ผ้าอนามัยปี’51 : แข่งเดือด...สร้างแฟนพันธุ์แท้…ช่วงชิงกำลังซื้อหญิงยุคใหม่
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การแข่งขันของตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยในปี 2551 จะยังคงเต็มไปด้วยสีสันและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไม่แพ้ปีก่อนหน้า ทั้งนี้เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม ช่วงชิงลูกค้าใหม่ และขยายยอดขายให้ได้ตามเป้า โดยเฉพาะการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 26 มีนาคม 2551)
ธุรกิจบัตรเครดิต: ผู้บริโภคปรับตัวใช้จ่ายตามภาวะเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะมีการทำแคมเปญการตลาดกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต โดยเสนอกลยุทธ์จูงใจให้ใช้บัตรเครดิตก็ตาม แต่ผู้ใช้บัตรเครดิตส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยใช้จ่ายอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวังมากขึ้น และจะเลือกใช้บัตรเครดิตในการชำระค่าสินค้าหรือบริการ โดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์จากบัตร โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีบัตรเครดิตหลายบัตร
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 25 มีนาคม 2551)
เส้นทางเศรษฐกิจและโอกาสในการเชื่อมโยงโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่ากรอบความร่วมมือ GMS เป็นโอกาสสำคัญสำหรับไทยในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ โดยเฉพาะในเส้นทาง R3A และ R9 อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจ GMS ยังมีปัญหาและอุปสรรค เช่น ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัญหาด้านกฎระเบียบ ปัญหาการขาดศักยภาพของผู้ประกอบการไทย เป็นต้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 มีนาคม 2551)
เกษตรอินทรีย์ไทยโอกาสก้าวไกล...หากภาครัฐเร่งยกระดับมาตรฐานการผลิต
จากปัจจัยหลายด้านซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนให้สินค้าเกษตรอินทรีย์มีโอกาสขยายตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ทั้งจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคปัจจุบันที่หันมาใส่ใจต่อสินค้าเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น กระแสด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความพยายามยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของตลาดต่างประเทศ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 มีนาคม 2551)
ความเหลื่อมล้ำของรายได้...อุปสรรคต่อความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่า ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำของรายได้ในสังคมไทยเป็นเรื่องสำคัญที่อาจทำให้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศเป็นไปได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้เกิดอุปสรรคต่อความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศ และยังอาจนำไปสู่ปัญหาสังคมและคุณภาพชีวิตในที่สุด
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 มีนาคม 2551)
การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ : ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย
ในปีนี้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าต้องคอยติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจสหรัฐ อันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินและปริมาณการค้าโลก โดยเฉพาะประเทศที่เศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจสหรัฐในระดับสูง อาทิ จีน รัสเซีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ เป็นต้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 20 มีนาคม 2551)
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์: มาตรการกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย...ฝ่าปัจจัยลบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์น่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้บริโภคบางกลุ่มชะลอการซื้อ หรือโอนที่อยู่อาศัยจนกว่ามาตรการภาษีจะมีผลบังคับใช้ แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะเป็นแรงกดดันทำให้มีการปรับขึ้นราคาค่าก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 19 มีนาคม 2551)
ธุรกิจสุกร : มาตรการตรึงราคา...ผลกระทบและแนวโน้มในอนาคต
มาตรการตรึงราคาจำหน่ายหมูเนื้อแดงที่กิโลกรัมละ 98 บาทของกระทรวงพาณิชย์ แม้ว่าจะเป็นเจตนาดีที่จะช่วยชะลอการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาเนื้อหมู แต่ผู้ที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยและบรรดาเขียงหมูรายย่อยที่ไม่ได้อยู่ในตลาดสดที่เข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงผู้บริโภคบางกลุ่มที่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ามาตรการตรึงราคาเนื้อหมูนั้นดำเนินการในบางพื้นที่เท่านั้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 มีนาคม 2551)
การประชุม 18 มี.ค. … เฟดอาจลดดอกเบี้ยลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.50
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมตามวาระปกติเป็นรอบที่สองของปีในวันที่ 18 มีนาคม 2551 นี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดคงจะเทน้ำหนักไปที่ความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นหลักมากกว่า เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากปัญหาในตลาดสินเชื่อ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 มีนาคม 2551)