การประชุม 3 ธ.ค. ... คาด กนง.ลดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25-0.50
เพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยโดยรวมท่ามกลางความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นชัดเจน จากประเด็นปัญหาการเมืองในประเทศและวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลก ในขณะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อบรรเทาเบาบางลงมากและเอื้อต่อการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 1 ธันวาคม 2551)
เฟดลดอัตราดอกเบี้ยสู่ร้อยละ 1.00 ... เปิดโอกาสสำหรับการปรับลดครั้งต่อไป
โดยเฟดระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ชะลอตัวลงอย่างมากโดยมีสาเหตุหลักมาจากการปรับตัวลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภค นอกจากนี้ การใช้จ่ายของภาคธุรกิจ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมก็มีทิศทางที่อ่อนแอลงเช่นกันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่ ความอ่อนแอของเศรษฐกิจต่างประเทศกำลังบั่นทอนแนวโน้มการส่งออกของสหรัฐฯ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 31 ตุลาคม 2551)
การประชุม FOMC 28-29 ต.ค. ... เฟดอาจโน้มเอียงที่จะลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25-0.50
แม้สภาวะตลาดเงินจะเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้น แต่สถานะทางด้านเครดิตที่ยังมีปัญหาและคงต้องใช้เวลาในการเยียวยาอีกยาวนาน ตลอดจนความอ่อนไหวที่วิกฤตการเงินจะลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงให้ตกไปอยู่ในภาวะถดถอยที่ลึกและรุนแรง คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เฟดยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินและใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ไปในเชิงที่ผ่อนคลายมากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
คาด กนง.คงดอกเบี้ยในวันที่ 8 ต.ค. แต่ให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกับความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจโน้มเอียงที่จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ไว้ที่ร้อยละ 3.75 ตามเดิม การประเมินน้ำหนักความเสี่ยงของ กนง. เพื่อพิจารณานโยบายอัตราดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า คงมีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักมากขึ้นกับความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 6 ตุลาคม 2551)
เฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 2.00 และให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่ AIG
แผนการให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่บริษัท AIG นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองว่า ความช่วยเหลือที่เฟดให้แก่บริษัท AIG ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนของเฟดซึ่งเลือกที่จะใช้มาตรการเฉพาะหน้า และเครื่องมือดูแลด้านสภาพคล่อง ในการแก้ไขความปั่นป่วนและบรรเทาความตึงตัวในภาคการเงิน มากกว่าจะใช้นโยบายการเงิน ที่มีพันธกรณีต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและระดับราคาโดยรวม
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 19 กันยายน 2551)
คาด กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 แต่เงินเฟ้ออาจจะยังคงไม่ลดลงในเวลาอันใกล้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ กนง. คงมีทางเลือกที่จำกัด โดยเฉพาะในภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างในปัจจุบัน โดยคาดว่า กนง.คงจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 มาที่ร้อยละ 3.50 เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดเงินตลาดทุนว่า ทางการยังคงดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลเสถียรภาพของระดับราคาอยู่อย่างใกล้ชิด
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 14 กรกฎาคม 2551)