มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ... ยาขมสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่ามาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะมีประสิทธิผลในการลดระดับการเก็งกำไรในค่าเงินบาทได้ เนื่องมาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นจากการต้องกันสำรองร้อยละ 30 และเงื่อนไขของการหักเงินที่กันไว้ถ้าหากนักลงทุนนำเงินออกก่อนครบกำหนดก่อนระยะเวลา 1 ปี
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 27 ธันวาคม 2549)
เงินดอลลาร์ซบเซา :ยุโรปและญี่ปุ่นเล็งขยับดอกเบี้ย
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบเมื่อเทียบกับเงินยูโร ณ อัตราเฉลี่ยราว 1.27 ดอลลาร์/ยูโร และซื้อขายอยู่ที่ระดับ 116-117 เยน/ดอลลาร์ อิทธิพลที่ส่งผลต่อค่าเงินอเมริกัน ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯและแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น ได้รับแรงสนับสนุนในช่วงแรกจากการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีค่าลดลงในเวลาถัดมา
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 3 พฤศจิกายน 2549)
ค่าเงินเยนพุ่ง : หวั่น G-7 บีบปรับดุลการค้า
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีพื้นฐานอ่อนแอ เนื่องจากตลาดเงินเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ น่าจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 5.25% ต่อไป หลังจากที่ปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 2 ปี เพื่อบรรเทาความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่เงินเยนญี่ปุ่นมีค่าเข้มแข็ง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 8 กันยายน 2549)
ดอลลาร์ซึม … เงินเฟ้อสหรัฐฯแผ่ว ทองคำซบเซา … ราคาน้ำมันอ่อนแรง
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าซบเซา เมื่อเทียบกับเงินยูโร เนื่องจากตลาดเงินคาดการณ์ว่าสหรัฐฯมีแนวโน้มที่อาจรักษาอัตราดอกเบี้ยคงเดิม ณ ระดับ 5.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทางด้านราคาทองคำในตลาดต่างประเทศ โน้มต่ำลง เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงต่ำกว่า 75 ดอลลาร์/บาร์เรล
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 24 สิงหาคม 2549)
ดอลลาร์ทรงตัว ดอกเบี้ยหนุน เงินเยนทรุด วิกฤตผู้ว่าแบงก์ชาติ
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบเมื่อเทียบกับเงินยูโร ระหว่างอัตราเฉลี่ยราว 1.25-1.26 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนเงินเยนญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบอย่างมากจากรายงานเกี่ยวกับท่าทีของเกาหลีเหนือที่ต้องการทดลองยิงขีปนาวุธระยะไกล ทางด้านราคาทองคำในตลาดต่างประเทศ ขยับขึ้นลงสวนทิศทางกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 4 กรกฎาคม 2549)
ดอลลาร์ผงาด … ขวัญใจนักลงทุน ทองคำดิ่งพสุธา
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเข้มแข็ง เมื่อเทียบกับเงินตราสำคัญสกุลต่างๆ สำหรับราคาทองคำในตลาดต่างประเทศ ร่วงลงอย่างรวดเร็ว ทะลุแนวต้าน 600 ดอลลาร์/ออนซ์ เป็นผลจากแรงเทขายจำนวนมาก ทำให้ราคาซื้อขายเฉลี่ยแกว่ง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 20 มิถุนายน 2549)
ดอลลาร์ทรงๆทรุดๆ … พะวงทิศทางดอกเบี้ยทองคำดิ่ง … แรงขายแน่นตลาด
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ และกระแสข่าวการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ส่งผลให้ตลาดเงินจับตานโยบายค่าเงินดอลลาร์ของขุนคลังคนใหม่ ขณะเดียวกันเงินปอนด์สเตอร์ลิงอังกฤษ มีค่าโน้มต่ำลง
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก. 2 มิถุนายน 2549)
ดอลลาร์ & ทองคำ … แปรปรวน แรงซื้อขายป่วนตลาด
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในช่วง 1.27-1.28 ดอลลาร์/ยูโร และ 109-111 เยน/ดอลลาร์ เนื่องจากความผันผวนของราคาโลหะมีค่าและความไม่แน่ใจเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ประกอบกับความเข้มแข็งของค่าเงินยูโรและค่าเงินเยน มีอิทธิพลต่อการซื้อขายเงินดอลลาร์ด้วย
(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 25 พฤษภาคม 2549)