ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองต่อเศรษฐกิจไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2551 นี้ ลงมาที่ร้อยละ 3.6-5.0 ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาทางการเมือง คาดว่าประเทศไทยอาจสูญเสียรายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในช่วงเดือนกันยายน ประมาณ 9,000-15,000 ล้านบาท
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 12 กันยายน 2551)
การเทคโอเวอร์ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค ...ช่วยลดความเสี่ยงในภาคการเงินลงบางส่วน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีความเห็นว่า เมื่อประเมินถึงสาระสำคัญของการนำ แฟนนี เม และเฟรดดี แมค เข้าสู่แผนพิทักษ์กิจการนั้น อาจทำให้เสาหลักของตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสามารถกลับมาดำเนินงานได้อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง หลังจากที่สถานะทางการเงินกลับมามีความเข้มแข็งเพียงพอ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ ค่อยๆ ฟื้นกลับคืนมา
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 12 กันยายน 2551)
แนวโน้มค้าปลีกครึ่งปีหลัง’ 51 : ลุ้นหนัก...ฝ่ากำลังซื้อหด
จากปัจจัยลบที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเด่นชัดมากกว่าปัจจัยบวกต่อภาพรวมธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งหลังปี 2551 ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราเงินเฟ้อยังสูงอยู่ ราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง แม้ว่าจะอ่อนตัวลงมาบ้างแล้วในครึ่งหลังปี 2551 รวมถึงปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง ที่คาดว่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาซ้ำเติมบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 กันยายน 2551)
ควันหลงโอลิมปิก 2551 : กระตุ้นธุรกิจค้าปลีกในจีน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความคิดเห็นว่า แม้ว่าโอกาสการเข้าไปลงทุนในตลาดค้าปลีกของจีนยังคงเป็นที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนจากปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจหลายด้าน แต่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้ามปัจจัยเสี่ยงทั้งในด้านการแข่งขันที่ดุเดือด ต้นทุนของธุรกิจที่ถีบตัวสูงขึ้น และ ปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศจีน ซึ่งยังคงเป็นโจทย์อันท้าทาย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 กันยายน 2551)
ค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน : ปรับกลยุทธ์...ฝ่าปัจจัยลบ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ตลาดค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ตกแต่งและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในปี 2551 น่าจะมีมูลค่าประมาณ 292,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ในปี 2550 ปัจจัยที่น่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัว คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ประกาศใช้ในช่วงที่ผ่านมา
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 กันยายน 2551)
ท่องเที่ยวครึ่งหลังปี’51 : ผลกระทบจากความรุนแรงของเหตุการณ์ชุมนุม
รายได้ที่คาดว่าบรรดาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีแนวโน้มจะสูญเสียไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 เม็ดเงินส่วนใหญ่ คือ ประมาณร้อยละ 28 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,000-20,000 ล้านบาทเป็นรายได้ที่คาดว่าธุรกิจด้านที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม และรีสอร์ตจะสูญเสียไป
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 กันยายน 2551)
อาหารสัตว์เลี้ยง : เติบโตต่อเนื่อง...หลากปัจจัยหนุน
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงนับเป็นธุรกิจด้านการเกษตรที่ยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เนื่องจากหลากปัจจัยสนับสนุนโดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของจำนวนสัตว์เลี้ยง และลักษณะการเลี้ยงที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความใส่ใจกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสัตว์เลี้ยงมากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 9 กันยายน 2551)
อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมชะลอลงอย่างมาก
ประเด็นสำคัญที่ยังคงต้องติดตามก็คือ สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่แม้ว่าจะได้ปรับตัวลงมาค่อนข้างมากในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ราคาน้ำมันดังกล่าวยังคงมีโอกาสผันผวน รวมทั้งราคาสินค้าผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้น ยังคงต้องติดตามทิศทางราคาสินค้าเกษตร ซึ่งแม้ว่ามีแนวโน้มอ่อนตัวลงในระยะข้างหน้า
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 4 กันยายน 2551)