ปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือตอนบน : กระทบธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ 2,000 ล้านบาท
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอนมีเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกันในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2550 ลดลงประมาณ 2,000 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 25.0
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 15 มีนาคม 2550)
แนวโน้มตลาดแรงงานไทยในสิงคโปร์ ปี 2550
ประเทศสิงคโปร์ ถือได้ว่าเป็นจุดหมายปลายทางหนึ่งของแรงงานไทยที่น่าจับตามอง เนื่องจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์มากกว่าปีละ 1 หมื่นคน นอกจากนั้นในปี 2549 ยังมีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์เป็นจำนวนมากถึง 15,115 คน ซึ่งจัดอยู่ในอันดับที่ 3 ของจำนวนแรงงานไทยที่เดินทางออกไปทำงานทั่วโลก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 14 มีนาคม 2550)
มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา : เอื้อประโยชน์ผู้ป่วยเข้าถึงยา…ในราคาถูก
การเข้าถึงยาด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงจนเกินควรถือเป็นสิทธิที่ภาครัฐต้องจัดให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและด้อยโอกาสในการใช้บริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันกับผู้มีรายได้สูง ในขณะเดียวกัน รายได้ของบริษัทผู้ผลิตยาในระดับที่พอเหมาะไม่น้อยจนเกินไปก็ถือเป็นทุนดำเนินการให้บริษัทยาสามารถนำไปใช้วิจัยและพัฒนายารักษาโรคชนิดใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 9 มีนาคม 2550)
ความต้องการปุ๋ยอินทรีย์พุ่ง : จากกระแสนิยมสินค้าเกษตรอินทรีย์
ประเทศไทยสามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในการผลิตและการส่งออกปุ๋ยอินทรีย์ในภูมิภาคนี้ได้ ถ้าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการขยายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากไทยมีปัจจัยหนุนจากปริมาณและความหลากหลายของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ แม้ว่าในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 9 มีนาคม 2550)
ร่าง พ.ร.บ.เงินตรา ... การแก้ไขที่มีนัยสำคัญต่ออนาคตของทุนสำรองไทย
แม้ว่าความพยายามของทางการในการแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราในปี 2550 คงจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตราของไทยให้สูงขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสในการจ่ายชำระคืนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ได้มากขึ้น แต่การแก้ไข พ.ร.บ.เงินตราในครั้งนี้ อาจไม่สามารถตอบโจทย์สำคัญเกี่ยวกับอนาคตของทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยได้ทั้งหมด
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 7 มีนาคม 2550)
ธุรกิจสาระ-บันเทิงปี 50 : ปรับโมเดลธุรกิจ...จับกระแสมือถือ-อินเทอร์เน็ต
แนวโน้มของธุรกิจบันเทิงในระยะต่อไปนั้น จะมีการปรับตัวไปสู่กระแสของสินค้าที่เข้าไปร่วมกับสินค้าประเภทเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประเภทของสื่อจากเดิมมาสู่การใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจบันเทิงนั้นน่าจะมีส่วนสำคัญที่จะสามารถใช้สื่อสมัยใหม่เหล่านี้หรือพัฒนาเข้าสู่การเป็นคอนเทนท์ให้บริการ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 มีนาคม 2550)
ถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ : ศักยภาพการเติบโต...ที่ไม่ควรมองข้าม
ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีศักยภาพในอนาคต เนื่องจากถั่วเขียวมีตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออก ความต้องการใช้ถั่วเขียวในอุตสาหกรรมภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ปริมาณผลผลิตค่อนข้างคงที่ และในบางปีลดลงจากปัญหาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเขียวบางรายหันไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 มีนาคม 2550)
อสังหาริมทรัพย์ไทย …ผลจากการแก้ไข พ.ร.บ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การจัดทำร่างกฎหมายฉบับใหม่ของกระทรวงพาณิชย์นั้น ควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ รวมทั้งควรให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดการตรวจสอบสถานะของบริษัทในประเด็นการเป็นตัวแทนคนต่างด้าว ให้มีความชัดเจนโดยเร็วที่สุด เนื่องจากประเด็นดังกล่าวจะมีผลต่อเนื่องไปถึงผู้บริโภคที่อาจได้รับผลกระทบ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 มีนาคม 2550)
ราคาสุกรตกต่ำ : ข่าวร้ายผู้เลี้ยงสุกร...ข่าวดีผู้บริโภค
ตลาดส่งออกที่น่าสนใจนั้นส่วนใหญ่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนตลาดความหวังของไทยในอนาคตที่ต้องผลักดันต่อไปคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร เนื่องจากข้อจำกัดของเนื้อที่ในการเลี้ยงสุกร โดยผู้เกี่ยวข้องในวงการสุกรของไทยต้องฟันฝ่าอุปสรรคในเรื่องความเข้มงวดในการตรวจสอบทางด้านสุขอนามัย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 มีนาคม 2550)
ทีวีดาวเทียม : เปิดยุคสื่อรูปแบบใหม่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ในการจัดระเบียบของธุรกิจสื่อโทรทัศน์นั้นยังมียุ่งยากซับซ้อนค่อนข้างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการออกอากาศได้รับการพัฒนาขึ้น การหลอมรวมของสื่อหลายหลายชนิดทั้งในด้านการหลอมรวมในระดับเครื่องมือที่ใช้ในการออกอากาศ และเนื้อหารายการ มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 มีนาคม 2550)