ซีเล็คทูน่า ปรับโฉมใหม่ พร้อมจัดแคมเปญ “กินปลาได้บ่อย อร่อยได้ทุกวัน”
“ซีเล็ค” ในเครือบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือทียูเอฟ เปิดตัวซีเล็ค ทูน่าภาพลักษณ์ใหม่ ปรับโลโก้และบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นสากลและพรีเมียมยิ่งขึ้น พร้อมทุ่มงบกว่าร้อยล้านบาทจัดแคมเปญ “กินปลาได้บ่อย อร่อยได้ทุกวัน” เชื่อมั่นยอดขายโต 20% ภายในปี 2555
(ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน (ประเทศไทย), บจก. 28 มิถุนายน 2555)
ปุ้มปุ้ย555 แน่นเนื้อปลา เข้มข้นเต็มซอส
ปุ้มปุ้ย 555 แน่นเนื้อปลา เข้มเต็มซอส ด้วยสูตรใหม่เพิ่มซอสมะเขือเทศเข้มข้นกว่าเดิม และคัดสรรคุณภาพปลาเนื้อแน่น แต่ขายในราคาเดิมถูกใจในยุคของแพงเพื่อหวังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในยุคค่าครองชีพสูง โดยมูลค่าตลาดรวมของปลากระป๋องมีมูลค่า 6,200 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายโต 10% จากปีที่แล้ว
(ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล, บมจ. 22 พฤษภาคม 2555)
ปลาทูน่ากระป๋องปี 52 : ขยายตัวร้อยละ 7.9 ...ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 51
แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการคือ การที่ยังต้องเร่งกระตุ้นยอดการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง โดยการใช้ประโยชน์จากเจเทปป้าให้เต็มที่ เพื่อเพิ่มยอดการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังตลาดญี่ปุ่น การเร่งเจาะขยายตลาดในสหภาพยุโรปบางประเทศที่การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องยังมีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะอิตาลีและฝรั่งเศส
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. )
ปลาทูน่ากระป๋องปี’52 : ยอดจำหน่ายยังขยายตัวต่อเนื่อง
ปลาทูน่ากระป๋อง เป็นหนึ่งในไม่กี่สินค้าที่คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกมากนัก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2552 ยอดจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตลาดส่งออกหลักยังมีแนวโน้มขยายการนำเข้า เนื่องจากปลาทูน่ากระป๋องนับว่าเป็นสินค้าอาหารพื้นฐาน ราคาไม่แพง และท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจที่ผู้บริโภคเน้นประหยัด
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 20 พฤศจิกายน 2551)
ส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปปี’52 ชะลอตัว: ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ
คาดว่า แนวโน้มปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลไม้กระป๋องและแปรรูปจะมีอัตราชะลอลงจากร้อยละ 30 ในปี 2551 เหลือร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดส่งออกหลักของไทยได้รับผลกระทบทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งในตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 24 ตุลาคม 2551)
ปลากระป๋อง : ปี’50การส่งออกชะลอตัว...ปี’51จับตาจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรม
ตลาดปลากระป๋องในปี 2550 ต้องเผชิญปัญหาในด้านปริมาณปลาซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญมีปริมาณลดลง และราคาแพงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อต้นทุนการผลิต แม้ว่าตลาดภายในประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัว แต่ตลาดส่งออกประสบปัญหาชะลอตัว สำหรับในปี 2551 คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกปลากระป๋องของไทย ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 30 ตุลาคม 2550)
ซี แวลู ผนึกกำลัง สหพัฒน์ เปิดตัว “ซูเปอร์ ซี เชฟ”
เพื่อทำตลาดในเมืองไทยเป็นผลิตภัณฑ์แรกโดยเน้นจุดเด่นในเรื่องคุณภาพของปลาซาร์ดีนแท้ๆ ในซอสมะเขือเทศรสชาติเข้มข้นไร้สารเจือปน ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผนวกกับการจัดจำหน่ายที่กระจายไปทุกช่องทาง สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ
(อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น, บจก. 8 มีนาคม 2550)
ปลาทูน่ากระป๋องและผลิตภัณฑ์ปี 2549 : ตลาดสดใสทั้งในประเทศและส่งออก
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ว่าในปี 2549 ตลาดปลาทูน่ากระป๋องและผลิตภัณฑ์ในประเทศมีมูลค่าประมาณ 850 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปีที่ผ่านมาขยายตัวร้อยละ 6-7 เนื่องจากผู้บริโภคหันมานิยมรับประทานปลาทูน่ากระป๋องและผลิตภัณฑ์มากขึ้น
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 15 มีนาคม 2549)