ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารประเทศไทย ...
การขยายตัวของ GDP ในไตรมาสแรก น่าจะอยู่ในกรอบร้อยละ 5.5-6.0 ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2550 อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวในไตรมาสถัด ๆ ไป อาจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง โดยเป็นผลจากแรงกดดันเงินเฟ้อ และผลจากฐาน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 พฤษภาคม 2551)
ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ : ลดภาระค่าครองชีพได้เพียงระดับหนึ่ง
สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้มีการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้งในปี 2551 เนื่องจากราคาสินค้าและค่าครองชีพโดยทั่วไปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงส่งผลทำให้ภาระค่าครองชีพในส่วนของการเดินทางมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 พฤษภาคม 2551)
ข้าวแพง : ระวังความเสี่ยง...ราคาผันผวน
สต็อกข้าวของโลกอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 24 ปี(ตั้งแต่ปี 2543) สต็อกข้าวโลกลดลงมากจากกว่า 100 ล้านตัน เหลือเพียงกว่า 70 ล้านตัน โดยเฉพาะสต็อกข้าวของจีนและอินเดีย ทำให้ 2 ประเทศระงับการส่งออกเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตในแต่ละปีไม่ว่าจะมากหรือน้อยส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาข้าวในตลาดโลก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 30 เมษายน 2551)
ตลาดเวียดนาม : โอกาสของธุรกิจค้าปลีกไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ของไทยที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมานานและมีเงินทุนจำนวนมาก รวมทั้งมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งน่าจะมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดค้าปลีกเวียดนามและมีโอกาสขยายธุรกิจห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าในเวียดนามได้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 29 เมษายน 2551)
วิกฤตอาหารโลก : ผลกระทบ...โอกาสของไทย
ประเทศไทยค่อนข้างจะโชคดีที่เป็นประเทศที่ส่งออกอาหารสุทธิที่สำคัญของโลก ดังนั้นประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบของวิกฤตอาหารค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยผู้บริโภคในประเทศแม้ว่าต้องซื้อสินค้าธัญญาหารในราคาที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลน จนนำไปสู่การจราจลและการประท้วงอย่างรุนแรง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 29 เมษายน 2551)
โอกาสของธุรกิจไทย ... เปิดโลกสู่การลงทุนในต่างประเทศ
การออกไปลงทุนตั้งฐานการผลิตในต่างประเทศเป็นการปรับตัวเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย และการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีต้นทุนต่ำและเข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพ เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่สำคัญที่จะทำให้บริษัทไทยสามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคได้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 28 เมษายน 2551)
แรงกดดันเงินเฟ้อโลก ... ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่งจะพุ่งขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จะส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อของโลกเผชิญกับความผันผวนในช่วง 12-18 เดือนนับจากนี้ ส่งผลให้การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในปีนี้ทำได้จำกัด ในขณะที่หลายประเทศอาจต้องหันไปพึ่งการกระตุ้นทางการคลัง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 เมษายน 2551)
แผนปฏิรูปโครงสร้างการกำกับดูแลภาคการเงินสหรัฐฯ ...ตัวอย่างที่ไทยต้องเดินตาม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่าความท้าทายของสถาบันในตลาดการเงินไทย จึงน่าจะอยู่ที่การยกระดับมาตรฐานการประกอบธุรกิจ อาทิ การบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะเกณฑ์ Basel II ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันภายในระบบมากกว่า เพื่อให้สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งจากต่างชาติที่คงจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในอนาคต
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 เมษายน 2551)
กล้วยไม้ไทยก้าวไกลในเวทีโลก...การส่งออกปี 2551 จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ปี 2551 มูลค่าการส่งออกกล้วยไม้ของไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 93.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดหลักยังคงอยู่ในตลาดญี่ปุ่น รองลงมาเป็น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ส่วนตลาดที่มีน่าสนใจและมีศักยภาพสูงโดยเฉพาะในตลาดจีนและตลาดอาเซียน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 23 เมษายน 2551)
มาตรการภาษีกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ...ปัจจัยบวกต่อตลาดสีทาอาคารในประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่ามาตรการภาษีของรัฐบาลที่ส่งผลต่อการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์นั้นน่าจะช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจก่อสร้างและตลาดสีทาอาคารให้ฟื้นตัวได้ดีกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งต้องรอดูผลที่จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 หลังจากที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายแล้ว
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 เมษายน 2551)