Listed
Company |
|
Manager
Lists |
|
|
Company > ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
PR News Network
(311 - 320 of 1369 items)
เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมติดลบสูงกว่าที่คาด ... แต่น่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังคงติดลบต่อเนื่องต่อไปตลอดทั้งไตรมาสที่ 3/2552 แต่จะมีอัตราลบที่ชะลอลง และกว่าที่เงินเฟ้อจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกอาจต้องรอคอยไปจนถึงเดือนตุลาคม 2552 โดยแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะค่อยๆ ติดลบในอัตราที่น้อยลง (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
FTA อาเซียน-จีน...โอกาสขยายธุรกิจบริการของไทย
แนวโน้มธุรกิจบริการของผู้ประกอบการไทยในตลาดจีนคาดว่า ภายใต้ข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน ด้านการค้าบริการที่มีกำหนดเปิดตลาดมากขึ้นเป็นลำดับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดตลาดรอบที่สองนั้นน่าจะทำให้ไทยและประเทศอาเซียนอื่นๆ มีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นในตลาดจีน (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
เครื่องใช้ไฟฟ้าครึ่งปีหลัง: ส่งออกฟื้นไตรมาส 4 แต่ในประเทศยังหดตัว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงครึ่งปีหลังจะหดตัวร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 7 ชะลอลงจากร้อยละ 26.9 ในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2552 การส่งออกอาจหดตัวในช่วงร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 17 (มูลค่าประมาณ 15,000-15,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยสินค้าส่งออกที่คาดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวเร็ว คือ กลุ่มตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และกลุ่มเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
แนวโน้มเงินบาท...ปัจจัยหนุนในระยะสั้นยังคงแข็งแกร่ง
สำหรับแนวโน้มของเงินบาทในระยะถัดไป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมองว่า เงินบาทอาจปรับตัวโน้มไปในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นทดสอบระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในระยะสั้น (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
ไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทบจีดีพีไม่ต่ำกว่า 0.6% : โจทย์ที่รัฐต้องเร่งแก้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2552 อย่างน้อย 51,000 ล้านบาท หรือมีผลให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.6 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความโน้มเอียงที่จะไปสู่การหดตัวที่อัตราร้อยละ 4.1 จากกรอบประมาณการเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.0 (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
มาตรการประกันราคาข้าว...ผลกระทบต่อตลาดข้าว
การปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวของรัฐบาลนับว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อลดภาระขาดทุนในการดำเนินมาตรการรับจำนำข้าว ซึ่งมาตรการประกันราคาข้าวนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือชาวนา ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวก็ได้รับประโยชน์ เนื่องจากข้าวจะไม่เข้าไปกองอยู่ในสต็อกของรัฐบาล และผู้ส่งออกข้าวหาซื้อข้าวเพื่อการส่งออกไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูการผลิต (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
|