สินค้าปลอมปนสารพิษ : บทเรียนจากจีนสู่ไทย
ปี 2550 เป็นต้นมา เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสินค้าจีนได้ส่งผลให้จีนตกเป็นเป้าโจมตีอย่างหนักจากสื่อมวลชนในต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้ประกอบการไทยได้เช่นกัน เพราะที่ผ่านมาประเด็นด้านความปลอดภัยของสินค้าไทยเป็นประเด็นที่ประเทศต่างๆ ยกขึ้นบ่อยครั้งเพื่อเป็นเหตุผลในการปฏิเสธการนำเข้าสินค้าของไทยด้วย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 9 สิงหาคม 2550)
การประชุม FOMC 7 ส.ค. คาดเฟดตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.25 ตามเดิม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด คงจะมีมติให้ตรึงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ร้อยละ 5.25 ตามเดิมในการประชุมรอบที่ 5 ของปีในวันที่ 7 สิงหาคม 2550 นี้ โดยเฟดน่าจะยังคงให้น้ำหนักหลักอยู่ที่ความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อที่ยังไม่ปรับตัวลดลงมาอย่างชัดเจนเท่าที่คาดหวัง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 8 สิงหาคม 2550)
รองเท้ากีฬา : พิษค่าเงินบาท ต้นทุนเพิ่ม สู้จีนและเวียดนามไม่ได้
อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬานับเป็นอีกอุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการบางรายต้องปิดตัวลง และบางรายเริ่มใช้มาตรการชะลอการจ้างงาน เมื่อต้องเผชิญกับผลกระทบของค่าเงินบาท หลังจากในระยะที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาต้องเผชิญกับปัญหานานัปการ รวมทั้งปัญหาจากการส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการที่คำสั่งซื้อเริ่มย้ายไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งมีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าไทย ทำให้ราคาส่งออกรองเท้ากีฬานั้นต่ำกว่าไทย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 7 สิงหาคม 2550)
10 ปี หลังวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ไทย: ทิศทางตลาดครึ่งหลังปี’50…ปัญหาที่ต้อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2550 คาดว่าจะยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก เนื่องจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง และทิศทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องค่าเงินบาทที่อาจส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจส่งออกในขณะนี้ อาจเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลต่อผู้บริโภคและอาจกระทบต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 สิงหาคม 2550)
มาตรการแก้ไขการแข็งค่าของเงินบาท : ตลาดตอบรับ …แต่ความไม่แน่นอนยังรออยู่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า มาตรการล่าสุดในการแก้ปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงิน โดยยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจจะสร้างความผันผวนให้กับค่าเงินบาทรออยู่ในช่วงถัดไป ซึ่งทำให้ความต่อเนื่องของมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเพื่อบรรเทาผลกระทบ และลดความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ภาคธุรกิจไทยได้มีเวลาปรับตัว
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 26 กรกฎาคม 2550)
ปุ๋ยเคมีปี’50 : เงินบาทแข็งค่า...ราคานำเข้าลดลง
แนวโน้มอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในระยะสั้นคงจะต้องพึ่งพาการนำเข้าต่อไป แม้ว่าจะมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แต่เกษตรกรยังคงต้องการใช้ปุ๋ยเคมี เนื่องจากการลดลงของพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรและความต้องการปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าในระยะ 3-5 ปีข้างหน้าความต้องการปุ๋ยเคมีของไทยมีโอกาสจะสูงขึ้นไปถึง 6 ล้านตันต่อปี
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 กรกฎาคม 2550)
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ความสามารถในการแข่งขันลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาท
อัตราการขยายตัวของการผลิตและการส่งออกของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยของทั้งปี 2550 จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยที่การส่งออกได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท ทำให้ผู้ส่งออกมีรายรับลดลง สำหรับสินค้าในหมวดที่คาดว่าจะมีการเติบโตดี ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า (IC) และ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD)
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 กรกฎาคม 2550)
นโยบาย FTA ของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของพรรคเดโมแครต : ผลต่อไทย
หลังจากที่พรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ ครองเสียงข้างมากของทั้งสองสภาสหรัฐฯ อาจส่งผลให้การเจรจาเปิดเสรีการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการเจรจา รวมทั้งประเทศไทย ต้องล่าช้าออกไป ถือเป็นปัจจัยลบอีกประการหนึ่งต่อการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ที่เดิมคาดว่า การจัดทำความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของไทยที่ช่วยให้ขยายตลาดสินค้าในสหรัฐฯ ได้มากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 กรกฎาคม 2550)
ข้าวจีน : คู่ค้า คู่แข่งที่น่าจับตามอง
ผู้ส่งออกข้าวของไทยควรต้องจับตามองจีนทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญอันดับหนึ่งในปัจจุบัน และในฐานะที่ในอนาคตจีนจะเป็นคู่แข่งของไทยในการส่งออกข้าว ซึ่งในระยะสั้นจีนจะเป็นคู่แข่งในการส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ แต่ในระยะยาวจีนจะเป็นคู่แข่งขันในการส่งออกข้าวคุณภาพสูง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากข้าวด้วย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 กรกฎาคม 2550)
ทิศทางค่าเงินบาท : อ่อนค่า…ถ้าลงทุนฟื้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่า ขณะนี้มาถึงจุดเปลี่ยนที่ผู้ส่งออกจะต้องใช้บทเรียนจากการแข็งค่าของเงินบาทในครั้งนี้มาศึกษา และทำการประเมินความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมๆ กับเร่งปรับตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินตามรอยเดิมเมื่อความผันผวนของเงินบาทกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกครั้งในอนาคต
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 13 กรกฎาคม 2550)