จับตาเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัว : กระทบการส่งออกไทย
คาดว่าการส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นในปี 2551 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10-12 ชะลอลงจากช่วง 8 เดือนแรกของปีที่เติบโนร้อยละ 16 ซึ่งเป็นโจทย์อันท้าทายสำหรับรัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อออกมาตรการและนโยบายในการรับมือ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบทางการค้า
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 ตุลาคม 2551)
แนวโน้มอุตสาหกรรมไทยท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจโลก
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในภาคการเงินสหรัฐฯ ที่อาจนับได้ว่าเป็นวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ไม่เพียงแต่สร้างความปั่นป่วนในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก แต่ผลกระทบที่ขยายวงกว้างไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ของโลก อาจจะนำไปสู่การชะลอตัวลงรุนแรงของเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปีหน้า
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 ตุลาคม 2551)
สินเชื่อส่วนบุคคลทิ้งทวนปี 2551: ศึกหนักมรสุมเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบในปี 2551 น่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 230,500-232,000 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.9-9.5 ชะลอตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 12.5 ในปี 2550 โดยแม้ว่าเศรษฐกิจจะประสบกับภาวะชะลอตัว แต่การที่ผู้บริโภคบางกลุ่มอาจมีความต้องการสภาพคล่องสูงขึ้นจึงทำให้ยังคงมีความต้องการสินเชื่อส่วนบุคคล
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 ตุลาคม 2551)
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ VS. วิกฤตต้มยำกุ้ง ผลกระทบที่แตกต่าง
วิกฤตการเงินโลกที่มีจุดกำเนิดจากปัญหาสินเชื่อ ซับไพร์มของสหรัฐฯในรอบนี้ น่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรงในระดับที่มีความรุนแรงน้อยกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 เนื่องจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในรอบนี้ ไทยและอีกหลายประเทศทั่วทั้งภูมิภาค เป็นเพียงผู้ถูกกระทบผ่านการชะลอตัวของการส่งออกและกลไกเคลื่อนย้ายเงินทุน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 17 ตุลาคม 2551)
วิกฤตสถาบันการเงินโลก ... ส่งผลกระทบภาคธนาคารเกาหลีใต้
วิกฤตการเงินโลกขณะนี้ได้ส่งผลกระทบไปยังภาคธนาคารทั่วโลก สำหรับภาคธนาคารของเกาหลีใต้ถือว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ปัจจุบันค่าเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี ทางการเกาหลีใต้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 ในวันที่ 9 ตุลาคม 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.0
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 14 ตุลาคม 2551)
ข้าวหอมมะลิ : ครองส่วนแบ่งตลาด 75% ในตลาดสหรัฐฯ…พึงระวังผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ
ข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่ชื่นชอบของคนอเมริกันเชื้อสายเอเชียมากกว่าข้าวขาวพันธุ์อื่นๆ ทำให้ตลาดข้าวหอมมะลิไทยในสหรัฐฯเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการบริโภคข้าวของคนอเมริกันเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 ต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากกระแสสุขภาพและความนิยมในอาหารประเภทที่มีข้าวเป็นอาหารหลัก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 13 ตุลาคม 2551)
วิกฤตนมปนเปื้อนของจีน...โอกาสขยายตลาดส่งออกไทย
วิกฤตนมจีน ทำให้ผู้บริโภคในจีนขาดความเชื่อมั่นต่อสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตในประเทศ และหันไปบริโภคสินค้าจากต่างประเทศแทน ทำให้คาดว่าการส่งออกอาหารของไทยอาจได้รับผลดีทางอ้อม จะสามารถขยายตลาดไปยังประเทศสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ได้มากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ไก่ และผลิตภัณฑ์ผัก/ผลไม้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 10 ตุลาคม 2551)