เฟดลดอัตราดอกเบี้ยสู่ร้อยละ 1.00 ... เปิดโอกาสสำหรับการปรับลดครั้งต่อไป
โดยเฟดระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างมากโดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับตัวลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภค นอกจากนี้ การใช้จ่ายของภาคธุรกิจ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมก็มีทิศทางที่อ่อนแอลงเช่นกันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ ความอ่อนแอของเศรษฐกิจต่างประเทศกำลังบั่นทอนแนวโน้มการส่งออกของสหรัฐฯ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 31 ตุลาคม 2551)
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)...นักลงทุนรอจังหวะปีนี้ ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้น
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เผชิญกับหลากปัจจัยท้าทายต่างๆส่งผลให้ NAV กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ในเดือนกันยายน 2551 หดตัวลงไป 4.17% จากเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยที่ฉุดให้ NAV หดตัว ได้แก่ การปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย และการชะลอการเข้าลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 29 ตุลาคม 2551)
ราคาสินค้าเกษตรดิ่งลงในปี’52 : ต้องเร่งปรับตัว...รับสถานการณ์
คาดการณ์ว่าในปี 2552 ทุกประเทศต่างเร่งขยายผลผลิตสินค้าเกษตร ทั้งจากแรงจูงใจด้านราคาและความต้องการรักษาความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลกลดลง และตลาดพลิกกลับไปเป็นตลาดของผู้ซื้อ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันทำให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 29 ตุลาคม 2551)
การประชุม FOMC 28-29 ต.ค. ... เฟดอาจโน้มเอียงที่จะลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25-0.50
แม้สภาวะตลาดเงินจะเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น แต่สถานะทางด้านเครดิตที่ยังมีปัญหาและคงต้องใช้เวลาในการเยียวยาอีกยาวนาน ตลอดจนความอ่อนไหวที่วิกฤตการเงินจะลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงให้ตกไปอยู่ในภาวะถดถอยที่ลึกและรุนแรง คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เฟดยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินและใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ไปในเชิงที่ผ่อนคลายมากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
เสื้อผ้าสำเร็จรูปปี’52 : รับมือวิกฤตเศรษฐกิจโลก…เร่งกระจายตลาดส่งออก
เสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงถึงปีละ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ผู้ส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทยจึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้วางแผนการผลิตและการตลาดให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
อุตสาหกรรมเซรามิกปี’52 : วิกฤติการเงินโลก.....ฉุดส่งออกทรุด
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และหลายๆประเทศต่างตกอยู่ในภาวะชะลอตัวหรือถดถอย ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง คาดว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกในปี 2551 จะมีมูลค่าประมาณ 834 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 17.3 เท่านั้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
เงินบาท ... ยังคงเกาะกลุ่มสกุลเงินในภูมิภาค
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปัจจัยลบภายนอกประเทศดังกล่าวอาจกดดันให้การส่งออกของไทยมีอัตราการขยายตัวเป็นตัวเลขหลักเดียวในปี 2552 โดยอาจขยายตัวอยู่ในกรอบประมาณ 5.0-10.0% ชะลอลงจากประมาณ 20% ในปีนี้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
ส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปปี’52 ชะลอตัว: ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ
คาดว่า แนวโน้มปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปจะมีอัตราชะลอลงจากร้อยละ 30 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดส่งออกหลักของไทยได้รับผลกระทบทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งในตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
เศรษฐกิจของสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอย….จับตาผลกระทบธุรกิจส่งออกไทย
แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์น่าจะชะลอตัวเหลือร้อยละ 3 เทียบกับร้อยละ 7.7 ในปี 2550 ส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกสินค้าไทยไปสิงคโปร์ให้ชะลอตัวลงโดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร แผงวรจรไฟฟ้าและส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน เป็นต้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 21 ตุลาคม 2551)