ปลานิลไทย : ตลาดขยายตัวทั้งในประเทศและส่งออก
ปัจจุบันไทยผลิตปลานิลได้ประมาณ 200,000 ตันต่อปี กรมประมงมีนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตปลานิลให้มากกว่าที่เป็นอยู่ร้อยละ 10 ทั้งนี้เพื่อขยายตลาดส่งออกปลานิล เนื่องจากผลผลิตปลานิลส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นการบริโภคภายในประเทศ แต่ขณะนี้ยังมีปัญหาเรื่องต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะค่าอาหารปลาที่สูงกว่า
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 18 กันยายน 2550)
ธุรกิจโรงสีข้าว : ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข
ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขคือ การระบายสต็อกข้าวของรัฐที่กระจายเก็บอยู่ในโรงสีที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และการจ่ายเงินค่าบริหารจัดการสต็อกข้าวของรัฐ ทั้งนี้เพื่อทำให้บรรดาโรงสีทั้งหลายมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังต้องเร่งพิจารณาปรับมาตรการรับจำนำข้าวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดโลก โดยเฉพาะการกำหนดราคารับจำนำข้าว
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 กันยายน 2550)
สหรัฐฯยกเลิกการเก็บภาษีเอดีกุ้งเอกวาดอร์ : ผลกระทบกุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ
กรณีที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯประกาศยกเลิกการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของเอกกวาดอร์ตามคำตัดสินขององค์การการค้าโลก นับเป็นข่าวดีของผู้ส่งออกกุ้งของไทยในประเด็นที่ยืนยันได้ว่าการคำนวณอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐฯนั้นไม่เป็นธรรม ดังนั้นสหรัฐฯคงต้องเปลี่ยนวิธีการคำนวณอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งมีแนวโน้มว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจะลดลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 5 กันยายน 2550)
วิกฤตตลาดซับไพร์ม...ความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลก
ปัญหาในตลาดปล่อยกู้จำนองแก่ลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ของสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอื่นๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้ผ่านทางนวัตกรรมของการเปลี่ยนสินเชื่อของลูกหนี้ซับไพร์มเป็นตราสารทางการเงินชนิดอื่น และผลที่ตามมาก็คือ ตลาดสินเชื่อทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะตึงตัวอย่างหนัก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 4 กันยายน 2550)
ธุรกิจบัตรเครดิตครึ่งหลังปี 50 …ปัญหาที่ต้องระวัง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังปี 2550 การเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิตน่าจะมีการชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง และการแข่งขันบัตรเครดิตที่ยังคงมีความเข้มข้น ซึ่งผู้ออกบัตรคงจะต้องรักษาคุณภาพของบัตรเครดิตมากกว่าปริมาณ หรือการเน้นสร้างฐานบัตรเครดิตที่ใหญ่ โดยต้องพยายามรักษาลูกค้าไม่ให้ยกเลิกบัตร
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 28 สิงหาคม 2550)
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลปี’50 : เร่งปรับตัว...ปรับผลิตภัณฑ์เจาะขยายตลาด
แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกปี 2550 ผลกระทบค่าเงินบาทต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยังไม่ชัดเจน โดยมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง แต่สำหรับอาหารทะเลแปรรูปมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกลดลงอย่างชัดเจน เพราะการเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง และสหรัฐฯซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลดการนำเข้า
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 สิงหาคม 2550)
ตลาดเหล็กไทยซบเซาสวนทางตลาดโลกคึกคัก ท่ามกลางค่าเงินบาทที่ผันผวน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าหากภาวะเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งหลังของปี 2550 กระเตื้องขึ้น พร้อมกับสถานการณ์การเมืองในประเทศที่เริ่มคลี่คลาย ก็จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งการก่อสร้างกลับมาฟื้นตัวได้ ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศกระเตื้องขึ้นตามไปด้วย และอาจทำให้ตลอดทั้งปีนี้ปริมาณความต้องการขยายตัวได้เล็กน้อยประมาณร้อยละ 2-3
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 สิงหาคม 2550)
ปาล์มน้ำมันราคาพุ่ง : กระทบตลาดน้ำมันบริโภคและโครงการไบโอดีเซล
หลากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศผลักดันให้ราคาผลปาล์มน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งน้ำมันปาล์มบรรจุขวดและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม โดยผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นไว้ แนวทางออกของผู้ประกอบการคือการปรับตัวโดยการปรับประสิทธิภาพการผลิตและพยายามขยายฐานการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณยอดการจำหน่าย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 10 สิงหาคม 2550)