การประชุมนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ... กนง.จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.25
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) คงจะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันลงอีกในการประชุมรอบที่สองของปีในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 โดยคาดว่า กนง.คงจะปรับอัตราดอกเบี้ยลดลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.25 และอาจจะปรับลดได้ถึงร้อยละ 0.50 ถ้ากนง.ให้น้ำหนักในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 26 กุมภาพันธ์ 2550)
SCIB ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25%
ธนาคารได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 24 เดือน และ 36 เดือน ลง 0.25% มีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 เป็นต้นไป
(ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ. 9 กุมภาพันธ์ 2550)
การประชุมรอบแรกของปี ... คาดเฟดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.25 ตามเดิม
นับจากที่เฟดได้ยุติวงจรขาขึ้นของนโยบายอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่กลางปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เฟดคงจะมีมติให้ยืนอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ร้อยละ 5.25 ตามเดิม ในการประชุมวันที่ 30-31 มกราคมนี้ โดยปัจจัยแวดล้อมประกอบการคาดการณ์ดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 5 กุมภาพันธ์ 2550)
SCIB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินอีก 0.25%ต่อปี
ธนาคารนครหลวงไทยรุกบริการตั๋วบีอีระลอกใหม่เพิ่มบริการประเภทเปลี่ยนมือผู้ถือตั๋วได้ ส่งผลให้ผู้ลงทุนเกิดความคล่องตัวในการถือครองตั๋วมากขึ้น แถมยังคงจุดเด่นในการใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อ พร้อมกันนี้ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ต่อปี
(ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ. 24 มกราคม 2550)
SCIB ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินอีก 0.25%ต่อปี
ธนาคารนครหลวงไทยรุกบริการตั๋วบีอีระลอกใหม่เพิ่มบริการประเภทเปลี่ยนมือผู้ถือตั๋วได้ ส่งผลให้ผู้ลงทุนเกิดความคล่องตัวในการถือครองตั๋วมากขึ้น แถมยังคงจุดเด่นในการใช้เป็นหลักประกันสินเชื่อ พร้อมกันนี้ยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ต่อปี
(ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ. 19 มกราคม 2550)
ธนาคารธนชาต ออกตั๋วแลกเงินอายุ 9 เดือน ให้ดอกเบี้ย 5%
ธนาคารธนชาต เสนอขายผลิตภัณฑ์ตั๋วแลกเงินชุดใหม่ อายุ 9 เดือน เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ต้องการลงทุนในภาวะอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลง โดยเสนอให้ดอกเบี้ย 5.00 % ต่อปี เริ่มต้นซื้อขั้นต่ำเพียง 100,000 บาท
(ธนาคารธนชาต, บมจ. 11 มกราคม 2550)
เงินดอลลาร์ซบเซา :ยุโรปและญี่ปุ่นเล็งขยับดอกเบี้ย
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบเมื่อเทียบกับเงินยูโร ณ อัตราเฉลี่ยราว 1.27 ดอลลาร์/ยูโร และซื้อขายอยู่ที่ระดับ 116-117 เยน/ดอลลาร์ อิทธิพลที่ส่งผลต่อค่าเงินอเมริกัน ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯและแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น ได้รับแรงสนับสนุนในช่วงแรกจากการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีค่าลดลงในเวลาถัดมา
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 3 พฤศจิกายน 2549)
คาด FED ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.25 ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3
ฝ่ายวิจัย ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จึงคาดว่า ในการประชุม FOMC (Federal Open Market Committee) ในวันที่ 24 ต.ค.49 ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปีนี้ที่ร้อยละ 5.25 และมีโอกาสที่จะยืนอยู่ที่ระดับเดิมจนถึงสิ้นปี
(ธนาคารทหารไทย 1 พฤศจิกายน 2549)
คาดธปท.จะตรึงอัตราดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันที่ร้อยละ 5.0 จนถึงสิ้นปีนี้
จากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันถึง 375 bps. ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มสูงกว่าประเทศ อื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เพราะอัตราเงินเฟ้อได้ปรับลดลงอย่างมาก และมีแนวโน้มที่ชะลอลงอีกในช่วงที่เหลือของปีจากการชะลอลงของราคาน้ำมัน
(ธนาคารทหารไทย 20 ตุลาคม 2549)
เฟดคงจะมีมติให้ยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.25 ตามเดิม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในการประชุมวันที่ 20 กันยายน 2549 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด คงจะมีมติให้ยืนอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ไว้ที่ร้อยละ 5.25 ตามเดิม อันเป็นผลจากการปรับตัวของอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ภายในกรอบที่ไม่น่าเป็นกังวลจนเกินไปนัก
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 25 กันยายน 2549)