สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย : แนวโน้มปี 2548
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2547 สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย (วัดจากผลรวมของเงินสด รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และการลงทุนสุทธิในตลาดซื้อคืนพันธบัตร) ของธนาคารไทย 12 แห่ง ปรับลดลงประมาณ 7.0 หมื่นล้านบาท
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 14 มกราคม 2548)
ดอลลาร์รับขวัญปีไก่ :ตีเงินยูโรและเงินเยนร่วง
ต้อนรับปีระกา 2548 ตลาดเงินตราต่างประเทศพลิกผัน เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีค่าเข้มแข็งอย่างรวดเร็ว เทียบกับสถิติต่ำสุดวันส่งท้ายปีเก่า ขณะเดียวกันเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนตัวลงจากอัตราเข้มแข็งเมื่อสิ้นปี 2547 ส่วนเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ มีค่าร่วงลงต่ำเมื่อตลาดเงินลังเลเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยอังกฤษ และคาดว่าอาจมีแนวโน้มลดต่ำลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 10 มกราคม 2548)
ยางพาราปี’48 : ปัจจัยพึงระวัง…ความต้องการชะลอตัว
ยางพารานับว่าเป็นสินค้าเกษตรที่โดดเด่นอย่างมากในปี 2547 เนื่องจากราคาที่อยู่ในเกณฑ์สูงเป็นประวัติการณ์ นับเป็นแรงจูงใจให้ในปี 2548 ปริมาณการผลิตยางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยพึงระวังคือ ความต้องการยางของประเทศผู้ผลิตยางสำคัญมีแนวโน้มลดลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 7 มกราคม 2548)
เศรษฐกิจจีนปี 2548 ชะลอตัว : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจจีนในปี 2547 เริ่มต้นด้วยความร้อนแรงหลังจากที่เติบโตในอัตราสูงถึงร้อยละ 11.5 เมื่อปี 2546 ทำให้ธุรกิจหลายประเภท เริ่มส่งสัญญาณฟองสบู่เนื่องจากภาวะอุปทานขยายตัวในอัตราสูงกว่าภาวะอุปสงค์เป็นอย่างมาก ดังนั้น ทางการจีนจึงได้เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุมการเติบโต
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 5 มกราคม 2548)
สึนามิ : พลิกผันบรรยากาศฉลองเทศกาลปีใหม่คนกรุงฯ
บรรยากาศการท่องเที่ยวของไทยในช่วงปลายปี 2547 ที่มีแนวโน้มคึกคักขึ้นตามลำดับได้ถูกพลิกผันไปทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ หรือที่เรียกกันว่า สึนามิ ถล่มแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลแถบฝั่งอันดามันเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 4 มกราคม 2548)
คลื่นยักษ์”สึนามิ” : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยปีวอกปิดฉากไม่สดใส ถูกคลื่นยักษ์”สึนามิ”ถล่มเข้าใส่ 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามัน( ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรังและสตูล )อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของไทยเสียหายครั้งร้ายแรงที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจะส่งต่อไปสู่ปีไก่ 2548 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 4 มกราคม 2548)
กุ้งไทยในตลาดสหรัฐฯ : ผลกระทบจากอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(AD)
กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯประกาศผลอัตราตอบโต้การทุ่มตลาดหรือภาษีเอดีขั้นสุดท้ายของกุ้งที่นำเข้าจากไทย บราซิล เอกวาดอร์ และอินเดีย แม้ว่าอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดของไทยนั้นลดลงค่อนข้างน้อย แต่ก็ยังอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับจีน เวียดนามและบราซิลที่ถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 23 ธันวาคม 2547)