ฮอนด้าทุ่ม 542 ล้านบาทยกระดับโรงงานด้วยเทคโนโลยีทันสมัย
บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศวันนี้ว่าบริษัทได้ลงทุน 542 ล้านบาทใน 2 โครงการเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ของโรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิต 120,000 คันต่อปี
(บางกอก พับบลิค รีเลชั่นส์ 19 กรกฎาคม 2548)
ผู้บริหารฟอร์ดชี้ นโยบายไทยมีวิสัยทัศน์ ส่งไทยก้าวสู่ “ดีทรอยท์แห่งเอเชีย”
วันนี้ มร. สตีเฟน บีกัน รองประธานฝ่ายบริหารรัฐกิจระหว่างประเทศ บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี ได้กล่าวถึงผลกระทบของการเปิดการค้าเสรีที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ในงานสัมมนา “เอเชียน คอร์เปอเรท คอนเฟอเรนซ์” ครั้งที่ 15 (ASIAN CORPORATE CONFERENCE)
(โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ 13 มิถุนายน 2548)
ฟอร์ด มอบทุนให้โครงการเพื่อสังคม รวม 2.8 ล้านบาท
ฟอร์ด ประเทศไทย เดินหน้าส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยระดับรากหญ้าต่อเนื่อง ร่วมมือกับบริษัท เอ็นวาย เค บัลค์ชิป (ประเทศไทย) จำกัด มอบทุนสนับสนุนการดำเนินการ 24 โครงการดีทั่วประเทศ ตามโครงการ “ร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย ครั้งที่ 5 ประจำปี 2547”
(โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ 2 มิถุนายน 2548)
ออโต้อัลลายแอนซ์เบียดแชมป์เก่า ก้าวขึ้นอันดับ 1 ผู้ส่งออกรถยนต์ไทย
AAT ผู้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป อันดับ 1 ในไตรมาสแรกปี 2548 ได้รับการยกย่องให้เป็น “Center of Excellence for Quality” ของฟอร์ด โดยเป็นผู้ผลิตเพื่อส่งออกรถยนต์ ฟอร์ดเรนเจอร์ มาสด้าไฟเตอร์ และฟอร์ดเอเวอเรสต์ ไปยัง 130 ประเทศทั่วโลก มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยกลายเป็น “ดีทรอยท์ ออฟ เอเชีย” ตามนโยบายรัฐบาล
(โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ 18 พฤษภาคม 2548)
ฟอร์ด ศึกษาแผนพัฒนารถเล็ก สนองนโยบายอีโคคาร์ของรัฐ
ฟอร์ดอยู่ระหว่างศึกษาโครงการรถยนต์เล็กเพื่อเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ของรัฐบาลไทย ใช้ระบบ Global Shared Technologies เทคโนโลยีร่วมของฟอร์ดทั่วโลก ในการออกแบบและผลิต มีโอกาส ที่จะลงทุนเปิดสายการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กในประเทศไทย
(โอกิลวี่ พับลิค รีเลชั่นส์ เวิลด์วายด์ 18 พฤษภาคม 2548)
จุฬางกูรดันไทยสตีลเคเบิลเข้าตลท.เล็งกระจาย67ล้านหุ้นพร้อมกรีนชู
กลุ่มซัมมิท โอโต กรุ๊ป นำบริษัทไทยสตีลเคเบิลเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่งตั้ง บล.ไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทาง การเงิน กระจาย 58.3 ล้านหุ้น และมีกรีนชูอีกจำนวน 8.7 ล้านหุ้น รวมเป็น 67 ล้านหุ้น หวังระดมทุนย้ายฐานการผลิตไปนิคมอมตะนคร ดันกำลังการผลิตรวมเพิ่มอีก 10 ล้านชิ้นต่อปี
( 11 เมษายน 2548)