การส่งออกรถยนต์ไทยปี 2552 : แนวโน้มชะลอลงกว่าที่คาด
ซึ่งภาครัฐอาจใช้โอกาสนี้ในการช่วยอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศโดยการเพิ่มความสะดวกในการลงทุน และความน่าลงทุนของไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนผลิตเพื่อการส่งออกจากต่างชาติให้เข้ามาในประเทศไทย ส่วนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการลดกำลังการผลิตจำนวนมากนี้อาจต้องหาแนวทางในการปรับแผนการผลิต และการตลาดของตนให้มีความยืดหยุ่น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 1 ธันวาคม 2551)
การประชุม 3 ธ.ค. ... คาด กนง.ลดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25-0.50
เพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยโดยรวมท่ามกลางความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นชัดเจน จากประเด็นปัญหาการเมืองในประเทศและวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ในขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อบรรเทาเบาบางลงมากและเอื้อต่อการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 1 ธันวาคม 2551)
อุตสาหกรรมเอทานอลปี 2552 ชะลอตัว...ท่ามกลางหลากปัจจัยเสี่ยง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 2552 ทิศทางของอุตสาหกรรมเอทานอลแม้ว่าจะยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวจะชะลอลงจากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่ไทยมีความพร้อมด้านการผลิตพืชพลังงานทั้งอ้อยและมันสำปะหลังมาก อีกทั้งมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 28 พฤศจิกายน 2551)
ผลกระทบจากวิกฤติการเงินสหรัฐฯ ต่อแรงงานไทยในอุตสาหกรรมการผลิต
จากผลกระทบของวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลทางอ้อมต่อการส่งออก เศรษฐกิจและการจ้างงานในประเทศไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าในปี 2552 อัตราการว่างงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2 – 2.6 หรือคิดเป็นจำนวนคนว่างงานประมาณ 8.5 แสนถึง 1 ล้านคน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 28 พฤศจิกายน 2551)
สูญญากาศนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ ... รอความชัดเจนหลังบารัค โอบามาเข้ารับตำแหน่ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในช่วงเวลาจากนี้ไปจนถึงช่วงก่อนการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายบารัค โอบามาและสมาชิกสภาคองเกรสชุดใหม่นั้น ตลาดการเงิน อาจยังคงต้องเผชิญกับความผันผวนในระดับสูง เนื่องจากไม่สามารถคาดหวังได้ว่า จะมีการเร่งผลักดันมาตรการ/นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญออกมาในช่วงสูญญากาศนี้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 พฤศจิกายน 2551)
อานิสงส์ฤดูหนาว.....ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิวกายขยายตัวร้อยละ 7.4
ในฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เป็นช่วงเวลาที่ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิวกายมียอดขายสูงที่สุด พราะช่วยดูแล และป้องกันผิวหนังไม่ให้แห้งแตกในช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในปี 2551นี้ ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงผิวกาย จะมีมูลค่าตลาดภายในประเทศรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,400 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 20 พฤศจิกายน 2551)