ตลาดกล้องดิจิทัล : ยอดขายยังเติบโต…มูลค่าตลาด 14,000 ล้านบาท
การแข่งขันของตลาดกล้องดิจิทัลในปี 2549 นี้น่าจะมีความเข้มข้นขึ้น เนื่องจากยอดขายเริ่มชะลอตัวลง ในขณะที่ผู้ผลิตที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มจำนวนขึ้น และผู้จำหน่ายเองก็ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด เพื่อกระตุ้นให้ยอดขาย
( 27 เมษายน 2549)
ค้าปลีกไตรมาสสองปี’49 : คาดเติบโต 8-10%...รับสงกรานต์-เปิดเทอม-บอลโลก
ธุรกิจค้าปลีกในช่วงไตรมาสสองปี 2549 จะมีแนวโน้มต้องเผชิญกับปัจจัยลบทางเศรษฐกิจหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ด้วยกิจกรรมใหญ่ที่น่าสนใจทั้ง 3 กิจกรรมในช่วงไตรมาสสองของปี 2549 ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลวันสงกรานต์ มหกรรมฟุตบอลโลก 2006 และช่วงเวลาเปิดภาคการศึกษาใหม่ ก็น่าจะกระตุ้นให้บรรยากาศการใช้จ่ายในช่วงไตรมาสสองปี 2549 คึกคักขึ้นได้ระดับหนึ่ง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 12 เมษายน 2549)
สงกรานต์ปี’49 : คนกรุงเทพฯใช้จ่ายสะพัด 24,000 ล้านบาท
เทศกาลสงกรานต์ปีนี้มีแนวโน้มคึกคักกว่าปีที่แล้วซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตสึนามิ โดยได้แรงหนุนจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลงระดับหนึ่ง และการที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างร่วมกันจัดงานฉลองเทศกาลสงกรานต์ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 12 เมษายน 2549)
พวงมาลัยดอกมะลิ : สินค้าขายดีช่วงเทศกาลสงกรานต์
มะลินั้นเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในแต่ละปี ทั้งเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศจากการจำหน่ายในลักษณะพวงมาลัยซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยโดยเฉพาะการไหว้พระและสักการะสิ่งศักสิทธิ์ และในช่วงเทศกาลสงกรานต์พวงมาลัยดอกมะลิก็เป็นตัวแทนแสดงความเคารพของคนไทย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 11 เมษายน 2549)
ไก่จีน : คู่แข่ง-คู่ค้า...ที่น่าจับตามอง
จีนนับว่าเป็นคู่แข่งและคู่ค้าที่น่าจับตามองสำหรับสินค้าไก่และผลิตภัณฑ์ เพราะจีนมีการขยายตัวของปริมาณการผลิตไก่เนื้ออย่างรวดเร็วตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้จีนเริ่มมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ไปแข่งขันกับไทยในตลาดสำคัญๆ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและฮ่องกง รวมทั้งตลาดที่ไทยกำลังต้องการขยายตลาดส่งออก เช่น เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก เป็นต้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 16 มีนาคม 2549)
ขึ้นราคาน้ำตาล : ชาวไร่อ้อยยิ้ม…ผู้บริโภครับภาระ
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 เห็นชอบการขึ้นราคาขายส่งน้ำตาลส่งมอบ ณ โรงงานอีก 3 บาทต่อกิโลกรัม ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำตาลขาดแคลนในตลาด และปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวไร่อ้อยกับภาครัฐ แต่ผู้ที่ต้องแบกรับภาระในท้ายที่สุดแล้วได้แก่ประชาชนและอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบในประเทศ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 16 มีนาคม 2549)