Paul Krugman มาไทยบรรยายพิเศษ
ตามคำเชิญของ International Herald Tribune Manager Daily และบริษัทไทยเดย์ดอทคอม จำกัด ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2548 ณ ห้องวิภาวดี บอลรูม โรงแรมเซ็นทรัล โซฟิเทล
(คิธ แอนด์ คิน คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ 23 มีนาคม 2548)
ขึ้นราคาดีเซล 3 บาท/ลิตร : แก้ปัญหา…การใช้น้ำมันที่บิดเบือน
ในที่สุดรัฐบาลก็ตัดสินใจประกาศขึ้นราคาน้ำมันดีเซลรวดเดียว 3 บาท/ลิตร ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ให้การชดเชยมาอย่างยาวนานถึงกว่า 15 เดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากลิตรละ15.19บาทขึ้นไปเป็นลิตรละ 18.19 บาททันทีโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป
(ศูนยวิจัยกสิกรไทย 25 มีนาคม 2548)
ไทย – โอเปก : พิษน้ำมันแพง ขาดดุลพุ่งเกือบ 3 เท่า
ประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบเป็นสินค้าออก หรือ โอเปก กำลังได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เนื่องจากกลุ่มโอเปกมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกรงกันว่าหากราคาน้ำมันดิบยังคงทะยานต่อไป อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างทั่วถึง
( 23 มีนาคม 2548)
ดอลลาร์ท้าทาย…ปัจจัยเสี่ยงขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวอ่อนล้า เมื่อเทียบกับเงินตราสำคัญสกุลต่างๆ เนื่องจากตลาดเงินยังคงสนใจเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ และกระแสข่าวเกี่ยวกับธนาคารกลางของประเทศต่างๆ มีแนวคิดที่จะลดสัดส่วนการถือเงินดอลลาร์ในเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ โดยหันไปถือสกุลเงินตราสำคัญอื่นๆแทน
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 21 มีนาคม 2548)
คาดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds จะขยับขึ้นเป็น 2.75%
ในวันที่ 22 มีนาคม 2548 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะมีการประชุมรอบที่ 2 ของปีนี้ เพื่อพิจารณาทิศทางการดำเนินนโยบายการเงิน หรือทิศทางอัตราดอกเบี้ย Fed Funds หลังจากที่เฟดได้ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันมาแล้วรวม 1.50%
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 18 มีนาคม 2548)
ปลาทูน่ากระป๋องและผลิตภัณฑ์ : ตลาดนอกสดใส…ตลาดในขยายตัว
ตลาดปลาทูน่ากระป๋องและผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันแยกออกได้เป็นการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องแบบดั้งเดิม คือปลาทูน่ากระป๋องในน้ำมันและน้ำเกลือ และผลิตภัณฑ์ทูน่า ได้แก่ปลาทูน่าในเครื่องแกง ซอสประเภทต่างๆ และปลาทูน่าสำหรับรับประทานกับขนมปัง ซึ่งเริ่มมีการผลิตกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 2544
(ศูนยวิจัยกสิกรไทย 18 มีนาคม 2548)
ท่าเรือสินค้าไทย : เร่งพัฒนา..เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาศักยภาพการขนส่งทางน้ำนับเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งสำหรับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ โดยยุทธศาสตร์ในด้านการขนส่งของภาครัฐได้มีเป้าหมายที่จะผลักดันให้การใช้การขนส่งทางน้ำและระบบรางเข้ามาเป็นระบบหลักของประเทศ โดยการขนส่งทางถนนจะเป็นเพียงระบบรอง หรือทำหน้าที่เป็น Feeder เท่านั้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 14 มีนาคม 2548)