โครงการ 12.26 ล้านล้านบาทของรัฐบาล … ประเด็นความท้าทายด้านการคลัง
โดยสรุปแล้ว เมื่อพิจารณาถึงแผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะข้างหน้า ในขณะที่ การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพื่อนำมาใช้จ่ายเงินตามกรอบที่วางไว้ที่อาจจะไม่สามารถจะครอบคลุมหรือชดเชยภาระทางการคลังได้ทั้งหมด ในขณะที่ รัฐบาลเองก็เผชิญกับข้อเรียกร้องให้พิจารณาปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 มีนาคม 2551)
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอ...ความเสี่ยง Stagflation เพิ่มขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า ภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Stagflation อาจทำให้การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของเฟดเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงขาลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ท่ามกลางแรงกดดันเงินเฟ้อ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 12 มีนาคม 2551)
วงการพระเครื่องปี’51 : กระแสจตุคาม-รามเทพซบเซา...ตลาดพระเครื่องยังทรงตัว
ตลาดพระเครื่องในปี 2551 มีแนวโน้มทรงตัว คาดการณ์ว่ากระแสเงินสะพัดในวงการพระเครื่องยังอยู่ในระดับ 40,000 ล้านบาท เนื่องจากยังคงมีการเช่าพระเครื่องอื่นๆ ทั้งพระเกจิ และพระใหม่ โดยราคาของพระเครื่องยังคงมีการปรับตัวสูงขึ้น ผู้จัดสร้างพระเครื่องพระบูชาต้องเผชิญปัญหาต้นทุนการจัดสร้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 มีนาคม 2551)
เครื่องดื่มชูกำลังปี’51 : ตลาดมูลค่า 16,000 ล้านบาท...แข่งขันเข้มข้น
ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังในปี 2551 อาจมีข้อจำกัดด้านการผลักดันให้ตลาดเติบโตเนื่องจากภาวะค่าครองชีพของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเข้ามาในตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความได้เปรียบด้านงบประมาณและช่องทางการจัดจำหน่ายอันแข็งแกร่ง จะทำให้ตลาดเครื่องดื่มชูกำลังมีภาพการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 10 มีนาคม 2551)
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ปี 51...ได้แรงหนุนจากการยกเลิกมาตรการกันสำรองฯ
กล่าวโดยสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองในเชิงบวกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญที่สุดต่อการขยายตัวของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในปี 2551 ให้กลับมามีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 มีนาคม 2551)
การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ดีต่อภาวะการลงทุน
ถือว่าเป็นการกำจัดอุปสรรคของการลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลดีต่อตลาดทุนไทยโดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งเป็นผลดีต่อการลงทุนต่างๆ ของภาคเอกชน เช่น กองทุนรวมต่างๆ โดยเฉพาะกองทุนอสังหาริมทรัพย์
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 5 มีนาคม 2551)
พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่: เสริมสร้างความมั่นคงแก่สถาบันการเงินไทย
การบังคับใช้ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินใหม่ น่าที่จะส่งผลดีต่อการกำกับดูแลสถาบันการเงินของทางการ โดยเฉพาะ ธปท.ให้มีความเป็นอิสระและประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ทางการไทยมีเครื่องมือจัดการกับปัญหาความอ่อนแอของสถาบันการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ปัญหาจะบานปลายเหมือนเช่นวิกฤติสถาบันการเงินปี 2540
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 28 กุมภาพันธ์ 2551)
ธุรกิจญี่ปุ่นเตรียมลงทุนเพิ่มหลังการเมืองชัดเจน
นักลงทุนมองว่าสภาพธุรกิจในปี 2551 จะดีขึ้นกว่าปีก่อนและมีการคาดการณ์ในทางบวกต่อยอดขาย การส่งออก และผลกำไร ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนทั้งทางด้านโรงงานและเครื่องจักรเพิ่มขึ้น โดยนักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และเหล็ก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 27 กุมภาพันธ์ 2551)
เวียดนามพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ … สร้างโอกาสการลงทุนของไทย
สิ่งท้าทายของนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม ที่สำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจีสติกส์ของเวียดนามที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น รวมถึงการขาดแคลนแรงงานทักษะในเวียดนาม ที่ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานทักษะปรับตัวสูงขึ้น ภาครัฐของไทยควรสนับสนุนและช่วยเหลือด้านข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 27 กุมภาพันธ์ 2551)
เศรษฐกิจไทยหลังรัฐบาลใหม่ ... ความคาดหวังและประเด็นที่ต้องติดตาม
ภาพรวม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2551 โดยประเมินว่า ปัญหาราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2551 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.7-4.0 เศรษฐกิจไทย อาจขยายตัวในระดับใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า โดยมีค่ากลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.6 และมีช่วงกรอบประมาณการระหว่างร้อยละ 4.0-5.2
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 25 กุมภาพันธ์ 2551)