อุตสาหกรรมรองเท้าหนังปี’ 54 คาดยังเติบโตได้ดี
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ทิศทางการส่งออกรองเท้าหนังไทยในปี 2554 จะยังคงมีแนวโน้มเติบโตดี แต่ไทยก็ยังเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจในการดึงดูดความสนใจผู้ประกอบการข้ามชาติ ให้เข้ามาลงทุนหรือว่าจ้างผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รองเท้าหนังระดับกลางถึงบน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 18 พฤษภาคม 2554)
ตลาดชุดนักเรียนปี ‘54: หวั่นค่าครองชีพพุ่ง...ผู้ปกครองกำลังซื้อลด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ตลาดชุดนักเรียนในปี 2554 มีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 การแข่งขันของตลาดชุดนักเรียนยังคงมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างก็เร่งทำกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อของบรรดาผู้ปกครอง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 13 พฤษภาคม 2554)
ท่องเที่ยวสงกรานต์...คึกคัก : หนุนครึ่งแรกปี’54 ต่างชาติเที่ยวไทยเพิ่มกว่า 10%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงใดมากระทบแล้ว ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปในช่วงที่เหลือของไตรมาสที่สองของปี 2554 โดยได้แรงกระตุ้นสำคัญจากตลาดท่องเที่ยวระยะใกล้ในเอเชีย และตลาดตะวันออกกลาง ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 11 เมษายน 2554)
แผ่นดินไหวและวิกฤตนิวเคลียร์ญี่ปุ่น: ผลต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย
ในช่วงครึ่งแรกของปีที่ทำให้การส่งออกสินค้าลดลงตามความต้องการที่ปรับลดลงในญี่ปุ่น และผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบนำเข้ามาผลิตจากญี่ปุ่น ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตในประเทศก็ตาม แต่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในระยะสั้น โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมคาดว่าจะยังคงรักษาระดับการเติบโตที่เป็นบวกได้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 1 เมษายน 2554)
แผ่นดินไหวในญี่ปุ่น : กระทบตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศของไทย...โตช้าลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การเดินทางไปญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวคนไทยในปี 2554 จะมีแนวโน้มต่ำกว่า ที่คาดการณ์ไว้เดิมในช่วงก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นว่า จะมีนักท่องเที่ยวคนไทยเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นประมาณ 300,000 คน และคาดว่าจะมีการใช้จ่ายในญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 30 มีนาคม 2554)
เฟอร์นิเจอร์ไทยในญี่ปุ่นปี 54: เหตุแผ่นดินไหวคาดกระทบยอดส่งออกในระยะสั้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ของไทยจะได้รับผลกระทบต่อยอดคำสั่งซื้อในระยะสั้น โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ส่งออกที่สำคัญของไทยในตลาดญี่ปุ่น แต่คาดว่าความต้องการเฟอร์นิเจอร์ของญี่ปุ่นจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากการฟื้นฟูอาคาร บ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 30 มีนาคม 2554)