร์ฟูร์
เทสโก้ ออกแคมเปญพร้อมโฆษณาลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยมีใจความสำคัญว่า หากนำคูปองคาร์ฟูร์มาใช้ที่เทสโก้คู่กับคลับการ์ด สามารถเพิ่มมูลค่า 2 เท่า จาก 80 บาท เป็น 160 บาท เพื่อดึงลูกค้าของคาร์ฟูร์ให้หันมาเป็นลูกค้าของเทสโก้
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2554)
ช้อปเอง สแกนเองที่เทสโก้
คนอังกฤษที่ไปช้อปปิ้งที่ ”เทสโก้” ต่อไปนี้มีทางเลือกไม่ต้องเข้าคิวที่เคาน์เตอร์ รอพนักงานสแกนสินค้าอีกต่อไป เพราะเทสโก้ Ramford โดยให้ลูกค้าถืออุปกรณ์ไปกับตัวและสแกนสินค้าที่เลือกช้อปมาเอง สุดท้ายก็ถืออุปกรณ์ตัวนั้นไปที่จุดจ่ายเงิน
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2553)
ช๊อปซิมที่เทสโก้ โลตัส
เมื่อการทำตลาดกับกลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับ “วัน-ทู-คอล” เริ่มถึงจุดอิ่มตัว การขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในปีนี้ ด้วยความสัมพันธ์ที่มีอย่างต่อเนื่องกับดิสเคาท์สโตร์รายใหญ่อย่างเทสโก้ โลตัส จึงเกิดไอเดียแบ่ง Segment SIM เพื่อลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ
(Positioning Magazine พฤษภาคม 2553)
คลับการ์ดครองเมือง
บัตรสมาชิก หรือคลับการ์ด กำลังถูกใช้เป็น “อาวุธ”การตลาดชั้นดี ที่ถูกบรรจุอยู่ในแผนการสู้รบ เพื่อรักษาฐานที่มั่นในธุรกิจ และครองใจฐานลูกค้า ยิ่ง Trend Area ใกล้กันชนิดแทบหายใจรดต้นคอ แถมเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่กลายเป็น Price Sensitive เลือกซื้อสินค้าตาม “โปรโมชั่น” ไร้ความจงรักภักดี ไม่ยึดติดกับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ที่ไหนราคาถูกกว่าหมายถึงข้อเสนอที่ดีกว่า
(Positioning Magazine ธันวาคม 2552)
ศึกชิงปั๊ม ปตท. สงครามคอนวีเนียนสโตร์เที่ยวล่าสุด
ด้วยเครือข่ายกว่า 1,300 แห่งทั่วไทย ส่งผลให้ปั๊ม ปตท. ได้กลายเป็นสมรภูมิแห่งใหม่ของธุรกิจค้าปลีก ที่ต้องการแผ่อาณาจักรธุรกิจเข้าถึงผู้บริโภคที่มา ใช้บริการ “ซื้อ-ดื่ม-กิน-ช้อป” ในปั๊มน้ำมัน แถมยังไร้ข้อจำกัดเรื่องเวลา ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เซ็นทรัลหวนคืนสู่ซัพพลายเออร์รายใหญ่ป้อนสินค้าให้ร้าน “จิฟฟี่” ของ ปตท. โดยมี “เซเว่นอีเลฟเว่น” เตรียมขยายร้านในปั๊ม ปตท. จาก 700 สาขาเพิ่มเป็น 1,300 สาขา
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2552)
อย่างนี้มันต้อง “ลด” (ไม่เลิก)
เป็นธรรมดาของไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ชูจุดขายเรื่อง “ราคา” ยิ่งรายงานจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยตัวเลขดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคอยู่ที่ 71.5% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 90 เดือน เทสโก้ โลตัส ไม่รอช้า ชักธงรบประกาศ “สงครามราคา” อย่างชัดเจน
(Positioning Magazine สิงหาคม 2552)
สูตรลับ เฮาส์แบรนด์ ดาวรุ่งยุคเศรษฐกิจตก
เศรษฐกิจโลกดิ่ง แต่ House Brand รุ่งทั่วโลก รวมถึงในไทย ที่ทุกรายพูดเหมือนกันว่า นี่คือโอกาสทองของ House Brand ที่ไม่ควรปล่อยให้หลุดลอย แต่จะขายได้ ขายของเก่ากินด้วยภาพลักษณ์แบบเดิมๆ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพและดีไซน์เป็นหนทางสู่จุดขายใหม่กับ Premium House Brand ที่ดูดี แต่ยังคงจุดแข็งเรื่องราคา ตอกย้ำความ Exclusive ให้กับไฮเปอร์มาร์เก็ตของตัวเองได้เป็นอย่างดี
(Positioning Magazine มีนาคม 2552)
โลตัสกระตุกหนวดศูนย์การค้า
ถนนศรีนครินทร์จะมีการจราจรติดขัดยิ่งกว่าเคย เมื่อเทสโก้ โลตัสได้ทำการแปลงโฉมไฮเปอร์มาร์เก็ตรูปแบบเก่า ใส่ดีกรีความเข้มข้นของโซนพื้นที่เช่า หรือชอปปิ้งมอลล์ เข้าไปจนมากกว่าพื้นที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตเอง ภายใต้ชื่อ “พลัส ช้อปปิ้งมอลล์” ซึ่งเป็นโมเดลใกล้เคียงกับศูนย์การค้าเพียงแต่มีขนาดของไฮเปอร์มาร์เก็ตหรือส่วนห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ โดยมีแบรนด์สินค้าแฟชั่น แบรนด์ร้านอาหารชั้นนำมากมาย
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)